Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64297
Title: | ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในการรับรู้และมุมมองของพยาบาลและผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ |
Other Titles: | The Palliative Care Outcome of Cancer patients At Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. |
Authors: | ปนัดดา สุวรรณ ลดารัตน์ สาภินันท์ ธนพัฒน์ ไชยป้อ ตุลา วงศ์ปาลี วันทนีย์ แสงวัฒนะรัตน์ เรไร พงศ์สถาพร จิตราวดี จิตจันทร์ ชยุต ใหม่เขียว อุบล บัวชุม นงเยาว์ มงคลอิทธิเวช สุกัญญา งามสกุลรัตน์ มนัสสา สิงห์เฉลิม |
Authors: | ปนัดดา สุวรรณ ลดารัตน์ สาภินันท์ ธนพัฒน์ ไชยป้อ ตุลา วงศ์ปาลี วันทนีย์ แสงวัฒนะรัตน์ เรไร พงศ์สถาพร จิตราวดี จิตจันทร์ ชยุต ใหม่เขียว อุบล บัวชุม นงเยาว์ มงคลอิทธิเวช สุกัญญา งามสกุลรัตน์ มนัสสา สิงห์เฉลิม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract: | โรคมะเร็งเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยและต้องการการดูแลแบบประคับประคองที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองการรับรู้และมุมมองของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้และมุมมองของพยาบาลและผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย และพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน เมษายน ถึง เดือน กันยายน พ.ศ. 2555 จำนวน 380 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองโดยรวบรวมข้อมูลจำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ครั้งที่ 1 ในช่วงวันที่ 1- 3 หลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาครั้งที่ 2 หลังจากการประเมินครั้งที่ 1 ภายใน 3-7 วัน และครั้งที่ 3 หลังจากการประเมินครั้งที่ 2 ภายใน 3-7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Friedman Test ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ามีปฏิสัมพันธ์กันจึงได้ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติสถิติทดสอบวิลคอกซัน จับคู่เครื่องหมายตำแหน่ง (Wilcoxon matched-pairs sign-ranks test)และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู (Mann Whitney U Test) ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยของผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้และมุมมองของพยาบาลและผู้ป่วยครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) แต่คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองเปรียบเทียบตามการรับรู้และมุมมองของพยาบาลกับผู้ป่วยทั้ง 3 ครั้ง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้และมุมมองของผู้ป่วยดีขึ้นและการประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้และมุมมองของพยาบาลไม่แตกต่างจากการรับรู้ของผู้ป่วยดังนั้นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97843/76229 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64297 |
ISSN: | 0125-0081 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.