Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64319
Title: การผลิตกล้าพริกพิโรธปลอดโรคไวรัสโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Other Titles: Virus-free Seedling Production of Bhut Jolokia Chilli Using Tissue Culture Techniques
Authors: อัญชลี ตาคำ
เกวลิน คุณาศักดากุล
Authors: อัญชลี ตาคำ
เกวลิน คุณาศักดากุล
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: จากการศึกษาอาการของโรคไวรัสในพริกพิโรธที่ปลูก ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ มูลนิธิโครงการหลวง พบอาการหลายแบบ เช่น ใบด่าง เตี้ยแคระแกรน ใบจุดวงแหวน ใบหดย่น และอาการตายของเนื้อเยื่อส่วนตา และเส้นใบ เมื่อเลือกอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่อาการใบด่างมาทดสอบความสามารถในการถ่ายทอดโรคโดยวิธีเสียบยอด พบว่าสามารถถ่ายทอดลักษณะอาการใบด่างไปยังต้นพริกปกติได้ นอกจากนั้นเมื่อทำการลอกเซลล์เนื้อเยื่อผิวใบ และเซลล์เนื้อเยื่อท่อลำเลียงของใบพริกที่แสดงอาการด่าง ไปตรวจสอบความผิดปกติระดับเซลล์ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ หลังการย้อมด้วยสี Azure II, orange green, toluidine blue และ acridine orange พบ inclusion หลายแบบ คือ crystalline inclusion, cylindrical inclusion และ amorphous inclusion เมื่อทยอยตัดตาข้าง และตายอดของต้นพริกดังกล่าวมาฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวและเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตร MS จำนวนรวม 60 ตา พบว่า ต้นอ่อนพริกที่เจริญส่วนใหญ่ยังคงแสดงอาการใบด่างเช่นเดียวกับต้นแม่ แม้จะเพาะเลี้ยงในรุ่นที่ 2 ในระยะเวลา 3-6 เดือน และจากการนำต้นอ่อนพริกที่แสดงอาการใบด่างอายุ 2 เดือน ไปเพาะเลี้ยงในสภาพอุณหภูมิสูงที่ 35±1 องศาเซลเซียสต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 และ 8 สัปดาห์ ช่วงเวลาละ 20 ต้น พบว่าต้นอ่อนพริกรอดตายจำนวน 13 และ 8 ต้น ตามลำดับ เมื่อนำต้นอ่อนพริกที่รอดตายมาตัดเนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอด และเลี้ยงอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม BAP ความเข้มข้น 0.04 ppm และ GA3 ความเข้มข้น 0.1 ppm พบการเจริญของชิ้นเนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดไปเป็นต้นอ่อน จำนวนรวม 3 ชิ้น เจริญเป็นแคลลัส รวมจำนวน 13 ชิ้น และแห้งตายรวม 5 ชิ้น จากการนำต้นอ่อนพริกที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดจำนวน 3 ต้น ย้ายไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตร MS นาน 2 เดือน พบว่าต้นอ่อนพริกที่ได้ทั้งหมดไม่แสดงอาการใบด่าง แม้ว่าจะปล่อยให้เจริญเป็นเวลานานกว่า 6 เดือนก็ตาม จากนั้นทำการเพิ่มปริมาณต้นอ่อนพริกปลอดโรคไวรัสในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าสามารถชักนำให้เกิดยอดได้มากที่สุด เฉลี่ย 4.5 ยอดต่อชิ้นพืช ในอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม BAP ความเข้มข้น 10 ppm ร่วมกับ kinetin ความเข้มข้น 1 ppm สำหรับการทดลองชักนำให้เกิดราก พบว่าสูตรอาหาร MS ที่เติม IAA ความเข้มข้น 2 ppm สามารถชักนำให้เกิดรากในปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อย้ายขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นอ่อนพริกที่มีราก อายุ 1 เดือน ไปเก็บในสภาพโรงเรือนเป็นเวลา 7 และ 14 วันก่อนย้ายปลูก พบว่าต้นอ่อนพริกมีการรอดชีวิต 85 และ 90 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=115&CID=849
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64319
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.