Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว-
dc.contributor.authorชัชนันท์ สุกัณทาen_US
dc.date.accessioned2015-03-17T10:01:49Z-
dc.date.available2015-03-17T10:01:49Z-
dc.date.issued2014-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37867-
dc.description.abstractการค้นคว้าแบบอิสระ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ พุทธศักราช 2552 ใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต โดยใช้ CIPP Model ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ตัวแทนครู จำนวน 1 คน ตัวแทนชุมชนจำนวน 1 คน รวมจำนวนประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 5 คน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน หัวหน้าวิชาการ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 ที่ใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ พุทธศักราช 2552 จำนวน 70 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 ที่ใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ พุทธศักราช 2552 จำนวน 10 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 88 คน ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้ 1. ด้านบริบท ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 คำอธิบายรายวิชา ผลการประเมินโดย ผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมายของโรงเรียน ความต้องการชุมชนและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551ในระดับมากที่สุด 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ประกอบด้วย บทบาทของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ งบประมาณ ผลการประเมินโดย ผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นตรงกันว่ามีความพร้อมในระดับมาก 3. ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บทบาทของครู การวัดและ การประเมินผล การบริหารหลักสูตร และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการประเมินโดยผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และครูเห็นว่ามีความพร้อมในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่า มีความพร้อมในระดับมาก 4. ด้านผลผลิต ประกอบด้วย คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการประเมินโดยครู และนักเรียน เห็นตรงกันว่าคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ความสามารถในระดับมาก สมรรถนะอยู่ในระดับคุณภาพดี และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับดี ส่วนผลการประเมินโดย ผู้ปกครอง พบว่า สมรรถนะด้าน ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตในเรื่อง ทำงาน และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันดีอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนผลสัมฤทธิ์รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ระดับเกรด 3 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 85.71 และผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศ โดยมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 5.04en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEvaluation of the elementary level science curriculum at Kowittamrong Chiang Mai Schoolen_US
thailis.classification.ddc375.5-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการประเมินหลักสูตร-
thailis.controlvocab.thashวิทยาศาสตร์ -- หลักสูตร-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 375.5 ช112ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ พุทธศักราช 2552 ใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต โดยใช้ CIPP Model ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ตัวแทนครู จำนวน 1 คน ตัวแทนชุมชนจำนวน 1 คน รวมจำนวนประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 5 คน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน หัวหน้าวิชาการ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 ที่ใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ พุทธศักราช 2552 จำนวน 70 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 ที่ใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ พุทธศักราช 2552 จำนวน 10 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 88 คน ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้ 1. ด้านบริบท ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 คำอธิบายรายวิชา ผลการประเมินโดย ผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมายของโรงเรียน ความต้องการชุมชนและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551ในระดับมากที่สุด 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ประกอบด้วย บทบาทของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ งบประมาณ ผลการประเมินโดย ผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นตรงกันว่ามีความพร้อมในระดับมาก 3. ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บทบาทของครู การวัดและ การประเมินผล การบริหารหลักสูตร และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการประเมินโดยผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และครูเห็นว่ามีความพร้อมในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่า มีความพร้อมในระดับมาก 4. ด้านผลผลิต ประกอบด้วย คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการประเมินโดยครู และนักเรียน เห็นตรงกันว่าคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ความสามารถในระดับมาก สมรรถนะอยู่ในระดับคุณภาพดี และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับดี ส่วนผลการประเมินโดย ผู้ปกครอง พบว่า สมรรถนะด้าน ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตในเรื่อง ทำงาน และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันดีอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนผลสัมฤทธิ์รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ระดับเกรด 3 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 85.71 และผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศ โดยมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 5.04en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT175.5 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX513.25 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1389.65 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 21.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3371.2 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4489.34 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5349.67 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT194.67 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER794.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE314.21 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.