Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37694
Title: รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานหลวงราชพฤกษ์จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Tourism management patterns of Royal Park Rajapruek, Chiang Mai Province
Authors: อรรคพล บุญเกิดหาญภักดี
Authors: ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
อรรคพล บุญเกิดหาญภักดี
Issue Date: Aug-2014
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การศึกษาเรื่อง รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและกิจกรรมการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานหลวง ราชพฤกษ์ (2) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ (3) เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการจัดบริการ การท่องเที่ยวของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จำนวน 325 คน และกลุ่มผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จำนวน 5 คน ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นการท่องเที่ยวแบบผสมผสาน โดยนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ส่วนใหญ่เข้าไปชมไม้ดอก ไม้ประดับ รวมทั้งพรรณไม้นานาชนิด คิดเป็นร้อยละ 86.77 เข้าชมการจัดแสดงสวนในรูปแบบต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 75.69 และเข้าชมแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร วัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ พืชพันธุ์ท้องถิ่น พืชหายาก คิดเป็นร้อยละ 52.62 จากการจัดกิจกรรมของอุทยานหลวง ราชพฤกษ์ พบว่า กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวมีการเข้าร่วมมากที่สุด คือ งานเทศกาลชมสวน รองลงมาคือ งานเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ด้านคุณภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ พบว่า โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่า การให้บริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ มีคุณภาพ ในระดับสูงหรือมีคุณภาพระดับดีทุกด้าน ประกอบด้วย ด้านความน่าเชื่อถือ มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 3.92 ด้านการตอบสนอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 3.94 ด้านการให้ความมั่นใจ มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.05 ด้านการดูแลเอาใจใส่ มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 3.99 และด้านรูปลักษณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.04 ด้านปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการ และการรับบริการของนักท่องเที่ยวในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ พบว่า อุทยานหลวงราชพฤกษ์มีปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการและการรับบริการนักท่องเที่ยว มีปัญหาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ที่จอดรถ รถรับ-ส่ง ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นปัญหาอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นปัญหาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านร้านอาหาร เครื่องดื่ม ห้องน้ำ สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว ปัญหาด้านเส้นทางคมนาคมขนส่ง เช่น ถนน รถโดยสารสาธารณะ เส้นทางคมนาคม และปัญหาด้านความสะดวกสบาย ปลอดภัยในการเดินทางเพื่อเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ โดยปัญหาที่นักท่องเที่ยวเห็นว่ามีน้อยที่สุด คือ อัธยาศัยไมตรี ความรู้ความสามารถและความพร้อมของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37694
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT271.67 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.37 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1293.91 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2747.59 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3554.8 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4785.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5411.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT198.02 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER523.8 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE367.74 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.