Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39793
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรลัญจก์ บุณยสุรัตน์-
dc.contributor.authorเฉลิมขวัญกมล เป็งจันทร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-12T13:10:39Z-
dc.date.available2016-12-12T13:10:39Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39793-
dc.description.abstractPha-Mieng was the use of lands for tea planting. Tea was the plant which was important to the way of life of Lanna people who had local wisdom in Mieng production (fermented tea leaves). In addition, Mieng eating had been in Lanna culture for a long time and for important days or villages’ festivals such as temple fairs, funerals, new house ceremony or any other ceremonies, it was found that simple way of life was harmonious to nature such as believes or foods and the ancient northern foods like snacks were not various like those in present days. So people liked to serve Mieng or dried banana leaf cigarettes after meals. The study results showed that although Mae Kam Pong village, Mae-On district, Chiang Mai province put its position to be tourism village upon many supportive factors to be a tourist attraction, resulted from specific groups of tourists who were interested in community tourism to emphasize the usefulness of tourism to be a tool for sustainable natural resource conservation, it was still lack of accurate direction in supporting values and restoring cultural way of life of people in the community. In order to be a good tourist attraction, the community tourism did not emphasize the importance of Mieng which was the unique community culture, including its supportive factor for abundant forest so the village could be the ecotourism village. The way of life in making Mieng could make the cultural tourism village and the guideline for conserving and developing Pa-Mieng community at Mae Kam Pong Village, Mae-On district, Chiang Mai province to be a learning center and cultural tourism and a community which had the plantation of Mieng and the production of Mieng to distribute in Chiang Mai area and nearby. Presently, Mieng making decreased to a few maker, thus, Pamieng was abandoned as well as the equipment was also abandoned. Nevertheless, there were some Mieng maker and their Pamieng, meanwhile Mae Kam Pong was natural tourist attraction with the nice weather and many supportive factors. However, there was still difficulties when tourists visited the community, there were not many tourist attraction points. Therefore, the author suggested in this study the guideline for learning and traveling in cultural tourism at Mae Kam Pong village to emphasize Pamieng learning and traveling along with Mieng making culture which was Mae Kam Pong villagers’ the ancient way of life. The author found that in Pamieng community was plenty of art and cultural history which valued in many aspects i.e. values for people’s way of life, local wisdom, believes, building and developing community to be a learning and cultural tourism place. With the relation between communities in Pamieng community, they were ready to love and cherish cultural resource when the communities had roles to run the tourism themselves. In addition, the community was strong enough with the capacity of the community skill in term of tourism. We could just add more cultural value for community then they could see their self-value, therefore, they had idea to add more community values and received economic advantages. For instance, they had more income and the community was strong and could be a learning and cultural traveling point. The author thought that this could be a good guideline to follow as it would improve the capacity of Mae Kam Pong village. The author applied the theories i.e. 1) villagers’ participation, 2) creative cultural heritage tourism idea, 3) cultural scenery restoration idea to use in the study and also the opinions from the population, expecting that this guideline could be practical and useful for Mae Kam Pong village.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพัฒนาชุมชนen_US
dc.subjectท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectบ้านแม่กำปองen_US
dc.titleการศึกษาเพื่อการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนป่าเมี่ยง บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeThe Study for the management of conservation and development Pha-Meang Community, Mae-Kam pong Village, Mae-On District, Chiang Mai Province towards learning and cultural tourismen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc333.72-
thailis.controlvocab.thashการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- แม่ออน (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม -- แม่ออน (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาชุมชน -- แม่ออน (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 333.72 ฉ573ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractป่าเมี่ยง เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกชา พืชที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตชาว ล้านนา และมีภูมิปัญญาในการผลิตเมี่ยง การรับประทานเมี่ยงอยู่ในวัฒนธรรมล้านนามาอย่างช้านาน วันสำคัญหรือประเพณีของชาวชนบทที่มีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานวัด งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานบุญต่าง ๆ จะพบเห็นชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย แสดงถึงวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อ พิธีการ หรืออาหารการกิน อาหารการกินของชาวชนบทภาคเหนือในสมัยก่อน เช่น อาหารประเภทขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ มีให้เลือกไม่มากเช่นในปัจจุบัน ผู้คนโดยเฉพาะผู้ใหญ่จึงนิยมอมเมี่ยงและสูบบุหรี่ใบตองแห้ง หลังกินข้าวปลาอาหารเสร็จแล้ว ผลการศึกษาพบว่า บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่าหมู่บ้านแม่กำปองจะมีการวางตำแหน่งตัวเองให้การเป็นหมู่ท่องเที่ยวชุมชนอันเนื่องมาจากปัจจัยที่เกื้อหนุนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่เกิดจากกระแสการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่หันมาให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อมุ่งเน้นประโยชน์ให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน แต่ก็ยังขาดซึ่งทิศทางที่ชัดเจนและส่งเสริมมูลค่า ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดี การท่องเที่ยวชุมชนยังขาดการให้ความสำคัญกับเมี่ยงซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชุมชนที่มีเอกลักษณ์ ทั้งป่าเมี่ยงที่มีปัจจัยเกื้อหนุนให้สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ที่จะทำให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วิถีชีวิตการทำเมี่ยงที่จะทำให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวทางของการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนป่าเมี่ยง บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นชุมชนที่ทำการปลูกและผลิตเมี่ยงส่งขายในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และใกล้เคียง ปัจจุบันการทำเมี่ยงลดน้อยลงทำให้เหลือแหล่งที่ทำไม่กี่แห่ง ทำให้ป่าเมี่ยงถูกทอดทิ้ง วัสดุอุปกรณ์ถูกปล่อยทิ้งแต่กระนั้นก็เหลือคนทำเมี่ยงและป่าเมี่ยงจำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันชุมชนแม่กำปอง ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ด้วยสภาพอากาศที่ดีและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวหลายอย่าง แต่ก็ยังมีปัญหาเมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชน ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวไม่มากนัก ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บ้านแม่กำปองให้มุ่งเน้นการเรียนรู้และท่องเที่ยวป่าเมี่ยงและวัฒนธรรมการทำเมี่ยง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวแม่กำปองแต่โบราณ ผู้ศึกษาพบว่าภายในชุมชนป่าเมี่ยงนั้นอุดมไปด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรมที่มีคุณค่าหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นคุณค่าต่อวิถีชีวิตผู้คนในชุมชน คุณค่าของภูมิปัญญา การอนุรักษ์คุณค่าด้านความเชื่อ การสร้างและพัฒนาให้ชุมชนได้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนในชุมชนป่าเมี่ยงชุมชนมีความพร้อมในการรักและหวงแหนทรัพยากรทางวัฒนธรรม เมื่อชุมชนต้องเข้ามาดูแลการท่องเที่ยวด้วยตนเอง ชุมชนเข้มแข็งพอประกอบกับทักษะในชุมชนที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวอยู่แล้วเพียงเพิ่มคุณค่าด้านวัฒนธรรมให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของตัวเองจะทำให้เป็นการสร้างเรื่องราวเพื่อเพิ่มมูลค่าของชุมชนขึ้นและได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ทำให้มีเงินหมุนเวียนคนในชุมชนจะเกิดความเข้มแข็งขึ้นและสามารถจัดเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้ศึกษาคิดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีหากปฏิบัติตามแนวทางนี้ เพราะจะเป็นการเพิ่มศักยภาพบ้านแม่กำปองให้ดีขึ้น ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แนวคิดทฤษฎี 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน 2) แนวคิดการท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 3) แนวคิดการฟื้นฟูภูมิทัศน์วัฒนธรรม ประกอบการศึกษาตลอดจนได้ข้อคิดเห็นจากภาคประชาชนมาประกอบซึ่งคาดหวังว่าแนวทางนี้น่าจะนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์แก่ชุมชนแม่กำปอง ต่อไปen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT201.56 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX211.11 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1344.82 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 21.73 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3235.75 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 43.23 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 51.57 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6181.91 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT205.99 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER621.9 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE263.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.