Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/35855
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารธนาคารออมสิน ในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Relationship between transformational leadership and teamworking of management of Government Savings Bank Branch in Chiang Mai Province
Authors: ศิวะวามร, พิรพร
Authors: ศิวะวามร, พิรพร
Keywords: ธนาคารออมสิน;ภาวะผู้นำ--เชียงใหม่;การทำงานเป็นทีม
Issue Date: Jul-2014
Publisher: เชียงใหม่ :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารธนาคารออมสินในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารธนาคารออมสินในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวมรวมข้อมูลที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.949 ได้แก่ แบบสอบถามที่ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นคุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบทดสอบภาวะผู้นำเชิงพหุองค์ประกอบ MLQ-6S (Multifactor Leadership Questionnaires) และแบบวัดระดับการทำงานเป็นทีมที่พัฒนาจากแบบสอบถามการทำงานเป็นทีมของ อารีย์ อุณหสุทธิยานนท์ (2551) ที่สร้างตามแนวคิดของ Romig (1996) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 108 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งระดับผู้ช่วยผู้จัดการ ทำงานมาเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี และมีรายได้ต่อเดือน 30,000 - 50,000 บาท ผู้บริหารของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดเชียงใหม่ มีภาวะผู้นำแบบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับสูง และมีภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบายอยู่ในระดับปานกลาง ระดับภาพรวมของภาวะผู้นำทั้ง 3 กลุ่ม และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมโดยรวมทั้ง 5 ด้าน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.469) กลุ่มผู้นำแบบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และกลุ่มผู้นำแบบปล่อยตามสบาย และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์กับภาพรวมของภาวะผู้นำทั้ง 3 กลุ่มสูงที่สุด (r = 0.875)และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมด้านการติดต่อสื่อสารต่ำที่สุด (r = 0.331) กลุ่มผู้นำแบบแลกเปลี่ยน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มผู้นำแบบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และกลุ่มผู้นำแบบปล่อยตามสบายและมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมทุกด้านโดยมีความสัมพันธ์กับภาพรวมของภาวะผู้นำทั้ง 3 กลุ่มสูงที่สุด(r = 0.830) และมีความสัมพันธ์กับผู้นำแบบปล่อยตามสบายต่ำที่สุด (r = 0.235) กลุ่มผู้นำแบบปล่อยตามสบาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มผู้นำแบบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและกลุ่มผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมด้านการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเพียงด้านเดียว โดยมีความสัมพันธ์กับภาพรวมของภาวะผู้นำทั้ง 3 กลุ่มสูงที่สุด (r = 0.683) และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมด้านการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องต่ำที่สุด (r = 0.237) ระดับภาพรวมของภาวะผู้นำทั้ง 3 กลุ่ม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มผู้นำแบบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กลุ่มผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และกลุ่มผู้นำแบบปล่อยตามสบายและมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้นำแบบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูงที่สุด (r = 0.875) และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมด้านการติดต่อสื่อสารต่ำที่สุด (r = 0.316)
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/35855
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT206.13 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX315.04 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1262.74 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2381 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3322.31 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.36 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5355 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT273.81 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER399.82 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE193.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.