Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39610
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.บุศรา ลิ้มนิรันดร์ | - |
dc.contributor.advisor | รศ.ดร. รุจ ศิริสัญลักษณ์ | - |
dc.contributor.advisor | อ.ดร. ธนะชัย พันธ์เกษมสุข | - |
dc.contributor.author | เอกราช บุญล้อมรักษ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-09-30T09:56:10Z | - |
dc.date.available | 2016-09-30T09:56:10Z | - |
dc.date.issued | 2014-12 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39610 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were to study1) factors affecting practices on good agricultural practices (GAP) of coffee growers in Pa Paesub-district, Mae Taengdistrict, Chiang Mai province 2) relationshipofthosefactors such as personal factors, economic factors and social factors on farming practices by the GAP regulation and 3) problems, obstacles and recommendations towards the GAP of coffee growers in Pa Pae sub-district, Mae Taeng district, Chiang Mai province. The research samplings were150 coffee growers in Pa Pae sub-district, Mae Taeng district, Chiang Mai province.Datawere collected by interviewed questionnaires and analyzed by descriptive statisticssuch as percentage, mean average, minimization, maximization, standard deviation and Pearson’s coefficientcorrelationproduct moment The results showed that most of the growers were male averaged 49 years of age with educational background lower than the prathom level. Marital Status were married ,land holdiy area 11-30 Rai and cultivated coffee area lower 10 Rai, the household income was53,420.64 baht per year, the experience on coffee growing was 6-10 years. The coffee growers have been trained and receivrd practical knowledge fram excursions on GAP. Also, they regulary contact agricultural extensionists. However, the most of the coffee growers sold their products by themselves. The coffee growing was practiced on the upland condition by growing coffee after harvesting Assam tea.The growers basicly selected Arabica coffee varieties and types. For the practice and production controlling, the growers were protected clothing such as masks, hand-gloves, hats and shoes to prevent any hazardous toxic substances, pesticides application were directly followed recommendations.The research found that the growers harvested mature coffee, where they dried coffee were well-ventilated places and always kept these areas clean. Most of the growers had never recorded the planting dates and also the spreading date of pests and diseases. However, the growers had recorded details on fertilizers application, chemical usages, quantity of coffee produces andreturns from coffee selling. Hypothesis test resulted that the factors which significantly related to the practical works of the growers who followed the regulations on Good Agricultural Practice for coffee were;knowledge and understanding on Good Agricultural Practice regulation such as the participation in technical training completed (GAP), cultivated coffee area field trip study (GAP), contact with agricultural extension officer and the experience on coffee growing. Problems obstacles and recommendations, most of the growers lacking of knowledge about quality management in coffee producing process and after harvesting process such as integrated pest management, exploring pest infestation, dried coffee bean places, drying coffee beans, getting rid of parts of coffee tree as well as diseased beans and recording the good agricultural practices for coffee correctly. Therefore, the suggestion farm thereseach, public and private sectors should cooperate in order to find the solution for the problems and obstacles of the coffee growers. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมของผู้ปลูกกาแฟในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Factors Affecting Practices on Good Agricultural Practices of Coffee Growers in Pa Pae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมของผู้ปลูกกาแฟในตำบลป่าแป๋อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่2)เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคมที่มีผลต่อการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมของผู้ปลูกกาแฟ ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับกาแฟของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟใน ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 150 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาปีที่ 4สถานะภาพสมรส มีพื้นที่ถือครองอยู่ระหว่าง 11-30ไร่ มีพื้นที่สำหรับปลูกกาแฟน้อยกว่า 10ไร่ มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 53420.64 บาทต่อปี มีประสบการณ์การปลูกกาแฟอยู่ระหว่าง 6-10 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตเองโดยมีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิต เคยผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบหลักการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมมีประสบการณ์ดูศึกษางานทางด้านระบบหลักการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมและมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผลการศึกษาความรู้และความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับกาแฟอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 61.47) การปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับทางการเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับกาแฟ พบว่า เกษตรกรมีการปลูกกาแฟบนพื้นที่เนินโดยจะปลูกเมี่ยงก่อนและปลูกกาแฟตาม มีการคัดเลือกประเภทและชนิดพันธุ์โดยจะใช้สายพันธุ์อะราบิก้าการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรพบว่า เกษตรกรมีการใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลากกำกับและมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากาก หรือผ้าปิดจมูก ถุงมือ หมวก และสวมรองเท้าส่วนด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่า เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลกาแฟที่มีความสุกแก่ในระยะที่เหมาะสมสถานที่ตากผลกาแฟสะอาดมีอากาศถ่ายเทสะดวก มีการรักษาความสะอาดสถานที่ตากผลกาแฟเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการจดบันทึกข้อมูลวันปลูก วันที่ศัตรูระบาด แต่มีการจดบันทึกการใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมี ปริมาณผลผลิตกาแฟและรายได้จากการขายผลผลิตกาแฟ ผลการทดสอบสมมุติฐานพอว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติการเกษตรดีที่เหมาะสมของผู้ปลูกกาแฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ด้านความรู้และความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับกาแฟ ได้แก่ ประสบการณ์การฝึกอบรม(GAP) พื้นที่ปลูกกาแฟ การศึกษาดูงาน(GAP) และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และด้านประสบการณ์การปลูกกาแฟ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญเกษตรกรในพื้นที่ยังขาดความรู้ในระบบการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกาแฟคุณภาพในด้านการจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตและหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานการสำรวจการเข้าทำลายของศัตรูพืช สถานที่ตากเมล็ดกาแฟเพื่อลดความชื้น การลดความชื้นของผลกาแฟ กำจัดส่วนของต้นกาแฟรวมทั้งผลร่วงที่เป็นโรคการจดบันทึกการปฏิบัติงานตามเกษตรกรดีที่เหมาะสมสำหรับกาแฟอย่างถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรมีการร่วมกันดำเนินงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของเกษตรกรโดยเฉพาะ | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 54.24 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 302.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.