Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64424
Title: ผลของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้าค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพโรงเรือนและแปลงปลูกของเกษตรกร
Other Titles: Effects of Potassium Silicate in Controlling Powdery Mildew and Downy Mildew of Japanese Cucumber under Plastic House and Farmer’s Field Conditions
Authors: สุรีย์วัลย์ เมฆกมล
กาญจนา วิชิตตระกูลถาวร
เรณู สุวรรณพรสกุล
Authors: สุรีย์วัลย์ เมฆกมล
กาญจนา วิชิตตระกูลถาวร
เรณู สุวรรณพรสกุล
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้าค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพการปลูกพืชในโรงเรือนและสภาพแปลงปลูกของเกษตรกร การทดสอบภายใต้สภาพโรงเรือน ใช้แตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์เพรตตี้ สวอลโล 279 (cv. Pretty swallow 279) โดยทดสอบความถี่ของการพ่นโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้าค้าง ได้แก่ พ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และพ่นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง การวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ดัชนีความเสียหายจากโรค (Disease index, % DI) หลังการย้ายปลูก 6 สัปดาห์ พบว่า การพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และสัปดาห์ละ 2 ครั้ง สามารถลดความเสียหายจากโรคราแป้งและราน้าค้างได้ไม่แตกต่างกัน แต่การพ่นทั้ง 2 ความถี่สามารถลดความเสียหายจากโรคราแป้งและราน้าค้างได้แตกต่างจากชุดควบคุม (พ่นน้าเปล่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยมีดัชนีการเกิดโรคราน้าค้างในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และชุดควบคุม เป็น 51.9, 48.4 และ 64.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ สาหรับโรคราแป้งมีดัชนีความเสียหายจากโรคในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และชุดควบคุม เป็น 39.6, 35.9 และ 57.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ สาหรับปริมาณผลผลิตแตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์เพรตตี้ สวอลโล 279 พบว่า ในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ให้ปริมาณผลผลิตที่สามารถขายได้ไม่แตกต่างกัน แต่ให้ปริมาณผลผลิตมากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยมีปริมาณผลผลิตในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และชุดควบคุมเป็น 6.8, 6.5 และ 4.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ตามลาดับ การทดสอบในสภาพแปลงปลูกของเกษตรกรทดสอบกับแตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์ โรบาโต้ (cv. Robato) ใน 3 กรรมวิธี ได้แก่ 1. การใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อราสลับกับชีวภัณฑ์ 2. การใช้โพแทสเซียมซิลิเกต สลับกับสารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อราและชีวภัณฑ์ และ 3. การใช้โพแทสเซียมซิลิเกตตลอดฤดูปลูก พบว่าทั้ง 3 กรรมวิธี สามารถควบคุมโรคราน้าค้าง และได้ปริมาณผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีดัชนีความเสียหายจากโรคราน้าค้างในกรรมวิธีที่ 1, 2 และ 3 ในสัปดาห์ที่ 5 หลังการย้ายปลูกเท่ากับ 41.5, 35.9 และ 43.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ สาหรับผลผลิตของแตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์โรบาโต้ในกรรมวิธีที่ 1, 2 และ 3 เป็น 8.5, 8.2 และ 7.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ตามลาดับ โพแทสเซียมซิลิเกตสามารถลดจานวนครั้งของการใช้สารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อราในสภาพแปลงปลูกได้
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00131_C00977.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64424
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.