Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorวรทัศน์ อินทรัคคัมพร-
dc.contributor.advisorแสงทิวา สุริยงค์-
dc.contributor.authorพงศ์ศิริ ตารินทร์en_US
dc.date.accessioned2023-06-17T02:50:38Z-
dc.date.available2023-06-17T02:50:38Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78063-
dc.description.abstractThe objective of this research was to study the basic social and economic factors of Village Agricultural Volunteers in Phayao province, analyze their training needs for capacity building, and examine the problems and suggestions for their performance. The population included 808 Village Agricultural Volunteers, and a sample size of 163 was determined using Taro Yamane's formula at a 93% confidence level. Data was collected through interviews, and the data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The study found that most village agricultural volunteers were male, had an average age of 52.47 years old, and had a high school education/vocational level. They had been in the position for an average of 4.99 years and held social positions such as the village headman and the village headman's assistant. Most were members of the local farmer institute group, and their average income in 2021 was 172,747.24 baht, with an average outstanding debt of 235,938.65 baht. They received most agricultural news through personal media such as neighbors and agricultural officials and had an average of 3.59 contacts with officials from the Ministry of Agriculture and Cooperatives per month. The study also found that the village agricultural volunteers' needs for training according to their roles were at a moderate level (X ̅ 2.24). collecting basic information about agriculture in the village (X ̅ 2.42) and monitoring the agricultural situation in the village and reporting urgent emergencies to relevant agencies (X ̅ = 2.32). In addition, the village agricultural volunteers had a moderate level of need for training other than roles (X ̅ = 2.19), which focused on the correct use of agricultural chemicals (X ̅ = 2.45) in production. and the use of biochemicals in agriculture (X ̅ = 2.36) and agricultural marketing principles (X ̅ = 2.32). The results of the hypothesis testing revealed that the factors that had a positive correlation with the demand Training to develop the potential of village agricultural volunteers in Phayao Province, including positions social and educational level with statistical significance at the 0.05 level and the correlation factors Negative towards the need for training to develop the potential of village agricultural volunteers in Phayao Province was age with a statistical significance at the 0.05 level. All 3 factors were able to create a forecasting equation at 29.20 percent. Based on the study of problems and suggestions affecting the performance of village agricultural volunteers in Phayao Province, it seems that there are several factors that hinder their effectiveness. One major issue is the lack of supporting factors and working budgets, which can make it difficult for these volunteers to carry out their duties effectively. Additionally, farmers in the area may not fully understand the roles and responsibilities of village agricultural volunteers, which can further hinder their performance. To address these issues, the village agricultural volunteers have suggested several solutions. For example, they believe that there should be compensation for allowances, meeting allowances, and travel expenses to help them perform their duties. Officials should also contact and meet with volunteers more frequently to organize meetings and provide support. Additionally, there should be a greater effort to publicize the roles and duties of village agricultural volunteers so that farmers can become more aware of their importance.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectNeedsen_US
dc.subjectpotential developmenten_US
dc.subjectTrainingen_US
dc.subjectPhayaoen_US
dc.subjectVillage Agriculture Volunteeren_US
dc.titleความต้องการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครเกษตร หมู่บ้านในจังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeTraining needs for village agricultural volunteers' capacity building in Phayao Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashอาสาสมัครในงานเกษตรกรรม-
thailis.controlvocab.thashกรรมเกษตรกร -- พะเยา-
thailis.controlvocab.thashอาสาสมัคร -- พะเยา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม บางประการของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดพะเยา และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและ ให้ข้อเสนอแนะต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดพะเยา จำนวน 808 คน คำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ที่ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 93% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 163 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นตามวิธี Cronbach เท่ากับ 0.962 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน จากการวิจัยพบว่า อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.47 ปี มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และดำรงตำแหน่งอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน เฉลี่ย 4.99 ปี นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งทางสังคม เช่น ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ โดยในปี พ.ศ. 2564 พบว่า อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีรายได้เฉลี่ย 172,747.24 บาท หนี้สินคงค้างเฉลี่ย 235,938.65 บาท ทั้งนี้ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่จะได้รับข่าวสารทางด้านเกษตรผ่านทางสื่อบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ด้านเกษตร และเพื่อนบ้าน เป็นต้น โดยจะมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เฉลี่ย 3.59 ครั้ง ต่อ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีความต้องการการฝึกอบรมตามบทบาทหน้าที่ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.24) โดยต้องการหลักสูตรที่เน้นความรู้เรื่องเกี่ยวกับ ด้านการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกษตรภายในหมู่บ้าน (X ̅ = 2.42) และการติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้านและรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (X ̅ = 2.32) นอกจากนี้อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านยังมีความต้องการการฝึกอบรมนอกเหนือจากบทบาทหน้าที่ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.19) ซึ่งเน้นไปที่หลักสูตรการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกวิธี (X ̅ = 2.45) การผลิตและการใช้สารชีวะภัณฑ์ในการเกษตร (X ̅ = 2.36) และหลักการตลาดสินค้าเกษตร (X ̅ = 2.32) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความต้องการ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดพะเยา ได้แก่ ตำแหน่ง ทางสังคม และระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ เชิงลบต่อความต้องการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดพะเยา คือ อายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันสร้างสมการพยากรณ์ได้ร้อยละ 29.20 จากการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดพะเยา พบว่า อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่ขาดการสนับสนุนปัจจัยและงบประมาณในการทำงาน เกษตรกรในพื้นที่ไม่ทราบถึงบทบาทการทำงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ทั้งนี้อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านได้มีข้อเสนอแนะต่อการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ควรมีค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยง เบี้ยประชุม และค่าเดินทาง สำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ควรมีการติดต่อ พบปะ และจัดให้มีการประชุมร่วมกับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านบ่อยครั้งขึ้น รวมไปถึงควรเพิ่ม การประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านให้เกษตรกรได้รับรู้อย่างทั่วถึงen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620832007พงศ์ศิริ ตารินทร์.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.