Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. จุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา เกียรติมณีรัตน์-
dc.contributor.authorปรัทญ์ ปัญโญen_US
dc.date.accessioned2016-11-09T09:13:10Z-
dc.date.available2016-11-09T09:13:10Z-
dc.date.issued2015-08-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39661-
dc.description.abstractWaste becomes serious problem in most agricultural community. This research illustrates how villagers in Ban Sopsa-Nongfan Community, Don Kaeo Sub-district, Mae Rim District, Chiang Mai Province, could successfully participatory manage waste. The objectives of this research were to analyze participatory waste management and identify the factors contribute to the success of this waste management. Qualitative research was applied as research methodology. It was found that there are three periods of waste management in Ban Sopsa-Nongfan Community, including1) the situation prior to the project was full of improper management such as burning, throwing garbage on the road and in cannel which causes unpleasant scenario and putrid water, wet garbage was used for animal feeding, while hazardous waste was brought out to other community. 2) Waste management under the Golden Bin Community Project supported by Donkaeo Administrative Organization (DAO) was undertaken during 2003-2004 by which household garbage was sorting out and selling while the rest was collected by DAO. And 3) the Recycling Waste Bank started in 2007 by six committee members, who had attended the training, then encouraged the villagers and organized public hearing to form this Bank. The opening day was in 2008 with fund raising through TodPhaPa and selling 10 baht share. Now, there are 94 household members. Bank opens every 4th Sunday. Benefit was return in terms of dividend, community fund, and committee payment. This Recycling Waste Bank becomes learning center of recycling waste management. The output of this research found to be body of knowledge on waste management through Recycling Waste Bank. The outcome was that this Ban Sopsa-Nongfan Recycling Waste Bank has become learning center. The members can manage waste properly and participatory, leading to more income and more sustainable manner. The interesting impact was that the Bank committee has become the expert of the learning center. The factors contributed to the success of this management were 1) the working process of the committee, 2) participation of the Bank members, 3) the learning from mistakes of prior management, and 4) the support from Donkaeo Administrative Organization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในชุมชนบ้านสบสา- หนองฟาน ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeParticipatory Waste Management of Farmers in Ban Sopsa-Nongfan Community, Don Kaeo Sub-district, Mae Rim District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractขยะเป็นปัญหาสำคัญของชุมชนเกษตรเช่นกัน โครงการวิจัยนี้ได้นำเสนอการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรในชุมชนบ้านสบสา-หนองฟาน ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม โดยปรับใช้วิธีวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อวิเคราะห์การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสบสา-หนองฟานเพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสบสา-หนองฟาน และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสบสา-หนองฟาน ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 18 ราย ผลการวิจัยพบว่า การจัดการขยะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ (1) สถานการณ์ก่อนเริ่มโครงการจัดการขยะโดยชุมชน คนในชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจและจัดการขยะไม่ถูกวิธี เช่น การเผา การทิ้งขยะเรี่ยราดตามถนน และแหล่งน้ำ ทำให้ชุมชนเกิดทัศนียภาพไม่ชวนมอง แหล่งน้ำในชุมชนเริ่มเน่าเหม็น และมีขยะลอยบริเวณผิวน้ำ นอกจากนี้ ขยะเปียกถูกนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนขยะอันตรายใส่ถุง แล้วนำไปทิ้งในพื้นที่อื่น (2) ช่วงการจัดการขยะโดยชุมชนภายใต้โครงการชุมชนถังขยะทองคำ ในปี พ.ศ. 2546-2547 โดยชาวบ้านในชุมชนนำขยะในครัวเรือน ที่สามารถรีไซเคิลได้มาใส่ในกรงที่ทาง อบต. ดอนแก้วได้จัดเตรียมไว้ คณะกรรมการจะทำหน้าที่คัดแยกแล้วขาย ส่วนขยะที่เหลือ ทาง อบต. ดอนแก้วจะเป็นผู้จัดเก็บ การดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยดี จนกระทั่งปี 2547 คนในชุมชนตระหนักรู้ถึงคุณค่าและมูลค่าของขยะ จึงนำขยะรีไซเคิลไปขายด้วยตนเอง แล้วนำขยะที่ไม่มีมูลค่ามาทิ้งไว้ในกรง ทำให้โครงการนี้ล้มเลิก (3) การจัดการขยะโดยชุมชน ในรูปแบบธนาคารวัสดุรีไซเคิล เริ่มปี 2550 โดยเริ่มจาก ส่งตัวแทนเข้าร่วมอบรมการจัดตั้งธนาคารวัสดุรีไซเคิล แล้วกลับมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน และทำการประชาคมเพื่อก่อตั้งธนาคารมีคณะกรรมการ 6 คน ปี พ.ศ. 2551 เปิดดำเนินการธนาคารวัสดุรีไซเคิล มีการระดมทุนโดยการทอดผ้าป่าวัสดุรีไซเคิล เปิดรับสมาชิกโดยการขายหุ้นละ 10 บาท ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 94 ครัวเรือน เปิดรับซื้อฝากเฉพาะสมาชิกทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน กำไรที่ได้รับคืนสู่สมาชิกในรูปแบบของเงินปันผล มอบแก่สาธารณะประโยชน์ในชุมชน และตอบแทนคณะกรรมในการทำงาน ปัจจุบันธนาคารวัสดุรีไซเคิลนี้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของตำบลดอนแก้ว ผลผลิตของโครงการ ได้แก่ องค์ความรู้ด้านการจัดการขยะโดยธนาคารวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านสบสา-หนองฟาน ผลลัพธ์ ได้แก่ ธนาคารขยะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการขยะ สามารถจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีรายได้เสริมจากการขายขยะ เกิดความยั่งยืนของการจัดการขยะ และผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ คณะกรรมการกลายเป็นวิทยากรสอนประจำห้องเรียนการจัดการขยะ โดยธนาคารวัสดุรีไซเคิล และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในชุมชนบ้านสบสา-หนองฟาน มีดังนี้ (1) รูปแบบการทำงานของคณะกรรมการ (2) การมีส่วนร่วมของสมาชิกธนาคาร (3) การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต (4) การได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)84.81 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract245.61 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.