Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64406
Title: | การยับยั้งอะฟลาทอกซิน บี 1 โดยการใช้สายพันธุ์ไม่ผลิตสารพิษของเชื้อรา Aspergillus flavus |
Other Titles: | Aflatoxin B1 Inhibition Using Atoxigenic Aspergillus flavus of Strains |
Authors: | กวินทรา แข่งขัน ทศวรรต อะโนราช พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สมชาติ ธนะ โชค โสรัจกุล ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ |
Authors: | กวินทรา แข่งขัน ทศวรรต อะโนราช พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สมชาติ ธนะ โชค โสรัจกุล ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Abstract: | การยับยั้งการผลิตสารพิษอะฟลาทอกซิน บี1 (AFB1) ของเชื้อรา Aspergillus flavus ได้ถูกทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการโดยใช้เชื้อรา A. flavus จำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ A. flavus UPA01 UPA02 UPA03 และ UPA04 ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันแต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ผลิตสารพิษอะฟลาทอกซิน คัดแยกได้จากดินบริเวณที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย การทดลองเริ่มจากการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อราบนอาหารแข็ง (Kr) โดยใช้ Potato Dextrose Agar (PDA) และบ่มเลี้ยงเชื้อราที่อุณหภูมิ 30ºซ ในที่มืด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์ของเชื้อรา A. flavus ที่ใช้ทดสอบ ผลการทดลองพบว่าค่า Kr ของเชื้อรา A. flavus ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ค่า Kr เฉลี่ยของเชื้อรา A. flavus มีค่าการเจริญ 0.7 ซม.ต่อวัน ในด้านการศึกษาการผลิตสารพิษอะฟลาทอกซินทำได้โดยนำสปอร์ของเชื้อรา A. flavus ความเข้มข้น 1x105 สปอร์ต่อมล มาบ่มเลี้ยงในอาหารสูตร modified yeasted sucrose (mYES) เป็นเวลา 7 วันที่อุณหภูมิ 30 °ซ ในที่มืด เชื้อรา A. flavus NRRL3357 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผลิตสารพิษอะฟลาทอกซินมีการผลิตสารพิษอะฟลาทอกซิน บี1 คือ 5.361±259.10 นกต่อมล ในขณะที่เชื้อรา A. flavus ทั้ง 4 สายพันธุ์ที่ใช้ทดสอบไม่มีการผลิตอะฟลาทอกซิน (บี1 บี2 จี1 และ จี2) เมื่อนำไปเลี้ยงร่วมกันกับ A. flavus NRRL3357 ที่ผลิตอะฟลาทอกซินในอาหารสูตร modified yeasted glucose (mYEG) พบว่าเชื้อราทั้ง 4 สายพันธุ์นี้สามารถยับยั้งการผลิตสารพิษอะฟลาทอกซิน บี1 ได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการศึกษาการเจริญของเชื้อราจะใช้สมการศึกษาของ Monod ซึ่งพบว่าเชื้อรา A. flavus ที่นำมาทดสอบมีค่าอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (µ) ที่ใกล้เคียงกัน ในค่าอื่น ๆ เช่น อัตราการใช้สับสเตรทจำเพาะ (qs) เชื้อรา A. flavus NRRL3357 มีค่า qs มากที่สุด (0.22 mmol/g cell/hr) แต่จะลดลงเมื่อมีการเลี้ยงร่วมกับสายพันธุ์ที่ไม่ผลิตอะฟลาทอกซิน ซึ่งทำให้เห็นว่าเชื้อรา A. flavus สายพันธุ์ที่ไม่สร้างอะฟลาทอกซินจะไปยับยั้งการสร้างอะฟลาทอกซิน บี1 จากเชื้อรา A. flavus NRRL3357 ได้โดยการแข่งขันการใช้ซับสเตรทซึ่งคือน้ำตาลกลูโคส |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) |
URI: | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=127&CID=941 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64406 |
ISSN: | 0857-0842 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.