Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79183
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เยาวเรศ เชาวนพูนผล | - |
dc.contributor.advisor | พรสิริ สืบพงษ์สังข์ | - |
dc.contributor.author | วายุ ไชยธนนันท์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-13T16:11:14Z | - |
dc.date.available | 2023-11-13T16:11:14Z | - |
dc.date.issued | 2023-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79183 | - |
dc.description.abstract | The Royal Project Foundation was established in 1969. Initially, the supported types of plants were Winter fruits and flowers. Subsequently, the consumers’ demand for organic lettuces, such as Cos, Green Oak Lettuce, and Red Oak lettuce, is continuously increasing. As a result, the Royal Project Foundation significantly supported agriculturists to harvest the three types of plants from 2014 until organic lettuce can be listed in the top 10 main types of the Royal Project Foundation. However, it revealed that the Royal Project Foundation was not capable of producing enough organic lettuces to meet the consumers’ demand because of the problem in the supply chain, such as climate change issue, the delay in the production processes, or the unbalance of resources. Besides, supply chain management and logistic cost of Thung luang royal project development center is different from other area. The purpose of the study is to investigate the supply chain of the organic lectures by a means of applying the SCOR model, classifying logistic cost by stock & Lambert and analyzing logistic cost by activity-based costing. The result found that logistic cost of the farmers is 1,983,299.14 baht or 17.06 baht per kilogram. Thung Luang Royal Project Development Center is 5,063,766.05 baht or 31.95 baht per kilogram. Almost stakeholder can manage continuously the supply chain operating because they always plan for every process. In addition, the stakeholder has meeting for exchanging the information to improve supply chain in every quarter. However almost activities of famers are disrupted by climates, diseases, and insects. Besides, in terms of supply and production of agriculturists, it revealed that a majority of agriculturists encountered difficulties with the raw material supplies and the issue of the broken greenhouse. Consequently, it caused a production slowdown. As a result, it caused the agriculturist to fail their target to achieve cultivating the determined number of crops, and additionally, some crops were even unqualified. In addition, farmers have high costs due to lack of maintenance of agricultural equipment and farmers still lack the power to purchase inputs because they buy in small amounts. Therefore, one of the solutions to improve the supply chain is there were the pre-at-least-three-to-six-moth-purchase planning, and the construction of the quality building, both of which were effective solutions to battling the issue well, gather a group to buy factors of production, in which can help increase bargaining power and be a way to solve problems that asrise. In addition, to reduce the labor shortage problem, Thung Luang Royal Project Development Center should increase quality of life benefits for workers, which is a guideline for increasing the efficiency of operations in the supply chain. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ต้นทุนโลจิสติกส์ของผักสลัดอินทรีย์ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวงจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Organic lettuce logistic costs of Thung Luang Royal Project Development center, Chiang Mai province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ผักสลัด | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรอินทรีย์ | - |
thailis.controlvocab.thash | การบริหารงานโลจิสติกส์ | - |
thailis.controlvocab.thash | โครงการหลวงทุ่งหลวง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | มูลนิธิโครงการหลวงก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2512 โดยพืชที่ได้รับการสนับสนุนช่วงแรกเป็นผลไม้เมืองหนาวและดอกไม้ ต่อมาความต้องการผักสลัดอินทรีย์ เช่น คอส โอ๊คคลีฟเขียว และโอ๊คคลีฟแดงของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิโครงการหลวงจึงสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตผักทั้งสามชนิดมากขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 จนกระทั้งผักสลัดอินทรีย์สามารถผลิตกลายเป็นพืชหลักใน 10 อันดับแรก อย่างไรก็ตามพบว่าโครงการหลวงไม่สามารถผลิตผักสลัดอินทรีย์ได้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากปัญหาการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เช่น ปัญหาด้านสภาพอากาศ ความล่าช้าของกระบวนการผลิต หรือความไม่สมดุลของทรัพยากร นอกจากนี้ยังพบว่าการจัดการระบบโลจิสติกส์ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงนาทุ่งหลวงซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์พัฒนาที่ดูแลเกษตรกรผู้ปลูกผักสลัดอินทรีย์ มีระบบการจัดการโลจิสติกส์และต้นทุนแตกต่างจากศูนย์พัฒนาอื่น งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาห่วงโซ่อุปทานผักสลัดอินทรีย์โดยใช้แบบจำลอง SCOR จำแนกต้นทุนโลจิสติกส์ตามแนวคิดของ Stock & Lambert และคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ตามต้นทุนฐานกิจกรรม ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์รวมของเกษตรกรคิดเป็น 1,983,299.14 บาท หรือ 17.06 บาทต่อกิโลกรัม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวงพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์รวมคิดเป็น 5,063,766.05 บาท คิดเป็น 31.95 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกือบทุกแผนกสามารถบริหารห่วงโซ่อุปทานดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องเพราะมีการวางแผนการบริหาร จัดหา ผลิต และขนส่งล่วงหน้า นอกจากนี้ยังจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ปรับปรุงจุดบกพร่องภายในห่วงโซ่อุปทานทุกไตรมาส อย่างไรก็ตามกิจกรรมการดำเนินงานส่วนใหญ่ของเกษตรกรถูกขัดขวางโดยปัญหาด้านสภาพอากาศ โรค และแมลง นอกจากนี้ในกระบวนการจัดซื้อและการผลิตพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เผชิญกับปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบและโรงเรือนที่ชำรุด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการชะลอการผลิต ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามเป้าหมาย และผลผลิตบางส่วนไม่ได้คุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรมีต้นทุนสูงเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาในส่วนของอุปกรณ์การเกษตร และเกษตรกรยังขาดอำนาจในการซื้อปัจจัยการผลิตเนื่องจากซื้อในจำนวนที่น้อย ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานให้ดีขึ้นคือเกษตรกรควรมีการวางแผนการจัดซื้อล่วงหน้าอย่างน้อย 3-6 เดือน สร้างโรงเรือนที่มีประสิทธิภาพ และจับกลุ่มเพื่อรวมกันซื้อปัจจัยการผลิตซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาได้และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวงควรเพิ่มสวัสดิการด้านคุณภาพชีวิตให้แก่แรงงานซึ่งเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทาน | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630831052-วายุ-ไชยธนนันท์.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.