Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78312
Title: Diversity and phylogeny of the genus Paramyrothecium causing leaf spot from Chiang Mai and Mae Hong Son Provinces
Other Titles: ความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของราสกุล Paramyrothecium สาเหตุโรคใบจุดจากจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน
Authors: Patchareeya Withee
Authors: Ratchadawan Cheewangkoon
Putarak Chomnunti
Patchareeya Withee
Issue Date: May-2022
Publisher: Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University
Abstract: รา Paramyrothecium เป็นสาเหตุโรคสำคัญในพืชหลากหลายทั่วโลก สามารถพบได้ทั้งในเขตร้อนชื้น และกึ่งร้อนชื้น รามถึงประเทศไทย ราชนิดนี้เป็นสาเหตุของโรคใบจุด และใบไหม้ในพืช หลายชนิด สร้างความเสียหายในพืชเศรษฐกิจหลายวงศ์ อย่างไรก็ตามในประเทศ ไทยยังคงมีข้อมูล การศึกษาของรากลุ่มนี้ค่อนข้างน้อย และมีข้อมูลการวินิจฉัยที่ไม่ชัดเจน การศึกษาครั้งนี้จึงมี จุดประสงค์เพื่อสำรวจ เก็บรวบรวม และข้อมูลพืชอาศัยของรา ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึง กุมภาพันธ์ 2563 ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน โดยการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรรมของรา ใช้ข้อมูลทางสัญฐานวิทยา ร่วมกับข้อมูลทางอณู โมเลกุล สามารถรวบรวมราได้ทั้งหมด 16 ไอโซเลท จากพืช 14 ชนิด แบ่งออกเป็นวงศ์ ได้แก่ Aristolochiaceae Asteraceae Bignoniaceae Commelinaceae Cucurbitaceae Fabaceae Lamiaceae Rubiaceae และ Solonaceae จากนั้นทำการวิเคราะห์ลำดับนิวคลิโฮไทด์ของรา ในตำแหน่ง Internal transcribed spacers (ITS), RNA polymerase II second largest subunit (rpb2), B-tubulin (tub2) และ calmodulin (cmdA) พบว่า สามารถจัดจำแนกราได้ 4 ชนิด คือ Paramyrothecium breviseta จำนวน 2 ไอโซเลท P. eichhorniae จำนวน 5 ไอโซเลท, P. folicola จำนวน 1 ไอโซเลท และ P. vignicola จำนวน 1 ไอโซเลท ในการศึกษาครั้งนี้ได้ค้นพบรา P. vgnicola ซึ่งเป็นราชนิดใหม่ของโลก และ การศึกษาครั้งนี้เป็นการรายงานรา P. breviseta และ P. folicola เป็นครั้งแรกของประเทศไทย สาย พันธุ์เหล่านี้ได้รับการยืนยันว่าเป็นสาเหตุของโรคใบจุดผ่านการทดสอบการก่อโรค นอกจากนี้การ ทดสอบการก่อโรคในการเข้าทำลายพืชอาศัยต่างชนิดบน Coffea arabica Commelina benghalensis Glycine max Iละ Diefienbachia sequine แสดงให้เห็นช่วงพืชอาศับหลายตัวสำหรับราชนิดนี้ ดังนั้นรา Paramyrothecium ที่พบในประเทศไทย มีพืชอาศัยที่กว้าง มีความสามารถในการเข้าทำลาย พืชต่าง วงศ์ (host jump abiliy) และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพืชอาศัยกับราParamyrothecium ที่ทำให้เกิดโรคจุดใบและการจัดการความเครียดจากสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของพืชและความอ่อนแอต่อโรค ดังนั้นการระบุ ชนิดและติดตามกลุ่มเชื้อราในสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจโรค อุบัติใหม่ และสำหรับการดำเนินการตามกลยุทธ์การจัดการโรค
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78312
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831011 พัชรียา วิถี.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.