Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39388
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ.ดร.ศศิเพ็ญ พวงสายใจ-
dc.contributor.advisorรศ.พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์-
dc.contributor.authorภัณฑิลา ทองพูลen_US
dc.date.accessioned2016-07-12T09:22:19Z-
dc.date.available2016-07-12T09:22:19Z-
dc.date.issued2558-12-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39388-
dc.description.abstractThe objectives of the present study are to examine the factors inducing Japanese retirees to take long stay in Chiang Mai Province, to understand their consumer behavior and quality of life, and to assess their satisfaction with their stay in Chiang Mai Province. The needed information for the investigation was collected by questionnaire survey from 200 samples of Japanese retirees aged above 50 years old, identified by simple random sampling technique, who have taken a long stay in Chiang Mai Province. The samples are distinguishable into three groups namely 55 of those who had the length of stay each time in Chiang Mai for less than one year, 104 who did for 1 – 5 years, and 41 who did for more than five consecutive years. The analysis was performed upon the results of descriptive statistics and Likert’s scale rating of satisfaction. From the background information, most of the samples under study are characterized as male, 61 – 70 years old, married, with bachelor’s degree or equivalent education, previously employed in private company or business store before retirement, earning averagely 157,000 baht monthly income while employed in Japan before retirement, and now having 85,000 baht average monthly income generally from pension. Both push and pull factors were the reasons for them to choose to stay in Chiang Mai for lengthy period. The most important push factor was the high cost of living in Japan followed by their desire to begin a new life after retirement in a foreign country. Meanwhile the primary pull factor was the much lower cost of living in Chiang Mai compared to Japan followed by the favorable climate and environmental condition in Chiang Mai which is similar to the situation in Japan. On consumer behavior, the study found that most Japanese retirees chose to live in condominium in Chang Phuek, Santitham, and Talad Sompet areas, living with spouse and spending about 47,000 baht per month. On overall quality of life, the Japanese retirees felt it is good in Japan while it is modest in Chiang Mai. Specifically, the quality of life in economic aspect was considered low in Japan and decent in Chiang Mai on the basis of the proportion of expenditure in the total income. Taking into account the social and environmental surroundings as well as the physical wellness from their self-reliance ability and access to healthcare services, the Japanese retirees were of opinion that their quality of life in these three aspects was good when they were in Japan but was just average while living in Chiang Mai. In social aspect, being here, they had difficulty using language for communication. In terms of living environment, they felt that Chiang Mai still has problems regarding congested human communities, household waste and general garbage management, and inconvenient transportation system. On the account of healthcare services, they expressed their lack of trust in various healthcare services providers as well as their difficulty in getting the services. Meanwhile, the assessment on satisfaction with long stay in Chiang Mai revealed that the Japanese retirees’ satisfaction level was high with housing accommodation, moderate with public services, low with visa control and extension procedures, moderate with the community environment, high with warm local hospitality and living together with local people, and moderate with communications especially they were more satisfied with their language communication in daily life compared to what they had to deal with at various Thai government offices or agencies. By comparison across the three groups of samples concerning the push factors, those who stay for long period considered the high cost of living in Japan as the main factor while those who do for moderately long and short periods were quite indifferent between the high cost of living in Japan and the desire to begin a new life in foreign country after retirement as the driving force. With respect to pull factors, the short-duration long stay group placed greater importance than the otherwise groups on the presence of tourist attractions while those who intended to stay for a lengthy period gave greater weight than those in the other two groups on the factor of security in life and property. On consumer behavior, those Japanese retirees staying for long period preferred to live in rented detached house located outside the city more than those in the other two groups. By comparing the expenditure for living in Japan and in Chiang Mai, those who stay for lengthy period appeared able to cut down the most their monthly expenditure and thus their quality of life in economic term improved more than those in the otherwise groups.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleพฤติกรรมและคุณภาพชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่มาพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeBehavior and Quality of Life of Japanese Long Stay Living in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเลือกมาพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงพฤติกรรม คุณภาพชีวิต และความพึงพอใจในการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple random Sampling) จากชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณและมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่พำนักแบบการพำนักระยะยาว(Long Stay)ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 200 ราย โดยแยกเป็นกลุ่มตามระยะเวลาการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่แต่ละครั้งได้ดังนี้ กลุ่มอยู่ระยะสั้น ได้แก่ กลุ่มที่มีระยะเวลาการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่แต่ละครั้งน้อยกว่า 1 ปี จำนวน 55 ราย กลุ่มอยู่ระยะปานกลาง ได้แก่ กลุ่มที่มีระยะเวลาการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่แต่ละครั้ง 1 - 5 ปี จำนวน 104 ราย กลุ่มอยู่ระยะยาว ได้แก่ กลุ่มที่มีระยะเวลาการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่แต่ละครั้งมากกว่า 5 ปี จำนวน 41 ราย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา(Descriptive statistic) และวัดระดับความพึงพอใจโดยใช้ Likert - scale ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 61 - 70 ปี มีสภานภาพสมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพก่อนเกษียณเป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือห้างร้าน มีรายได้เฉลี่ยก่อนเกษียณที่ประเทศญี่ปุ่นประมาณ 157,000 บาทต่อเดือน เมื่อเกษียณอายุกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแหล่งรายได้จากเงินบำนาญ รายได้เฉลี่ยหลังเกษียณอายุประมาณ 85,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกมาพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ แยกเป็น 2 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยผลักดัน(Push Factors) ที่สำคัญมากที่สุดคือ ค่าครองชีพที่สูงในประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือ ต้องการเริ่มชีวิตใหม่หลังเกษียณหรือต้องการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ปัจจัยดึงดูด(Pull Factors) ที่สำคัญมากที่สุดคือ ค่าครองชีพของจังหวัดเชียงใหม่ต่ำกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นมาก รองลงมาคือ มีสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมดีไม่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่น พฤติกรรมการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เลือกที่พักเป็นคอนโดมิเนียม พำนักบริเวณย่านช้างเผือก สันติธรรม ตลาดสมเพชร โดยพำนักกับคู่สมรส มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 47,000 บาทต่อเดือน สำหรับคุณภาพชีวิตโดยเปรียบเทียบระหว่างการพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นและจังหวัดเชียงใหม่พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีคุณภาพชีวิตในการพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นระดับดี และมีคุณภาพชีวิตในการพำนักที่จังหวัดเชียงใหม่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามประเภทคุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจวัดจากสัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจในการพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นในระดับต่ำ แต่มีคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจในการพำนักที่จังหวัดเชียงใหม่ในระดับปานกลาง สำหรับคุณภาพชีวิตด้านสังคมวัดจากสภาพการดำเนินชีวิตในสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมวัดจากสภาพแวดล้อมต่างๆโดยรอบ และด้านสุขภาพวัดจากความสามารถในการพึ่งพาตนเองและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตทั้ง 3 ด้านนี้ในการพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นในระดับดี แต่มีคุณภาพชีวิตทั้ง 3 ด้านนี้ขณะพำนักที่จังหวัดเชียงใหม่ในระดับปานกลาง ซึ่งปัญหาสำคัญของคุณภาพชีวิตด้านสังคม คือ ภาษาและการติดต่อสื่อสาร ปัญหาสำคัญของคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม คือ ความแออัดของชุมชน ปัญหาการจัดการขยะ และการคมนาคมขนส่งไม่สะดวก และปัญหาสำคัญของคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ คือ การขาดความไว้วางใจในสถานพยาบาล และความสะดวกในการเข้าถึงสถานพยาบาล สำหรับความพึงพอใจในการพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากในด้านที่พักอาศัย มีความพึงพอใจปานกลางในบริการสาธารณะ แต่พึงพอใจน้อยในเรื่องอายุวีซ่าและการต่ออายุวีซ่า มีความพึงพอใจปานกลางในสภาพแวดล้อมของชุมชน แต่พึงพอใจมากในเรื่องอัธยาศัยไมตรีที่ดีและการอยู่ร่วมกับคนท้องถิ่น และมีความพึงพอใจปานกลางในด้านการติดต่อสื่อสาร โดยมีคะแนนความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันสูงกว่าการติดต่อกับหน่วยงานราชการ เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มอยู่ระยะยาวให้ความสำคัญกับปัจจัยผลักดันด้านค่าครองชีพที่สูงในประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก ขณะที่กลุ่มอยู่ระยะสั้นและกลุ่มอยู่ระยะปานกลางให้ความสำคัญกับปัจจัยผลักดันด้านค่าครองชีพที่สูงในประเทศญี่ปุ่นใกล้เคียงกับความต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่หลังเกษียณ สำหรับปัจจัยดึงดูดพบว่า กลุ่มอยู่ระยะสั้นให้ความสำคัญกับการมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามสูงกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่กลุ่มอยู่ระยะยาวจะให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูงกว่ากลุ่มอื่น พฤติกรรมการพำนักพบว่า กลุ่มอยู่ระยะยาวนิยมเลือกที่พักเป็นบ้านเดี่ยวเช่า และเลือกพำนักนอกเขตตัวเมืองเชียงใหม่มากกว่ากลุ่มอื่น ด้านค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบระหว่างประเทศญี่ปุ่นและจังหวัดเชียงใหม่พบว่า กลุ่มอยู่ระยะยาวมีสัดส่วนรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนลดลงมากที่สุด สำหรับคุณภาพชีวิตพบว่า ผลคะแนนคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจขณะพำนักในจังหวัดเชียงใหม่ของกลุ่มอยู่ระยะยาวเพิ่มขึ้นมากที่สุดen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2Abstract.docAbstract (words)208.5 kBMicrosoft WordView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 255.56 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.