Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64295
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อมิตา ปรารมภ์ | en_US |
dc.contributor.author | ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | มยุลี สำราญญาติ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:00Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:00Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0081 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97838/76226 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64295 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบบ่อยอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งจะมีผลให้เกิดอาการเท้าชา สูญเสียการรับสัมผัสที่เท้า และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลที่เท้าหากมีการติดเชื้อรุนแรงจะนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตได้ การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดอาการเท้าชา การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองต่ออาการเท้าชาในผู้ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมเนื่องจากโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมเนื่องจากโรคเบาหวานและมีอาการเท้าชา จำนวน 38 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 19 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสอนและทำการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองเป็นระยะเวลา 14 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ทำการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเอง แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบบันทึกการตรวจรับความรู้สึกของเส้นประสาทที่เท้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบทีชนิด 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน สถิติทดสอบทีชนิด 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนรูปแบบผสม และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า อาการเท้าชาในผู้ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมเนื่องจากโรคเบาหวาน ในกลุ่มที่นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองหลังนวดในวันที่ 7 และวันที่ 14 น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05, p< .01 ตามลำดับ) อาการเท้าชาในผู้ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมเนื่องจากโรคเบาหวานภายหลังนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองในวันที่ 1, วันที่ 7 และวันที่ 14 น้อยกว่าก่อนนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01 เท่ากัน) | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองต่ออาการเท้าชาในผู้ที่มี ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมเนื่องจากโรคเบาหวาน | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Self-foot Reflexology on Foot Numbness Among Persons with Diabetic Peripheral Neuropathy | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | พยาบาลสาร | en_US |
article.volume | 44 | en_US |
article.stream.affiliations | โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.