Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79498
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธเนศวร์ เจริญเมือง-
dc.contributor.authorพระครูสังฆรักษ์กันตพงศ์ ศานติคีรีen_US
dc.date.accessioned2024-06-17T09:23:00Z-
dc.date.available2024-06-17T09:23:00Z-
dc.date.issued2024-02-15-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79498-
dc.description.abstractTemples are centers of moral instruction and mental stability for Buddhists. serving as a part in laying the foundation for the unity and stability of society, reducing social problems, and promoting the efficiency of social control. They serve as a center of religion and culture. This research aims to 1) study the development and process of organizing education by Wat Chedi Luang Worawihan and Wat Suan Dok Phra RC; 2) study the strengths, weaknesses, and ways to solve the process of organizing education by temples 3) analyze and compare the role and impact of education by Wat Chedi Luang Worawihan and Wat Suan Dok Phra Aram Luang on Thai society. The research 25 administrators, teachers, and staff from educational institutions located within Wat Chedi Luang Worawihan and Wat Suan Dok: the royal monastery consists of the Wat Chedi Luang religious studies center, Metta Suksa School under the Royal Patronage Samakkhi, Wittayathan School, Mahamakut Buddhist University Lanna Campus As for Wat Suan Dok, the royal monastery consists of the Wat Suan Dok Religious Education Office, Pali Sathit Suksa School. Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus. The study was conducted with in-depth interviews and data analysis. The research results found that the development and process of organizing education by Wat Chedi Luang Worawihan and Wat Suan Dok, both royal monasteries, began organizing education in temples nearly a hundred years ago. Educational administration is in general unified because all policies are received directly from the Ministry of Education. The goals and direction of work are similar. Wat Suan Dok Phra Aram Luang has a total of 3 institutes. Wat Chedi Luang Worawihan has 4 institutes. The strong point is that education is organized in the same direction. Education is organized so that students can stay regularly within the same temple and be able to be supervised. The weak point is that students are occupied with modern technology and lack sufficient interest in learning, making teaching and learning inconsistent and weakened. Comparative analysis of the role and impact of educational arrangements at Wat Chedi Luang Worawihan and Wat Suan Dok Phra Aram Luang on Thai society is that both educational institutions of the two temples are similar in ideology and educational purposes: they strive to make good and smart citizens of the society and nation. Several weaknesses similar due to the power of modern technology and interest in secular life causing weaker learning habits. Educational management at Wat Chedi Luang Worawihan and Wat Suan Dok The royal monasteries are different in 2 points: 1) The curriculum used is different. Wat Chedi Luang Worawihan has a Dhamma-Pali teaching department. Suan Dok Temple The Royal Monastery focuses on the Pali language and 2) organizational management structure. Wat Chedi Luang Worawihan's administration is unclear, causing teachers to change frequently. A solution may be needed if the problem continues in the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการด้านการศึกษาในวัดเจดีย์หลวงวรวิหารและวัดสวนดอก พระอารามหลวงen_US
dc.title.alternativeA Comparative Study of the educational management in Wat Chedi Luang Worawihan and Wat Suan Dok royal templeen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashวัดสวนดอกพระอารามหลวง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาเปรียบเทียบ-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา -- ไทย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัดเป็นศูนย์กลางของการสั่งสอนศีลธรรมและความมั่นคงทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานความเป็นปึกแผ่นและความมั่นคงให้แก่สังคม ช่วยลดปัญหาสังคมส่งเสริมประสิทธิภาพการควบคุมทางสังคมและเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการและกระบวนการจัดการศึกษาของวัดเจดีย์หลวงวรวิหารและวัดสวนดอก พระอารามหลวง 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อนและแนวทางแก้ไขกระบวน การจัดการศึกษาผ่านวัด 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทและผลกระทบการจัดการศึกษาของวัดเจดีย์หลวงวรวิหารและวัดสวนดอก พระอารามหลวง ต่อสังคมไทย โดยได้ทำการศึกษาผู้บริหาร ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 25 ท่าน จากสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ภายใน วัดเจดีย์หลวงวรวิหารและวัดสวนดอก พระอารามหลวงประกอบไปด้วยสำนักศาสนศึกษาวัดเจดีย์หลวง โรงเรียนเมตตาศึกษาในพระราชูปถัมภ์ โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ส่วนวัดสวนดอก พระอารามหลวง ประกอบด้วยสำนักศาสนศึกษาวัดสวนดอกโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการและกระบวนการจัดการศึกษาผ่านวัดเจดีย์หลวงวรวิหารและวัดสวนดอกพระอารามหลวงทั้งสองแห่งเริ่มมีการจัดการศึกษาในวัดมายาวนานเกือบร้อยปี การบริหารจัดการศึกษาโดยส่วนใหญ่เป็นเอกภาพ ตามนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด อำนาจในการตัดสินใจทุก ๆ หน่วยงานขึ้นต่อศูนย์อำนาจส่วนกลางมีผู้บังคับบัญชาแต่ละหน่วยงานมีอำนาจจำกัดในการบริหารจัดการศึกษาโดยวัดสวนดอกพระอารามหลวง มีทั้งหมด 3 สถาบัน วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร มี 4 สถาบัน จุดแข็ง คือ การจัดการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนอยู่ประจำภายในวัดเดียวกันสามารถดูแลควบคุมผู้เรียนได้ ส่วนจุดอ่อน คือ ผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปทำให้ขาดความสนใจการเรียนทำให้การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง จุดอ่อนอีกประการหนึ่งคือสิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้พระสงฆ์สามเณรขาดความรู้ ความเข้าใจ ความชัดเจนและต้องปรับตัวเกี่ยวกับการศึกษาและทิศทางการดำเนินชีวิตในอนาคต การวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทและผลกระทบของการจัดการศึกษาวัดเจดีย์หลวงวรวิหารและวัดสวนดอก พระอารามหลวง ต่อสังคมไทย พบว่า วัดเจดีย์หลวงมีการจัดการเรียนการสอนแผนกนักธรรม-บาลีและจะมีแผนกธรรมศึกษา โครงสร้างของผู้บริหารและโครงสร้างครูไม่คงที่ ส่วนวัดสวนดอก พระอารามหลวงมีโครงสร้างองค์กรในการทำงานในการจัดการศึกษาเป็นลำดับขั้นจากเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส เจ้าสำนักศาสนศึกษา โดยการทำงานมุ่งเน้นไปทางด้านภาษาบาลีเนื่องจากผู้เรียนมีความสนใจศึกษาธรรมะหรือภาษาบาลีให้เข้าใจหลักธรรมหรือคำศัพท์ของภาษาบาลีเพื่อนำไปพัฒนาตนเอง ครอบครัวและสังคมให้เกิดความร่มเย็นโดยอาศัยพุทธธรรมเป็นแกนกลางในการดำเนินชีวิต การจัดการศึกษาวัดเจดีย์หลวงวรวิหารและวัดสวนดอกพระอารามหลวงมีความแตกต่างกันใน 2 ประเด็นคือ 1) หลักสูตรที่ใช้แตกต่างกันวัดเจดีย์หลวงวรวิหารมีการจัดการเรียนการสอนแผนกนักธรรม-บาลี ส่วนวัดสวนดอก พระอารามหลวงมุ่งเน้นไปทางด้านภาษาบาลีและ 2) โครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร วัดเจดีย์หลวงวรวิหารการบริหารยังไม่ชัดเจนทำให้ผู้สอนเปลี่ยนบ่อย ส่วนวัดสวนดอก พระอารามหลวงมีโครงสร้างและการบริหารที่ชัดเจน ซึ่งข้อค้นพบในการศึกษาทำให้เห็นรูปแบบการจัดการศึกษาในวัดและโครงสร้างการบริหารจัดการโรงเรียนที่อยู่ในวัดเพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาการจัดการศึกษาในวัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631932064 Phrakhrusangkharak Kantaphong Santikhiri.pdf9.23 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.