Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69009
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.พนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorฐิติภรณ์ เสาร์คำen_US
dc.date.accessioned2020-07-22T02:29:22Z-
dc.date.available2020-07-22T02:29:22Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69009-
dc.description.abstractThe independent study titled, “Users’ Acceptance Level of CMU e-Document Systems in Chiang Mai University” aimed at analyzing 1) the level of users acceptance towards CMU e-document systems in Chiang Mai University, 2) the factors affecting acceptance behaviors of CMU e-document systems users towards CMU e-document systems in Chiang Mai University, and 3) problems along with recommendations and guidelines for developing the CMU e-document Systems of Chiang Mai University. The researcher collected data from the samples, which were 103 filing clerks and clerical officers of 53 faculties and sectors under Chiang Mai University who were responsible for taking care of the e-document systems, receiving documents, and transferring documents to other users in the system. The issues for questions were specified regarding the Unified Technology Acceptance and Use of Technology (UTAUT) model of Venkatesh, Davis and Morris (2003). The tool used in the study was a questionnaire surveying the level of acceptance of users towards e-document systems in Chiang Mai University. Data were collected by using statistical analysis programs and descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation. Moreover, inferential statistics such as simple regression analysis, independent-samples T-Test, and one-way ANOVA were used with a statistical significance level of 0.05. From the results, it can be concluded that acceptance levels towards e-document systems of users in Chiang Mai University were at a high level. The factors affecting users’ acceptance behaviors were experience, voluntariness, performance expectancies, effort expectancies, social influences and facilitating conditions. However, sex and age did not affect their behaviors. In terms of problems in e-document system operation, most of the users found that the procedure was so complicated and difficult that they did not know how to operate the systems. Therefore, it was suggested that e-document systems should be improved first for easier usability.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleระดับการยอมรับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeUser’s Acceptance Level of CMU e-Document Systems in Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้าน สารบรรณ/ธุรการของคณะและส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้มีสิทธิดูแลระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของแต่ละส่วนงานในการเปิดรับเอกสารที่เข้ามายังหน่วยงาน และส่งเอกสารไปยังผู้ใช้งานในระบบคนอื่น ๆ จำนวน 53 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 103 คน และได้กำหนดประเด็นคำถามตามแบบจำลองทฤษฎีรวมของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยี (A Model of Unified Technology Acceptance and use of Technology: UTAUT) ของ Venkatesh Davis and Morris (2003) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามระดับการยอมรับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ทางสถิติ และการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent-Samples T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ระดับการยอมรับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการยอมรับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ประสบการณ์ ความสมัครใจในการใช้งาน ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม อิทธิพลของสังคม และสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งมีผลต่อความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมการใช้และพฤติกรรมการยอมรับการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่เพศและอายุไม่มีผลต่อความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรม การใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของปัญหาอุปสรรคในการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่พบมากที่สุด คือ ขั้นตอนการใช้งานมีความซับซ้อน ยุ่งยาก ผู้ใช้ไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังนั้น ข้อเสนอแนะอันดับแรกที่ควรแก้ไข คือ ควรปรับปรุงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.