Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/209
Title: มุมมองในทางกฎหมายเกี่ยวกับการรบกวนความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง : ศึกษากรณีการเฝ้าตามหลังการถูกตัดความสัมพันธ์
Other Titles: Legal opinions on the violation of Lampang Rajabhat University Students' privacy rights : a case study of stalking after the termination of a relationship
Authors: ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช
Authors: สมชาย ปรีชาศิลปกุล
ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช
Issue Date: Jun-2555
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555
Abstract: การวิจัยเรื่อง ”มุมมองในทางกฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลของนักศึกษามหาวิททยาลัยราชภัฎลำปาง : ศึกษากรณีการเฝ้าตามหลังการถูกตัดความสัมพันธ์” มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อให้ทราบมุมมองในทางกฎหมายกับการรบกวนความเป็นส่วนตัวของบุคคลของนักศึกษามหาวิททยาลัยราชภัฎลำปาง ในกรณีการเฝ้าตามหลังการถูกตัดความสัมพันธ์และ 2. เพื่อเสนอแนวทาง/มาตรการในทางกฎหมายเกี่ยวกบความผิดฐานเฝ้ าตามโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคปกติ โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ถามความคิดเห็นจากการอ่านเรื่องสมมติสั้น ๆ (vignette) ส่วนที่ 2 ถามเกี่ยวกับประสบการณ์ถูกเฝ้าตาม นอกจากนั้น ยังได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ความเห็นของนักกฎหมาย และผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาร้อยละ 24.41 เคยมีประสบการณ์ถูกเฝ้าตาม โดยผู้หญิงถูกตามมากกว่าผู้ชาย และผู้เฝ้าตามเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนมาตรการความช่วยเหลือที่ผู้ถูกเฝ้าตามต้องการจากรัฐได้แก่ (1) บริการให้คำปรึกษา (2) ศูนย์ให้ความช่วยเหลือ (3) ให้ผู้เฝ้าตามได้รับการประเมินสภาพทางจิตหรือการบำบัดรักษาตามลำดับ และพบว่าเพศมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติกบระดับความกลัว การตัดสินใจว่าพฤติกรรมการเฝ้าตามควรเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และการตัดสินใจดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนั้น ความกลัวยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการ ลงความเห็นว่าพฤติกรรมการเฝ้าตามผิดกฎหมาย การรับรู้เกี่ยวกับการเฝ้าตามของนักกฎหมายและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางสะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนมายาคติเกี่ยวกับการเฝ้าตาม อาทิ การเฝ้าตามเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นเรื่องของคนโรคจิต และข้ออ้างเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมของไทยที่จะเป็นอุปสรรคในการบัญญัติกฎหมายนี้ตามแบบประเทศตะวันตก ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยในการบัญญัติความผิดฐานเฝ้าตามไว้ในประมวลกฎหมายอาญาคือ ควรมีการกำหนดนิยามให้ครอบคลุมถึง (1) เจตนา (2) จำนวนครั้งของการกระทำ ซึ่งอาจประกอบด้วย (3) การกระทำในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งมีได้หลายรูปแบบ และ (4) ผลที่อาจก่อให้ ผู้ถูกเฝ้าตามเกิดความหวาดหวัน หรือกลัวหรือก่อให้เกิดความเสียหาย / น่าเชื่อว่ามีพฤติการณ์ที่จะเกิดความเสียหายขึ้นแก่บุคคลผู้ถูกเฝ้าตามหรือครอบครัว (5) บทฉกรรจ์ เช่น กรณีที่พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการมีอาวุธ หรือฝ่าฝืนคำสั่งศาล (6) ข้อยกเว้นว่าการเฝ้าตามโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่รวมถึงการกระทำใด อาทิ ไม่รวมการปฏิบัติการตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ในการพิจารณาความผิดควรใช้เกณฑ์มาตรฐานของผู้หญิงซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำ
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/209
Appears in Collections:SOC: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.