Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64289
Title: การตรวจสอบความตรงของแบบสอบถาภาวะสุขภาพของเด็กสำหรับเด็กไทยวัยเรียน
Other Titles: Validation of Child Health Status Questionnaire for Thai School-age Children
Authors: ณัฏฐณิชา ศรีบุณยวัฒน
สุจิตรา เทียนสวัสดิ์
Authors: ณัฏฐณิชา ศรีบุณยวัฒน
สุจิตรา เทียนสวัสดิ์
Issue Date: 2560
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การรับรู้ภาวะสุขภาพเป็นตัวแปรสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกายในเด็กไทยวัยเรียนหลังผ่าตัดซ่อมแซมหัวใจพิการแต่กำเนิด การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยมีความจำเป็น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามใหม่ คือ แบบสอบถามภาวะสุขภาพของเด็กตามการรับรู้ของเด็ก และแบบสอบถามภาวะสุขภาพของเด็กตามการรับรู้ของผู้ปกครอง การทดสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้กลุ่มตรงข้าม และความตรงตามสภาพโดยนำไปหาค่าความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเด็ก กลุ่มตัวอย่าง เด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 160 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย โดย 80 คน เป็นเด็กหลังผ่าตัดโรคหัวใจ (กลุ่ม A) และอีก 80 คน กำลังรอการผ่าตัด (กลุ่ม B) กลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครองของเด็กจำนวน 160 คน ตอบแบบวัดภาวะสุขภาพของเด็ก และแบบวัดคุณภาพชีวิตในเด็กไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดภาวะสุขภาพโดยเปรียบเทียบคะแนนการภาวะสุขภาพตามการรับรู้โดยเด็กและผู้ปกครองของเด็กระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B พบว่า คะแนนของภาวะสุขภาพของเด็กตามการรับรู้โดยเด็กและโดยผู้ปกครองของเด็ก 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (t = 6.899, p<.001 และ t = 4.250, p<. 001 ตามลำดับ) ส่วนผลการทดสอบความตรงตามสภาพโดยนำไปหาค่าความสัมพันธ์กับ คะแนนแบบวัดคุณภาพชีวิต ที่เด็กประเมินตนเอง พบว่าคะแนนภาวะสุขภาพของเด็กทั้งสองกลุ่มมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.340, p <.05; r =.348, p <.05) โดยวิเคราะห์รายด้านพบว่า คะแนนภาวะสุขภาพของเด็กมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสังคม (r = .819, p<.001; r = .870, p<.001) ด้านร่างกายของเด็ก (r=.750, p<.001; r =.759, p<.001) และด้านจิตใจ (r =.754, p<.001; r =.778, p<.001) ส่วนคะแนนภาวะสุขภาพของเด็กที่ประเมินโดยผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (r =.396, p<.05; r =.364, p<.001) คือด้านสังคม (r = .560, p<.001; r =.758; p<.001) ด้านร่างกาย (r = .836, p<.001; r =.762; p<.001) และด้านจิตใจ (r =.754, p<.001; r =.778, p<.001) ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้แบบวัดที่มีความตรงและความเที่ยง ซึ่งบุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถนำไปใช้ประเมินภาวะสุขภาพทางกายของเด็กไทยวัยเรียนที่ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดก่อนวางแผนให้การดูแลอย่างมีคุณภาพต่อไป
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97824/76214
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64289
ISSN: 0125-0081
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.