Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80259
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เนตรทอง นามพรม | - |
dc.contributor.advisor | จุฑามาศ โชติบาง | - |
dc.contributor.author | ปราโมทย์ เทพจันทร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-24T18:15:08Z | - |
dc.date.available | 2024-11-24T18:15:08Z | - |
dc.date.issued | 2567-09-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80259 | - |
dc.description.abstract | The nutritional status of preschool children is an indicator of overall health and is a crucial foundation for their development and growth to their full potential. This research aims to: 1) examine the nutritional status of preschool children in the three southern border provinces of Thailand, and 2) investigate the relationship between child-related and caregiver-related factors and the nutritional status of preschool children in these provinces. The sample consisted of 96 caregivers of preschool children, with data collection conducted between January and May 2024. The instruments used for data collection included: 1) a questionnaire on the personal information of the preschool children and their caregivers, 2) a record form of the preschool children's nutritional status, 3) a questionnaire on the dietary behaviors of preschool children, 4) a knowledge assessment for caregivers regarding the nutritional status of preschool children, 5) a questionnaire on caregivers' food preparation behaviors for preschool children in the three southern border provinces, and 6) a questionnaire on caregivers' attitudes towards food consumption for preschool children in the three southern border provinces. Data were analyzed using descriptive statistics and point biserial correlation coefficients. The study revealed that: 1. Regarding the nutritional status of preschool children in the three southern border provinces, 64.6% of the sample had normal nutritional status. 2. There was a statistically significant positive relationship between the dietary behaviors of preschool children and their nutritional status in the three southern border provinces (rpb = .378, p < .01). 3. Caregivers’ knowledge of preschool children's nutrition was positively associated with the nutritional status of preschool children in the three southern border provinces, with statistical significance (rpb = .226, p < .05). 4. The food preparation behaviors of caregivers for preschool children were positively associated with the nutritional status of preschool children in the three southern border provinces, with statistical significance (rpb = .203, p < .05). 5. The attitudes of caregivers towards food consumption were negatively associated with the nutritional status of preschool children in the three southern border provinces, with statistical significance (rpb = -.207, p < .05). Therefore, preschool children should be encouraged to adopt healthy eating behaviors through guidance from their caregivers. Caregivers should be equipped with knowledge about the nutritional needs of preschool children, supported in practicing proper food preparation behaviors, and encouraged to develop positive attitudes toward food consumption to help ensure that preschool children maintain a normal nutritional status. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียน | en_US |
dc.subject | เด็กวัยก่อนเรียน | en_US |
dc.subject | 3 จังหวัดชายแดนใต้ | en_US |
dc.subject | Preschool children nutrition | en_US |
dc.subject | Preschool children | en_US |
dc.subject | Three Southern Border Provinces | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ | en_US |
dc.title.alternative | Factors related to nutritional status of preschool children in three Southern border provinces | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การสำรวจภาวะโภชนาการ | - |
thailis.controlvocab.thash | เด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- ไทย (ภาคใต้) | - |
thailis.controlvocab.thash | เด็ก -- โภชนาการ | - |
thailis.controlvocab.thash | เด็ก -- โภชนาการ -- แง่จิตวิทยา | - |
thailis.controlvocab.thash | บริโภคกรรม | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพโดยรวมของเด็ก และเป็นต้นทุนสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเด็กและปัจจัยด้านผู้ดูแลกับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลของเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 96 คน เก็บข้อมูลอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กวัยก่อนเรียนและผู้ดูแล 2) แบบบันทึกข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยก่อนเรียน 4) แบบวัดความรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับภาวะโภชนการในเด็กวัยก่อนเรียน 5) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดอาหารให้เด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 6) แบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับการบริโภคของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการศึกษาพบว่า 1. ภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบกลุ่มตัวอย่างมีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 64.6 2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = .378, p < .01) 3. ความรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = .226, p <.05) 4. พฤติกรรมการจัดอาหารให้เด็กของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb =.203, p < .05) 5. เจตคติเกี่ยวกับการบริโภคของผู้แลเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.207, p< .05) ดังนั้น เด็กวัยก่อนเรียนควรได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารจากผู้ดูแล ส่วนผู้ดูแลเด็กควรได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดอาหารที่ถูกต้องให้เด็กและส่งเสริมเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการบริโภคของผู้ดูแลเด็กเพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231170. ปราโมทย์ เทพจันทร์. .pdf | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.