Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37672
Title: การจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล สหโคเจนกรีนและหมู่บ้านในตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Other Titles: Community's knowledge management for solving conflicts between sahacogen green biomass power plant and Villages of Pasak Subdistrict, Mueang District, Lamphun Province
Authors: สรยุทธ รักษาศรี
Authors: สรยุทธ รักษาศรี
Issue Date: Aug-2014
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าทำไมชาวบ้านซึ่งเคย มีแนวคิดต่อต้านการสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล จึงเปลี่ยนแนวคิดมาให้เป็นการยอมรับ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้ มีปัจจัยอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง ในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้ง บทบาทของแต่ละฝ่าย ทั้งผู้นำชาวบ้าน ภาครัฐ และบริษัทฯเป็นอย่างไร รูปแบบการจัดการความรู้ที่มีผลในการเปลี่ยนแนวคิดของชาวบ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลหลักและเกณฑ์การเลือกผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ตำบลป่าสัก (หนองปลาขอ,น้ำบ่อเหลือง,และสันหลวง),เจ้าหน้าที่ของสำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน และเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าชีวมวล สหโคเจนกรีน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบ่งเป็น 4 ชุด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การที่ชาวบ้านเปลี่ยนแนวคิดจากที่เคยต่อต้านโรงไฟฟ้าชีวมวลฯ มาเป็นไม่ต่อต้านนั้นเนื่องจาก เดิมชาวบ้านไม่ได้มีความรู้เรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลเลย เพียงแต่มีความกังวลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฯว่า ไม่ดี จะนำปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบอื่นๆมาให้ และมีการพูดกันปากต่อปากในชุมชน ก่อให้เกิดความเข้าใจว่าโรงไฟฟ้าฯจะนำปัญหามาให้ แต่เมื่อมีการจัดการความรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และการนำชาวบ้านและผู้นำชุมชนไปทัศนศึกษาโรงไฟฟ้าในพื้นที่อื่น เพื่อให้เห็นภาพการดำเนินการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านก็มีความเข้าใจและยอมรับโรงไฟฟ้าชีวมวลฯ มากขึ้น นอกจากประเด็นเรื่องการจัดการความรู้ข้างต้นแล้ว ยังมีประเด็นที่สำคัญที่ช่วยให้ชาวบ้านยอมรับโรงไฟฟ้าชีวมวลฯก็คือ 1. เมื่อทางโรงไฟฟ้าฯเปิดดำเนินการมากว่า 5 ปีแล้ว พบว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบต่างๆที่ชาวบ้านเคยกังวลว่าจะเกิด ไม่เกิดขึ้นเลย ทำให้ชาวบ้านมีความมั่นใจในการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงไฟฟ้าฯกับชาวบ้านมากขึ้น 2. ผลจากการดำเนินโครงการ CSR ของทางโรงไฟฟ้าฯ ที่พยายามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ทำให้โรงไฟฟ้าและชาวบ้านมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันช่วยให้การจัดการความรู้ราบรื่น 3. การดำเนินการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลเรื่องสิ่งแวดล้อมกับชาวบ้าน ตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวบ้านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และป้องกันไม่ให้เกิดการเข้าใจผิด รวมถึงการเปิดช่องทางการสื่อสาร ระหว่างโรงไฟฟ้ากับชาวบ้าน ทำให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีปัญหาข้อสงสัย หรือข้อร้องเรียน
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37672
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT166.37 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX561.93 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1204.78 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2363.99 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3186.7 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4611.39 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5412.47 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT274.43 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER534.94 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE218.73 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.