Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45890
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorรุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorอรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง-
dc.contributor.authorวธัญญู พัฒชะนะen_US
dc.date.accessioned2018-03-21T08:55:53Z-
dc.date.available2018-03-21T08:55:53Z-
dc.date.issued2557-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45890-
dc.description.abstractThis research of the factors affecting moral support in task performance of sub-district volunteer soil technicians in Chiang Mai Province aims to (1) to study the performance of morale of sub-districtvolunteer soil technicians in Chiang Mai Province (2) to study the factors that affect morale of sub-districtvolunteer soil technicians in Chiang Mai province to improve motivation. (3)to study supporting from various sectors to promote the morale of sub-districtvolunteer soil technicians in community. The population in this study is135 sub-districtvolunteer soil technicians in Chiang Mai province. Data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation, maximum and minimum. The hypothesis was tested by analyzing relationship between several independent variables and dependent variable with multiple regression analysis. The socioeconomic study found that most farmers were male within the age-range of 51 to 60 years, and had finished education at the primary level.Most of the farmers were married and worked as sub-district volunteer livestock. They had 1-10 rai of farm area. Most of them were merchant and had income between 30,000 - 50,000 baht from farming and less than 20,000 baht from non-agricultural job. Farmers who were in debt took on loan from Bank of Agriculture. They had work experience of sub-district volunteer soil technicians more than 11-15 years. Sub-districtvolunteer soil technicians expressed their opinion on moral support in task performance of sub-districtvolunteer soil technicians in Chiang Mai province at high level. From this study, factors affecting moral support in task performance were divided into 2 main points: supporting factor and motivating factor. For supporting factor, there were 2 issues that sub-districtvolunteer soil technicians were strongly agree; command and relationships with colleagues. For motivating factor, there were 3 issues that sub-districtvolunteer soil technicians were strongly agree;success in work, to be respected and work in progress. The job satisfactions of sub-district volunteer soil technicians were high. They needed more operation support from agencies. According to factors affecting moral support in task performance of sub-district soil technician volunteers in Chiang Mai provinceregarding to all 11 factors, the statistically significance was found in 4 factors. In terms of relationship between colleagues, life progression, and work satisfaction were significantly at 0.01 level while work achievement was significantlyat 0.05 level. Suggestions to increase moral support or satisfaction in task performance of sub-district soil technician volunteerswereproviding of monthly compensation, study tour or excursionsand attend Vetiver planting project to resale to the Soil Development Office for more income.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectขวัญกำลังใจen_US
dc.subjectการปฏิบัติงานen_US
dc.subjectหมอดินอาสาen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Moral Support in Task Performance of Sub-districtVolunteer Soil Technicians in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc631.49-
thailis.controlvocab.thashกรมพัฒนาที่ดิน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์ดิน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashความพอใจในการทำงาน -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 631.49 ว1411ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ และ(3) เพื่อศึกษาความต้องการการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆของหมอดินอาสาในการส่งเสริมขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ หมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 135 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระหลายตัวกับตัวแปรตามใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple RegressionAnalysis) จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของหมอดินอาสาพบว่า หมอดินอาสาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 51 - 60 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรสส่วนใหญ่มีตำแหน่งทางสังคมเป็นอาสาพัฒนาปศุสัตว์ถือครองพื้นที่1-10 ไร่ มีอาชีพค้าขายเป็นอาชีพหลัก และอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพเสริมมีรายได้จากภาคเกษตรอยู่ ระหว่าง 30,000 - 50,000 บาท มีรายได้นอกภาคการเกษตรต่ำกว่า 20,000 บาท หมอดินอาสาผู้มีหนี้สินจะกู้ยืมมาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มียานพาหนะเป็นจักรยานยนต์ และระยะเวลาปฏิบัติงานของหมอดินอาสาส่วนใหญ่ปฏิบัติงานมาแล้ว 11-15 ปี หมอดินอาสามีความคิดเห็นต่อระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยสนับสนุนในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ศึกษาแบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยจูงใจ ผลการศึกษาพบว่า ทั้งปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจ มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมของหมอดินอาสาอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อดูในประเด็นย่อยของแต่ละปัจจัย พบว่า ส่วนของปัจจัยค้ำจุน หมอดินอาสาเห็นด้วยอย่างยิ่งใน 2 ประเด็น คือ การบังคับบัญชา และสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานและหมอดินอาสามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย 2 ประเด็น คือนโยบายและการบริหาร และสภาพการทำงาน ส่วนของปัจจัยจูงใจ หมอดินอาสามีระดับความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง3 ปัจจัย คือ ความสำเร็จในงานที่ทำ การได้รับการยอมรับนับถือ และความก้าวหน้าในงาน และหมอดินอาสาเห็นด้วย2 ปัจจัยคือ ลักษณะของงานที่ทำและความรับผิดชอบ ส่วนความพึงพอใจในงาน พบว่า หมอดินอาสามีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก ด้านความต้องการการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆในการปฏิบัติงาน พบว่า หมอดินอาสามีระดับความต้องการโดยรวมที่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ในบรรดาปัจจัยทั้ง 11ปัจจัยมีปัจจัยจำนวน 4ปัจจัย ที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ความก้าวหน้าในชีวิต และความพึงพอใจในงานของหมอดินอาสา และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ความสำเร็จในงาน ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการสร้างขวัญกำลังใจหรือความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ควรมีการจ่ายค่าตอบแทนให้หมอดินอาสาในลักษณะเดียวกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) มีการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาหรือดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหมอดินอาสาและการสนับสนุนให้หมอดินอาสาเข้าร่วมโครงการปลูกหญ้าแฝกและจำหน่ายคืนให้กับสถานีพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเติมให้หมอดินอาสาอีกทางหนึ่งเป็นต้นen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT234.16 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX404.25 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1160.79 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2262.5 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3262.28 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4659.64 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5288.81 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT214.22 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER597.03 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE251.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.