Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39469
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorภาวินี อินทร์ศรีen_US
dc.date.accessioned2016-07-27T09:11:36Z-
dc.date.available2016-07-27T09:11:36Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39469-
dc.description.abstractThis independent study titled, “Personnel Expectations towards Establishment of the Center for Reconciliation in Chiang Mai University.” aimed at surveying 1) opinions about the structure and operation of the Center for Reconciliation of Chiang Mai University, 2) personnel expectations towards the benefits of establishing the Center for Reconciliation of Chiang Mai University, 3) knowledge and understand of the personnel in Chiang Mai University about settling a dispute, and 4) suggestions about the guidelines, patterns, and operation of the Center for Reconciliation of Chiang Mai University. This quantitative study collected data from 400 personnel of Chiang Mai University by using questionnaires. The results were concluded as follows. The personnel in Chiang Mai University mostly agreed with the structure and operation of the Center for Reconciliation of Chiang Mai University, as in the following : it should be an independent entity, the administration committee are responsible for creating and controlling policies, professors and staff who passed the reconciliation course take the role of the conciliators, there are not over three conciliators in a team, and the agreement is made after the reconciliation is successful to end the problem. In terms of the personnel expectations towards establishment of the Center for Reconciliation in Chiang Mai University, it was found that the samples had high expectations. They expected that reconciliation can bring about a resolution which satisfies both sides and helps to end the conflict faster. Reconciliation also helps both sides to save the costs of making a prosecution with the administrative court in the normal procedure. Moreover, it helps shorten the procedure and lessen the number of disputes presented to the appeal committee and the university. Furthermore, both sides can reunite and reform good relationships with each other. In terms of knowledge and understanding of the personnel, it was revealed that they had a high level of knowledge and understanding about reconciliation. However, the relationship between their knowledge and understanding and expectations towards the establishment of the Center for Reconciliation was at a low level. Therefore, roles, duties, authorities, operations, along with benefits of establishing the Center for Reconciliation at Chiang Mai University should be publicized so that it will be widely known and more people realize its benefits.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความคาดหวังของบุคลากรต่อการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย และสมานฉันท์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeExpectations of Personnel for the Establishment of Mediation and Reconciliation Center in Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง ความคาดหวังของบุคลากรต่อการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ โครงสร้าง และวิธีการดำเนินงานศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) เพื่อสำรวจความคาดหวังของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท 4) เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทาง รูปแบบ และวิธีการดำเนินงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 400 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความเห็นด้วยค่อนข้างมาก ต่อโครงสร้างและวิธีการดำเนินงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ของมหาวิทยาลัยที่ได้กำหนดรูปแบบไว้ เช่น ควรเป็นองค์กรอิสระ มีคณะกรรมการบริหารศูนย์เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดและกำกับนโยบาย ผู้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยมาจากอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยมาแล้ว ทีมผู้ไกล่เกลี่ยประกอบด้วยผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยไม่เกิน 3 ท่าน และหลังการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นที่พอใจให้ทำการตกลงระงับข้อพิพาทโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้เรื่องยุติต่อไป เป็นต้น ความคาดหวังของบุคลากรต่อการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังค่อนข้างมาก โดยคาดหวังว่า การใช้วิธีการไกล่เกลี่ยสามารถทำให้ได้ข้อยุติเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย และยังสามารถทำให้ความขัดแย้งหรือข้อพิพาทของคู่กรณียุติลงได้เร็วขึ้น รวมทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายของคู่กรณีที่จะต้องทำการร้องเรียนหรือฟ้องร้องคดีสู่ศาลปกครองตามกระบวนการปกติ นอกจากนี้ ยังช่วยลดขั้นตอนและลดปริมาณข้อพิพาทที่จะมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ของมหาวิทยาลัยลง และสามารถประสานความขัดแย้งของคู่กรณีให้กลับคืนดีกันและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันใหม่ได้ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท พบว่ามีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก แต่ความรู้ความเข้าใจกลับมาสัมพันธ์กับความคาดหวังของบุคลากรต่อการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาท อำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน ตลอดจนประโยชน์ของการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจัดตั้งขึ้นให้แพร่หลายมากขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้และมองเห็นถึงประโยชน์ของการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวมากขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)173.86 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract240.73 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS2.48 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.