Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39494
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รศ.ดร.ศศิเพ็ญ พวงสายใจ | - |
dc.contributor.advisor | รศ.พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์ | - |
dc.contributor.author | อิศราวุฒิ บุญไตรย์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-08-15T08:42:41Z | - |
dc.date.available | 2016-08-15T08:42:41Z | - |
dc.date.issued | 2558-04 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39494 | - |
dc.description.abstract | This study on people’s quality of life aimed to explore the socio-economic conditions and quality of life of people living in semi-urban area outside housing estate zone in Tambon Pa Dad, Mueang District, Chiang Mai Province. It covered 400 residents in such locality. The needed information was collected by questionnaire survey for descriptive statistics analysis in terms of arithmetic mean and percentage. The majority of the people under study were characterized as male, 25 – 45 years old, married, with educational attainment not higher than primary school level, engaged primarily in such petty trading occupation as running food shop and grocery shop. In most cases, they had never worked in agriculture. Those few persons who used to do farming in the past also changed their occupation most commonly into trading at present. On socio-economic conditions, the study found that more than half of the people in this semi-urban area were long time local residents. The average personal income was about 12,500 baht per month with some variation across occupations such as 15,200 baht for government worker, 14,500 baht for business company employee, 13,500 baht for trading, and 9.900 baht for independent worker. On the average, each person shouldered a debt burden of 281,000 baht most commonly from the purchase of automobile and motorcycle. The residents in this semi-urban area in most cases owned the land and house they lived in. In general, they and their household members participated in such community group as women development group and village fund as well as took part in various religious activities, community merit making, and cultural events, and also attended village community meeting and joined activities organized by local government like the Municipality Office. The overall quality of life was considered to be at moderate level. The quality of life in social aspect received the highest average score, followed by that in environmental, health, economic, and employment aspect in descending order. Specifically, the quality of life in social aspect was attributable to people’s relationship and bond with family institution, local community, peer group, and workplace, and to their feeling that they had equal opportunity for self-development. The quality of life in terms of environment was partly affected by the presence of water and air pollutions. The quality of life in health dimension was positively enhanced by the appropriate leisure time and activities that people enjoyed but negatively affected by alcohol drinking and cigarette smoking behaviors of some people. The quality of life from economic perspective appeared not so satisfactory as people had to spend high proportion of their income for the cost of living. The quality of life at workplace or in occupation received the lowest average score. This is because, despite the presence of safety in workplace, most people in the present study were either self-employed in trading/vending business or wage worker and thus were not included in the national social welfare system. Furthermore, these kinds of employment are not so secured making the self-employed or the wage workers have to struggle for more income probably by working more hours, and consequently making them have less opportunity to take part in occupational training for human resource development. On the level of quality of life, this study found that 33.0 % of the sampled people living in semi-urban area of Chiang Mai Province had high level of quality of life, 62.2 % had modest degree of life quality, and the remaining 4.8 % lived with poor quality of life. To improve the overall quality of life of people living in this semi-urban area, it is imperative that certain human behaviors be changed and certain government supports be provided. In the economic aspect, these people should spend less out of their existing income and should acquire housing of their own. In terms of employment, they should seek more secured job with secured income, get adequate labor welfare, and receive occupational training. The social quality of life can be further improved by people participating more in community activities. The quality of life in environmental perspective can be elevated if air, water, and noise pollutions in the local area can be lowered or eliminated. Meanwhile, the quality of life from health factor can be better if people can keep themselves free from chronic illness, maintain a good eating habit, and do regular physical exercise. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | en_US |
dc.title | คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท | en_US |
dc.title.alternative | Quality of life of people living in Semi-urban areas | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 614 | - |
thailis.controlvocab.thash | คุณภาพชีวิต | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว 614 อ387ค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจสังคม และระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่นอกเขตหมู่บ้านจัดสรร ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณา ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษา พบว่าประชาชนที่อยู่ในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบทส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-45 ปี สมรสแล้ว มีการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา มีอาชีพหลักคือค้าขาย เช่น ขายอาหาร ร้านขายของ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยประกอบอาชีพเกษตรกร และผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรในอดีต ปัจจุบันเปลี่ยนมาประกอบอาชีพค้าขายมากที่สุด สถานะความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท พบว่า ประชาชนกว่าครึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่เดิมในพื้นที่ มีรายได้รวมประมาณ 12,500 บาทต่อเดือน โดยอาชีพข้าราชการมีรายได้ 15,200 ต่อเดือน พนักงานบริษัท 14,500 บาทต่อเดือน ค้าขาย 13,500 บาทต่อเดือน และรับจ้างอิสระ 9,900 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้สินรวมเฉลี่ย 281,000 บาท โดยเป็นภาระหนี้สินที่เกิดจากการซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์มากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่มีการครอบครองที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน เช่น กลุ่มพัฒนาสตรี กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน มีการร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ เช่น ทำบุญ งานประเพณีสำคัญต่างๆ และมีการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนบ้าง เช่น การประชุมหมู่บ้าน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่จัดโดยเทศบาล ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคุณภาพชีวิตด้านสังคมมีระดับคะแนนมากที่สุด รองลงมาคือคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านการทำงาน ตามลำดับ คุณภาพชีวิตด้านสังคม พบว่า ประชาชนมีความสัมพันธ์และผูกพันกับสถาบันครอบครัว ชุมชน กลุ่มสมาคม และที่ทำงาน และยังรู้สึกว่ามีความเท่าเทียมกันในการพัฒนาตนเอง คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ และมลภาวะทางน้ำอยู่ คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอนามัย พบว่า ประชาชนมีการพักผ่อนที่เหมาะสม แต่ยังมีบางคนมีการดื่มสุราและสูบบุหรี่ คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนมีสัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้มาก ทำให้คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจไม่ดีเท่าที่ควร คุณภาพชีวิตด้านการทำงาน พบว่า ประชาชนมีความปลอดภัยในการทำงาน แต่จากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้าง จึงไม่อยู่ในระบบสวัสดิการสังคม อีกทั้งงานที่ทำจึงยังไม่มั่นคง และยังต้องดิ้นรนเพื่อหาทางทำมาหากิน อาจใช้เวลาทำงานมาก จึงได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพน้อย ทำให้คุณภาพชีวิตด้านการทำงานเป็นคุณภาพชีวิตที่ด้อยที่สุด เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามระดับคุณภาพชีวิตแล้ว พบว่า ร้อยละ 33.0 มีคุณภาพชีวิตในระดับมาก ร้อยละ 62.2 มีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง และร้อยละ 4.8 มีคุณภาพชีวิตในระดับน้อย ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตในระดับมาก ทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การที่มีสัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้ต่อเดือนลดน้อยลง การมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ในด้านการทำงาน ได้แก่ การมีงานทำที่มั่นคงและมีรายได้แน่นอน การได้รับสวัสดิการอย่างเพียงพอ และการได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาการทำงาน ด้านสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกลุ่มในชุมชนและกลุ่มอาชีพ ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ การที่ไม่มีมลภาวะทางน้ำ ทางอากาศ และทางเสียงในพื้นที่ที่อยู่อาศัย และด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่ การไม่มีโรคประจำตัว ทานอาหารตรงเวลา และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.docx | Abstract (words) | 63.75 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 241.89 kB | Adobe PDF | View/Open |
full.pdf | Full IS | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.