Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45972
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรพิลาส วงศ์เจริญ | - |
dc.contributor.author | พัชโรธร สุขศรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-03-28T03:00:38Z | - |
dc.date.available | 2018-03-28T03:00:38Z | - |
dc.date.issued | 2557-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45972 | - |
dc.description.abstract | The purposes of this study, "Analysis of Jokes in Koosangkoosom Magazine," were to analyze the concept of humor creation in Koosangkoosom magazine, and to analyze texts and communication stratigies in humor creation in the magazine. Data of humorous stories analyzed were from Koosangkoosom magazines published in 2011, a total of 198 stories. Concepts mainly used in the analysis included the types of discourse and notional structure concept of Robert E. Longacre, discourse model concept of Deborah Schiffrin, incongruity concept of Immanuel Kant, presupposition concept of Claudia Caffi, implicature concept of Herbert Paul Grice, and the concept of indirect speech acts of John R. Searle. The results showed that the analysis of humorous stories were concepts, texts, and communication strategies. Humorous stories creation included five concepts: gender, families, humans, animals, and information presentation. Gender was the concept found mostly. Humorous stories can be a narrative discourse or expository discourse. This could also be in the world or a fantasy story. When considering the structure, it was found that there were three kinds of structure. The first structure consisted of the main part and the main part grouped together as the humorous point. The second structure grouped the main part and subordinate part together as the humorous point. The final structure included subordinate part and main part; humor point is only the main part. Regarding communication strategies together with texts consisted of pragmatics, and literary techniques. Pragmatics included presuppositions, implicatures, and indirect speech acts. presuppositions were mostly found. For the literary techniques, they used homograph, polysemous word, antonyms, and parallel sentences which were mostly found. Figures of speech included simile, metaphor, hyperbole, and metonymy, which the use of metaphor was found mostly. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | นิตยสารคู่สร้างคู่สม | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์สัมพันธสารเรื่องขำขันในนิตยสารคู่สร้างคู่สม | en_US |
dc.title.alternative | Discourse Analysis of Jokes in Koosangkoosom Magazine | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.ddc | 808.8017 | - |
thailis.controlvocab.thash | หัสนิยาย | - |
thailis.controlvocab.thash | นิตยสารคู่สร้างคู่สม | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว 808.8017 พ112ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์สัมพันธสารเรื่องขำขันในนิตยสารคู่สร้างคู่สม” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรก ได้แก่ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดในการสร้างเรื่องขำขันในนิตยสารคู่สร้างคู่สม และประการที่ 2 ได้แก่ เพื่อวิเคราะห์ตัวบทและกลวิธีในการสร้างเรื่องขำขันในนิตยสารคู่สร้างคู่สม เรื่องขำขันที่นำมาวิเคราะห์เก็บข้อมูลจากเรื่องขำขันในนิตยสารคู่สร้างคู่สมที่พิมพ์จำหน่ายในปี พ.ศ. 2554 จำนวนทั้งหมด 198 เรื่อง แนวคิดที่ใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์ ได้แก่ แนวคิดเรื่องประเภทสัมพันธสารและโครงเรื่องของโรเบิร์ต อี ลองเอเคอร์ แนวคิดเรื่องแบบจำลองสัมพันธสารของ เดโบราห์ ชิฟฟริน แนวคิดเรื่อง ความไม่เข้ากันของ อิมมานูเอล คานต์ แนวคิดเรื่องมูลบทของ คลาวเดีย แคฟฟี แนวคิดเรื่อง ความหมายชี้บ่งเป็นนัย ของ เฮอร์เบิร์ต พอล ไกรซ์ และแนวคิดเรื่องวัจนกรรมอ้อมของ จอห์น อาร์ เซิร์ล ผลการศึกษาพบว่า สัมพันธสารเรื่องขำขันประกอบด้วยแนวคิด ตัวบทและกลวิธีทางการสื่อสาร แนวคิดในการสร้างสรรค์เรื่องขำขันมี 5 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเรื่องเพศ แนวคิดเรื่องครอบครัว แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับสัตว์ และแนวคิดเกี่ยวกับการเสนอสาร แนวคิดที่พบมากที่สุด คือ แนวคิดเรื่องเพศ ตัวบทเรื่องขำขันอาจจะเป็นเรื่องเล่าหรือคำอธิบาย และอาจจะเป็นเรื่องในโลกมนุษย์หรือ เรื่องจินตนาการก็ได้ เมื่อพิจารณาแบบโครงเรื่องพบว่าเรื่องขำขันมีโครงเรื่องได้ 3 แบบ ได้แก่ โครงเรื่องแบบที่ 1 ส่วนหลักกับส่วนหลัก ทั้งสองส่วนรวมกันเป็นจุดขำขัน โครงเรื่องแบบที่ 2 ส่วนหลักกับ ส่วนประกอบ ทั้งสองส่วนรวมกันเป็นจุดขำขัน และโครงเรื่องแบบที่ 3 ส่วนประกอบกับส่วนหลัก เฉพาะส่วนหลักเป็นจุดขำขัน โครงเรื่องที่พบมากที่สุดคือ โครงเรื่องแบบที่ 3 ส่วนประกอบกับส่วนหลัก สำหรับกลวิธีทางการสื่อสารที่ประกอบตัวบท ได้แก่ กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และกลวิธีทางวรรณศิลป์ กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ได้แก่ มูลบท ความหมายชี้บ่งเป็นนัย และวัจนกรรมอ้อม กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาตร์ที่พบมากที่สุด คือ มูลบท สำหรับกลวิธีทางวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ หน่วยพ้องรูป การใช้คำหลายความหมาย การใช้คำตรงข้าม การใช้ประโยคขนาน และกลวิธีทางภาพพจน์ ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ และนามนัย กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่พบมากที่สุด คือ อุปลักษณ์ | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 163.49 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 427.87 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 276.05 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 446.53 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 623.41 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 762.03 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 361.56 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 197.23 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 542.33 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 266.74 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.