Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. เขมกร ไชยประสิทธิ์-
dc.contributor.authorอรยา วิศวไพศาลen_US
dc.date.accessioned2016-10-12T09:20:09Z-
dc.date.available2016-10-12T09:20:09Z-
dc.date.issued2015-08-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39631-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to study the job embeddedness of clinical research employees in Thailand of Contract Clinical Research Organization (CRO). One hundred and seventy six employees of CRO completed questionnaires, measured by 6 factors of job embeddedness which were 1) Fit to organization 2) Fit to community 3) Link to organization 4) Link to community 5) Organization-related sacrifice and 6) Community-related sacrifice. Data analysis was conducted by frequency, percentage, means and correlation analysis. The results indicated that the level of job embeddedness of clinical research employees in Thailand of CRO was at the medium level. The level of Fit to organization factor was higher than other factors of job embeddedness. From correlation analysis, the factors that are related to the employees’ job embeddedness were follows: work period, income, education, safety and security welfare, educational welfare, recreation welfare, health welfare and intention of resigning. Five out of six factors of job embeddedness that affected the employees’ work retention were Organization-related sacrifice, Link to organization, Community-related sacrifice, Fit to community and Link to community with negative relationship and strength of relationship between the variables were moderate to low level. Fit to organization was not related to intention of resigning. The following seven sub-factors of job embeddedness were related to intension of resigning with negative relationship and strength of relationship between the variables was moderate level: 1) Good chance for promotion 2) Relationship between investigators and clinical research team 3) More social acceptance than working at other CROs 4) Feeling of loss for current work benefits 5) Current community was safe 6) Appropriate remuneration and 7) Liking the family-like environment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความฝังตรึงในงานของพนักงานฝ่ายวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย ขององค์การรับทำวิจัยตามสัญญาen_US
dc.title.alternativeJob Embeddedness of Clinical Research Employees in Thailand of Contract Clinical Research Organizationen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความฝังตรึงในงานด้านองค์การ และด้านชุมชนที่ทำให้พนักงานฝ่ายวิจัยทางคลินิกขององค์การรับทำวิจัยตามสัญญาในประเทศไทยสมัครใจทำงานในองค์การต่อไป โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานฝ่ายวิจัยทางคลินิกขององค์การรับทำวิจัยตามสัญญาในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามวัดระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยความฝังตรึงในงาน 6 ด้าน คือ 1) ปัจจัยด้านความลงตัวในองค์การ 2) ปัจจัยด้านความลงตัวในชุมชน 3) ปัจจัยด้านพันธะในองค์การ 4) ปัจจัยด้านพันธะในชุมชน 5) ปัจจัยด้านสิ่งที่ต้องสละเกี่ยวกับองค์การ และ 6) ปัจจัยด้านสิ่งที่ต้องสละเกี่ยวกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างพนักงานฝ่ายวิจัยทางคลินิกในประเทศไทยขององค์การรับทำวิจัยตามสัญญามีความฝังตรึงในงานในระดับปานกลาง โดยมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความลงตัวในองค์การสูงกว่าปัจจัยความฝังตรึงในงานด้านอื่นๆ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์การปัจจุบัน การศึกษา รายได้จากองค์การปัจจุบัน สวัสดิการพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัย สวัสดิการพื้นฐานด้านการศึกษา สวัสดิการพื้นฐานด้านนันทนาการ สวัสดิการพื้นฐานด้านสุขภาพ และความตั้งใจที่จะลาออกจากงานมีความสัมพันธ์กับปัจจัยความฝังตรึงในงาน โดยปัจจัยด้านสิ่งที่ต้องเสียสละเกี่ยวกับองค์การ ด้านพันธะในองค์การ ด้านสิ่งที่ต้องเสียสละเกี่ยวกับชุมชน ด้านความลงตัวในชุมชน ด้านพันธะในชุมชนมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะลาออกจากงานแบบผกผันในระดับปานกลางถึงต่ำ และปัจจัยด้านความลงตัวในองค์การไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะลาออกจากงาน ปัยจัยย่อย 7 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะลาออกแบบผกผันในระดับปานกลาง ได้แก่ 1) การมีโอกาสสูงที่จะได้เลื่อนตำแหน่ง 2) ความผูกพันกับแพทย์และทีมงานวิจัย 3) การได้รับการยอมรับจากสังคมมากกว่าการเป็นพนักงานฝ่ายวิจัยทางคลินิกในองค์การรับทำวิจัยตามสัญญาอื่นๆ 4) ความรู้สึกเสียดายสวัสดิการต่างๆ ที่ได้รับอยู่ 5) ชุมชนมีความปลอดภัย 6) การได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และ 7) ความชอบในสภาพแวดล้อมที่อยู่กันอย่างครอบครัวเดียวกันen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)184.3 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract254.62 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.