Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39381
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร.ณฉัตร์ชพงษ์ แก้วสมพงษ์-
dc.contributor.advisorอ.ดร.จิราคม สิริศรีสกุลชัย-
dc.contributor.authorภูมิใจ เรณูหอมen_US
dc.date.accessioned2016-07-11T07:46:25Z-
dc.date.available2016-07-11T07:46:25Z-
dc.date.issued2559-02-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39381-
dc.description.abstractThe objective of this study was to examine the relationship between border trade through Mae Sot Customs House and the volume of deposit at local commercial banks and private investment in Tak province. The variables are border trade at Mae Sot Customs House, fixed deposit and credit loan of commercial banks in Tak province by using data from October, 2003 to April, 2015, covering 139 observations. The analytical tool is vector autoregressive model (VAR) through Johansen and Juselius method of cointegration test, short-run relationships test, and Granger’s causality test. Unit root tests revealed that all variables are stationary at first difference at 0.01 significant level. The result of cointegration test found that, one million bath change in fixed deposit would cause reverse effect in border trade at Mae Sot Customs House by 279,125 baht. However, one million bath change in credit loan of commercial banks in Tak province would lead to positive effect in border trade at Mae Sot Customs House by 527,921 baht. The short-run relationships test found that all variables have short-run relationships that may transit to long-run equilibrium. Furthermore, the results of Granger’s causality test showed that border trade value at Mae Sot Customs House is affected by the saving, fixed deposit and credit loan of commercial banks in Tak province. Two-way relationship could be found between border trade value and the amount of credit loan of commercial banks. Therefore, the tests show that credit loan is an important factor for private investments in Tak province. Consequently, the government and commercial banks should be careful in creating measures which might have direct effects on credit loan, in order to prevent the decline of border trade at Mae Sot Customs House.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอดกับปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และการลงทุนของภาคเอกชนในจังหวัดตากen_US
dc.title.alternativeA Study of Relationship Between Border Trade at Mae Sot Customs House with Deposit of Commercial Banks and Private Investment in Tak Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอดกับปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และการลงทุนของภาคเอกชนในจังหวัดตาก ตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ มูลค่าการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอด ปริมาณเงินฝากประจำ และปริมาณการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตาก ใช้ข้อมูลรายเดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งมีทั้งหมด 139 ค่าสังเกต โดยใช้แบบจำลองเวคเตอร์ออโต้รีเกรสชั่น (vector autoregressive: VAR) ในการทดสอบความสัมพันธ์ระยะยาวของ Johansen และ Juselius การทดสอบความสัมพันธ์ระยะสั้น และการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลของ Granger ผลการทดสอบความนิ่งของข้อมูล พบว่าตัวแปรที่ทำการศึกษาทุกตัวมีความนิ่งที่ผลต่างอันดับ 1 ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 การทดสอบความสัมพันธ์ระยะยาว พบว่า รูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความเหมาะสมคือ แบบจำลองที่ไม่มีค่าคงที่และแนวโน้มเวลา เมื่อปริมาณเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตาก มีการเปลี่ยนแปลงไป 1 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอดเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม 279,125 บาท และเมื่อปริมาณเงินปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตาก มีการเปลี่ยนแปลงไป 1 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอดเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 527,921 บาท การทดสอบความสัมพันธ์ระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว พบว่า มูลค่าการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอดมีการปรับตัวร้อยละ 8.01 เพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว ส่วนปริมาณเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตากจะปรับตัวร้อยละ 3.81 เพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว และการ ปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตากจะปรับตัวร้อยละ 5.26 เพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว ในส่วนการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล พบว่า ปริมาณเงินฝากประจำ และปริมาณเงินปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตากเป็นต้นเหตุของมูลค่าการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอด โดยที่มูลค่าการค้าชายแดนด่านศุลกากรแม่สอดและปริมาณเงินปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตากเป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทางen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)178.3 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 209.91 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS5.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.