Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64393
Title: | การเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟและประสิทธิภาพของสารล่อเพื่อการควบคุม |
Other Titles: | Infestation of Coffee Berry Borer and Controlling Efficiency of Attractants |
Authors: | อนุตร บูรณพานิชพันธุ์ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง |
Authors: | อนุตร บูรณพานิชพันธุ์ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Abstract: | การศึกษานีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าทำลายผลกาแฟของมอดเจาะผลกาแฟและทดสอบประสิทธิภาพของสารล่อมอดเจาะผลกาแฟ (Hypothenemus hampei (Ferrari)) เพื่อใช้กำจัดมอดเจาะผลกาแฟในสภาพแปลงปลูกกาแฟของเกษตรกรพืน้ ที่ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาการเข้าทำลายผลกาแฟของมอดเจาะผลกาแฟในสภาพแปลงปลูกโดยนับผลกาแฟที่ถูกมอดเจาะทำลายบนต้นกาแฟ พบว่า ความเสียหายของผลกาแฟในกิ่งระดับล่างมีมากกว่ากิ่งระดับบนที่อยู่สูงจากพืน้ ดินมากกว่า 1.50 เมตรขึน้ ไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) และความเสียหายของผลกาแฟที่ได้จากการสุ่มกิ่งกาแฟ 6 กิ่งต่อต้น สามารถใช้เป็นตัวแทนได้ เนื่องจากเมื่อเทียบกับการเก็บผลกาแฟตรวจนับทัง้ ต้นแล้วไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยความเสียหายของผลผลกาแฟที่ได้จากกิ่งกาแฟ 6 กิ่งและการนับทัง้ ต้นมีค่าเท่ากับ 12.30 ±12.47 และ 12.06 ±10.08 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพของสารล่อมอดเจาะผลกาแฟ ได้ทำการวางกับดักที่ดัดแปลงจากขวดนำ้ ดื่มและสารล่อมอดเจาะผลกาแฟสูตรต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกัน ตัง้ แต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 พบว่า จำนวนมอดเจาะผลกาแฟที่รวบรวมได้จากกับดักในเดือนสิงหาคมและกันยายนมีจำนวนน้อยกว่ามอดที่ดักได้ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสูตรของสารล่อมอดเจาะผลกาแฟที่ดำเนินการในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า สารล่อสูตรต่าง ๆ ให้ผลในการดึงดูดมอดเจาะผลกาแฟไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยในเดือนธันวาคมพบมอดเจาะผลกาแฟติดกับดักมากที่สุด สารล่อสูตรที่มีส่วนผสมของเมทานอลและเอทานอล ในอัตราส่วน 1:1 มีแนวโน้มเป็นสารล่อที่ดึงดูดมอดเจาะผลกาแฟได้ดีที่สุด |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) |
URI: | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=126&CID=927 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64393 |
ISSN: | 0857-0842 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.