Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39387
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รศ.ดร.ศศิเพ็ญ พวงสายใจ | - |
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.วรลักษณ์ หิมะกลัส | - |
dc.contributor.author | ศรัญญา อินต๊ะวงค์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-07-12T09:21:49Z | - |
dc.date.available | 2016-07-12T09:21:49Z | - |
dc.date.issued | 2558-12 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39387 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this study are to examine the personal background and quality of life in social and economic terms and to understand the preparation for retirement years of the persons still in working ages. The study is confined to 400 samples of working age persons in 40 – 60 year-old bracket who live in Chiang Mai Province. The samples comprise two groups which are further distinguishable into different occupational categories. The first group includes 96 samples of those in welfare system which can be separated into 21 samples of persons employed in state sector as civil servants and workers in government agencies and state enterprises and 75 samples of employees in private companies and those in and outside agricultural sector. The second group consists of 304 samples of persons that are not in welfare system which can be set apart as 87 samples of individuals in trading profession, 207 samples of farmers, and 10 samples of owner-operators. The analysis was based on the results of descriptive statistics including frequency, arithmetic mean, and percentage. As a whole, the majority of samples under study are characterized as female, 51 years old on the average, married, with primary school education, engaged in farming, living with spouse in one’s own home, earning averagely 25,000 baht monthly income, and spending on the average 12,000 baht per month. Most of them indicated that they did not hold any social position and that their quality of life in both social and economic terms was considered moderately good. About their private life after retirement, they planned to live in their own home mostly with spouse or their offspring. In preparing for income after retirement, they generally expected to get financial assistance from their children and planned to make money on their own by engaging in secondary occupation. Regarding savings for old age security, most of them made saving deposit with commercial banks. To prepare for health care after retirement, the samples generally indicated they would use the services provided by the state as well as depend on their own selves to spend for it. In the group with welfare benefits after retirement, most samples can be described as being female, 50 years old on the average, married, holding bachelor’s degree, having one’s own home, earning averagely 35,000 baht monthly income, and spending 13,000 baht per month on the average. Those who are employed in state sector generally have higher income than those employed in business sector, however. Most samples in this group held no social position in the local community, except a few individuals in the category of private company employee that joined the housewives’ group and served as assistant to village headman. The quality of life both in social and economic aspects of persons in this group was measured to be at the moderate level on the average. With respect to preparation for retirement years in terms of private life, most samples planned to live in their own home and alone. For income, they would take up secondary occupation after their retirement. About savings, virtually all samples had already made savings with commercial banks. To prepare for old age health care, most of them would use their entitlement to social welfare benefits or otherwise would spend out of their savings for health and medical cares. In the group without formal welfare benefits after retirement, the majority of samples were found to be female, 52 years old on the average, married, with primary school education, having one’s own home, earning averagely 22,000 baht monthly income, and spending 12,000 baht per month on the average. Those in the categories of traders and farmers appeared to have lower monthly income than those owner-operators. Compared with the first group, more and in fact most people in this group participated in local community affairs. The quality of life in economic terms of persons in all employment categories was considered moderately good. About the preparation for retirement years in terms of private life, most samples indicated they would remain living in their own home with spouse or offspring. For old age income, they generally expected to get financial assistance from their children. Regarding savings for old age spending, most of them had already saved their money in commercial banks. In preparation to get health care services after retirement, they would get access to government benefits provided under the universal health coverage scheme for Thai nationals as well as spending out of their savings for health care and medical treatments if needed. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุของคนวัยทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Preparation for Ageing of Working-Age Workforce in Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพ และคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณอายุของคนวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่าง จากกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยแยกเป็นกลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มในระบบสวัสดิการ จำนวน 96 ตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพรับราชการ ลูกจ้างของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 21 ตัวอย่าง กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน และลูกจ้างนอกภาคการเกษตร หรือในภาคการเกษตร จำนวน 75 ตัวอย่าง และกลุ่มนอกระบบสวัสดิการจำนวน 304 ตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพค้าขาย จำนวน 87 ตัวอย่าง กลุ่มอาชีพเกษตรกร จำนวน 207 ตัวอย่าง และกลุ่มอาชีพเจ้าของกิจการ จำนวน 10 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอในรูปแบบตารางความถี่ แสดงค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว ส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทางการเกษตร ด้านการพักอาศัยส่วนใหญ่อยู่กับคู่สมรสในบ้านของตนเอง มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 25,000 บาทต่อเดือน และรายจ่ายเฉลี่ยประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน ด้านสังคมส่วนใหญ่ไม่มีการดำรงตำแหน่งทางสังคม คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจอยู่ระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง การเตรียมความพร้อมด้านความเป็นอยู่ เมื่อเกษียณอายุจะพักอาศัยบ้านของตนเอง และอาศัยอยู่กับคู่สมรส หรือบุตรเป็นส่วนใหญ่ การเตรียมความพร้อมด้านรายได้ พบว่าแหล่งรายได้ที่จะได้รับในยามเกษียณอายุส่วนใหญ่จะได้รับเงินเลี้ยงดูจากบุตรหลาน และจากการประกอบอาชีพเสริม การเตรียมความพร้อมด้านการออม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ออมเงินในรูปแบบฝากเงินกับธนาคาร และการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ทั้งสวัสดิการจากภาครัฐ และใช้สวัสดิการที่จัดหาขึ้นด้วยตนเอง กลุ่มในระบบสวัสดิการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50 ปี สถานภาพสมรสแล้ว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีบ้านพักของตนเอง มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 35,000 บาทต่อเดือน และรายจ่ายเฉลี่ยประมาณ 13,000 บาทต่อเดือน กลุ่มอาชีพข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จะมีรายได้สูงกว่ากลุ่มอาชีพพนักงานบริษัท หรือลูกจ้างบริษัท ด้านสังคมส่วนใหญ่ไม่มีค่อยดำรงตำแหน่งในชุมชน มีเพียงส่วนน้อยในกลุ่มอาชีพพนักงานบริษัท หรือลูกจ้างบริษัท ที่เข้าร่วมกลุ่มสตรีแม่บ้าน และเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ด้านคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ และสังคม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเตรียมความพร้อมหลังจากเกษียณอายุ พบว่า การเตรียมความพร้อมด้านความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่จะพักอาศัยบ้านของตนเอง และอาศัยอยู่คนเดียวเป็นส่วนใหญ่ การเตรียมความพร้อมด้านรายได้ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเสริม การเตรียมความพร้อมด้านการออม กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีการฝากเงินกับธนาคาร และการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่จะใช้สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม ส่วนสวัสดิการด้านสุขภาพที่จัดหาด้วยตนเอง ส่วนสวัสดิการที่จัดหาด้วยตนเองส่วนใหญ่จะใช้เงินออมของตนเองในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล กลุ่มนอกระบบสวัสดิการ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีบ้านพักของตนเอง มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 22,000 บาทต่อเดือน และรายจ่ายเฉลี่ยประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน กลุ่มอาชีพค้าขาย กลุ่มอาชีพเกษตรกร มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่ากลุ่มอาชีพเจ้าของกิจการ ด้านรายจ่าย กลุ่มอาชีพเกษตรกรมีรายจ่ายต่ำกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ด้านสังคมส่วนใหญ่มีการเข้าร่วมในชุมชนมากกว่ากลุ่มในระบบสวัสดิการ คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ ทุกกลุ่มอาชีพมีคุณภาพชีวิตเฉลี่ยระดับปานกลาง การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยเกษียณ พบว่า การเตรียมความพร้อมด้านความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่บ้านพักของตนเอง และอาศัยอยู่กับคู่สมรสหรือบุตร การเตรียมความพร้อมด้านรายได้ ส่วนใหญ่ได้รับเงินจากบุตรหลาน การเตรียมความพร้อมด้านการออม ส่วนใหญ่มีการฝากเงินกับธนาคาร และการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ สวัสดิการที่ได้รับจากภาครัฐ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนสวัสดิการที่จัดหาด้วยตนเองส่วนใหญ่จะใช้เงินออมของตนเองในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2Abstract.docx | Abstract (words) | 191.78 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 261.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
full.pdf | Full IS | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.