Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80184
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเยาวลักษณ์ จันทร์บาง-
dc.contributor.advisorCHUN-I CHIU-
dc.contributor.authorวันระวี แสงอาคมen_US
dc.date.accessioned2024-11-19T00:45:39Z-
dc.date.available2024-11-19T00:45:39Z-
dc.date.issued2024-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80184-
dc.description.abstractThe objectives of this experiment are 1.) to study the suitable survival rate of cigarette beetle (Lasioderma serricorne F.); 2.) to study the responses of food sources of cigarette beetle and 3.) to study insect response to the potential food sources combined with female pheromone and 2-sex pheromone of cigarette beetles. In experiment 1, for the survival rate of insects was conducted in tobacco go down in San Sai district, Chiang Mai province during July 2021 to June 2022. The measurement of go down temperature (indoor) was classified into 3 seasons; summer season (28.24±6ºC) rainy season (27.61±5ºC) and winter season (23.85±7ºC). Then cigarette beetle was examined when fed with food sources as followed; 1.) Virginia tobacco, 2.) Burley tobacco, 3.) Turkish tobacco, 4.) roll you own tobacco (RYO tobacco), 5.) Virginia strip and 6.) Burley strip. The life table of cigarette beetles was analyzed. The net reproductive rate (R0) among the food sources are not significantly different. The potential of high R0 was found in Virginia tobacco which is higher than in Turkish and Burley. In summer time, it showed higher R0 than in rainy and winter time. The mean of generation time or T value which shows time for increasing insect population took longer in winter season than in rainy and summer season. The intrinsic increase rate (r) and finite rate of increase (λ) which presented the increasing of population in each time were higher than in rainy and winter seasons. Cigarette beetle spent time for population doubling in summer season shorter than in rainy and winter season. In another word, the cigarette beetle spends shorter time in each food source to increase double population in summer. The age specific survival rate, rate of insect hatching from egg and developing to further stage or lx of cigarette beetle was highest in Turkish tobacco in winter season, Virginia and Burley in summer season (80 days) while in the rainy season the survival rate of RYO tobacco and Burley tobacco was low (40 days). For the age of specific fecundity or mx which is the average number of eggs in entire of population, the cigarette in rainy season fed on Virginia tobacco strip starts to lay egg earlier in day 20 followed by the Burley tobacco strip = Roll Your Own tobacco (day 30) <Turkish tobacco =Burley tobacco and Virginia tobacco (day 40). In summer, cigarette beetles develop themselves faster in Virginia tobacco (20 days) and slower in rainy season (40 days) while in the winter season insect slowly developed for 60 days. In the experiment 2, the response of cigarette beetle to food baits were done in laboratory using olfactometer and the Excess-proportion indexes (EPI) were calculated. Thirteen food baits composed of 1.) Virginia tobacco, 2.) Burley tobacco, 3.) Turkish tobacco, 4.) Virginia tobacco strip, 5.) Burley tobacco strip, 6.) Roll your own (RYO) tobacco, 7.) wheat flour, 8.) parchment coffee, 9.) soybean, 10.) feed corn, 11.) job’s tears, 12.) dried mulberry leaves and 13.) Garlic. The eight-armed airflow olfactometer was conducted in 3 times; 8.00-12.00 (morning), 13.00-16.00 (afternoon) and 18.00-20.00 (evening). Experiment was done for 3 replicates. The results showed that food sources non- significantly attracted cigarette beetles in afternoon with the EPI at 0.88 higher than in morning time at 0.73 and evening at 0.67. The Burley tobacco strip, job’s tear and wheat flour showed potential to be food attractant of cigarette beetles. In the experiment 3, the three food attractants were tested alone and combined with female sex pheromone of cigarette beetles in Y shape olfactometer individually. The result showed that female pheromone combined with food attractants were higher number of insects caught significant difference from pheromone alone. On the other hand, the female pheromone combined with food attractants did not show significant different from 2-sex pheromone alone. In conclusion, cigarette beetles develop their growth well in Virginia tobacco and Turkish tobacco in summer and rainy season but different better from in winter season. The factors of food attractants involved in potential of insect caught in female pheromone traps are not significant from 2-sex pheromone application.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิภาพของเหยื่อล่อที่ใช้ในการดึงดูดมอดยาสูบ (Lasioderma serricorne Fabricius)en_US
dc.title.alternativeAttractiveness efficacy of baits for trapping tobacco beetles (Lasioderma serricorne Fabricius)en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมอด-
thailis.controlvocab.thashยาสูบ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาความเหมาะสมต่ออัตราการรอดชีวิตของมอดยาสูบ(Lasioderma serricorne Fabricius) 2.) เพื่อศึกษาการตอบสนองของมอดยาสูบต่อพืชอาหารที่ใช้เป็นเหยื่อมอดยาสูบ และ 3.) เพื่อศึกษาการตอบสนองของมอดยาสูบต่อเหยื่อล่อมอดยาสูบสูงสุดร่วมกับ ฟีโรโมนเพศเมียเปรียบเทียบกับฟีโรโมนดึงดูดมอดยาสูบ 2 เพศ ในการทดลองที่ 1 การศึกษาความเหมาะสมต่ออัตราการรอดชีวิตของมอดยาสูบ ได้สำรวจและเก็บข้อมูลสภาพอากาศในโกดังจัดเก็บใบยาสูบแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเวลา ในเดือนกรกฎาคม 2564 จนถึงเดือน มิถุนายน 2565 ซึ่งแบ่งช่วงฤดูกาล ตามสภาพอากาศได้เป็น 3 ช่วง ฤดูร้อน (28.24±6 ºC) ฤดูฝน (27.61±5 ºC) ฤดูหนาว (23.85±7 ºC) จากนั้นทดสอบเลี้ยงมอดยาสูบในสภาพดังกล่าวด้วยพืชอาหาร 6 ชนิด ได้แก่ 1.) ใบยาสูบเวอร์ยิเนีย 2.) ใบยาสูบเบอร์เลย์ 3.) ใบยาสูบเตอร์กิช 4.) ยาเส้น (ยาเบอร์เลย์พื้นเมืองหั่นเส้น) 5.) ใบยาสูบเวอร์ยิเนียแยกก้านและอบ และ 6.) ใบยาสูบเบอร์เลย์แยกก้านและอบ โดยการศึกษาตารางชีวิต (life table) ของมอดยาสูบตลอดอายุขัยของแมลงอัตราการเกิดของแมลงในรุ่นถัดไป หรือ the net reproductive rate (R0) พบว่า ค่า R0 ไม่แตกต่าง ทางสถิติ (P > 0) โดยแนวโน้มของ อัตราการให้ลูกในรุ่นถัดไป ในยาสูบเวอร์ยิเนีย มีสูงกว่าในใบยาสูบชนิดอื่น (R0 อยู่ในช่วง 7-21) ในขณะที่ค่า R0 ในใบยาชนิดเตอร์กิชและเบอร์เลย์ไม่แตกต่างกันแมลงเจริญเติบโตในฤดูร้อน และมีแนวโน้มค่า R0 สูงกว่าในฤดูฝนและฤดูหนาว ตามลำดับ มีค่า T หรือ mean generation time หรือช่วงเวลาที่มีอัตราการเพิ่มประชากร ของมอดยาสูบในฤดูหนาวมีระยะเวลา ยาวนานกว่า ฤดูฝนและฤดูร้อนตามลำดับ ส่วนการเพิ่มประชากรในสภาวะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หรือค่า intrinsic increase rate (r) พบว่ามอดยาสูบสามารถเพิ่มประชากรได้ดีกว่าในฤดูร้อนมากกว่า ฤดูฝนและฤดูหนาว ค่าอัตราการเพิ่มขึ้นจำกัด (finite rate of increase) หรือ λ ซึ่งเป็นค่า ที่ระบุว่าแมลงสามารถ เพิ่มปริมาณได้มากเท่าไหร่ในช่วงเวลาแน่นอน ในฤดูร้อนมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับฤดูฝนและฤดูหนาว ในการเพิ่มปริมาณแมลงมอดยาสูบในฤดูร้อนมีแนวโน้ม ใช้เวลาในการเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า คือค่า population doubling time (DT) สั้นกว่าในฤดูฝน และฤดูหนาว หรือกล่าวได้ว่า มอดยาสูบสามารถเพิ่มปริมาณได้ เป็น 2 เท่าในช่วงที่อุณหภูมิที่สูงกว่า ในฤดูร้อน เพราะมีค่า DT ต่ำกว่า ในแต่ละพืชอาหาร ค่า age -specific survival rate หรือ lx หรืออัตราการฟักออกจากไข่และเจริญเติบโต พัฒนาไปเป็นระยะต่อไปในช่วงต่าง ๆ หรืออัตราการรอดชีวิตในช่วงต่าง ๆ ของมอดยาสูบ เมื่อเจริญในอาหารและฤดูกาลที่แตกต่างกัน พบว่าค่า lx ของมอดยาสูบ ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการอยู่รอดของแมลงเป็นไปได้ทั้งฤดูกาล และชนิดของอาหาร อัตราการรอดสูงสุดในใบยาเตอร์กิช ในฤดูหนาว และใบยาสูบเวอร์ยิเนีย และใบยาสูบเบอร์เลย์ในฤดูร้อน (80 วัน) ในขณะที่ฤดูฝน อัตราการรอดของแมลงน้อยกว่า ยาเส้น (ยาเบอร์เลย์พื้นเมืองหั่นเส้น) และใบยาสูบเบอร์เลย์ (40 วัน) ค่า age -specific fecundity หรือ mx เป็นอัตราเฉลี่ยของการเกิดลูก หรือวางไข่ของ ประชากรแมลงทั้งหมด ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ในฤดูฝน มอดยาสูบที่เลี้ยงด้วยใบยาสูบเวอร์ยิเนียแยกก้านและอบ เริ่มมีการวางไข่เร็วที่สุด ในวันที่ 20 รองลงมาคือ ใบยาเบอร์เลย์แยกก้านและอบ = ยาเส้น (วันที่ 30 ) < ใบยาสูบเตอร์กิช = ใบยาสูบเบอร์เลย์และใบยาสูบเวอร์ยิเนีย (วันที่ 40 ) ในฤดูร้อน มอดยาสูบมีแนวโน้มที่เริ่มวางไข่เร็วขึ้น เมื่อเทียบกับฤดูฝนและฤดูหนาว เช่น ในใบยาสูบเวอร์ยิเนียเริ่มวางไข่ในวันที่ 20 ในฤดูร้อน และช้าลงในฤดูฝนวันที่ 40 ในฤดูหนาว มอดยาสูบเริ่มวางไข่มีแนวโน้มช้าลงเมื่อเทียบกับฤดูฝน ซึ่งพบว่าใบยาสูบเวอร์ยิเนียแยกก้านและอบ แมลงเริ่มวางไข่ ช้าที่ 60 วัน ในการทดลองที่ 2 การตอบสนองของมอดยาสูบต่อเหยื่อล่อแต่ละชนิดโดย.ประเมินความสามารถ ในการดึงดูดมอดยาสูบด้วยค่า Excess Proportion Index (EPI) ของเหยื่อล่อทั้งหมด 13 ชนิด ประกอบด้วย 1.) ใบยาสูบเวอร์ยิเนีย 2.) ใบยาสูบเบอร์เลย์ 3.) ใบยาสูบเตอร์กิช 4.) ใบยาสูบเวอร์ยิเนียแยกก้านและอบ 5.) ใบยาสูบเบอร์เลย์แยกก้านและอบ 6.) ยาเส้น (ยาเบอร์เลย์พื้นเมืองหั่นเส้น) 7.) แป้งสาลี 8.) กาแฟกะลา 9.) ถั่วเหลือง 10.) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 11.) ลูกเดือย 12.) ใบหม่อนแห้ง และ 13.) กระเทียม ภายในอุปกรณ์ทดสอบกลิ่นแบบ 8 ทาง ทำการทดลองใน 3 ช่วงเวลาได้แก่ 8.00–12.00 น. (เช้า) 13.00–16.00 น. (บ่าย) และ 18.00–20.00 น. (เย็น) ช่วงเวลาละ 5 ซ้ำ พบว่าความสามารถในการดึงดูดมอดยาสูบของเหยื่อล่อ ทุกชนิดโดยรวมไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดึงดูดมอดยาสูบตามช่วงเวลา พบว่าในช่วงเวลาบ่าย มอดยาสูบถูกดึงดูดจากเหยื่อล่อที่ค่า EPI เท่ากับ 0.88 ซึ่งมีความสามารถในการดึงดูด สูงกว่าช่วงเวลาเช้าที่ 0.73 และช่วงเวลาเย็นที่ 0.67 โดยพบว่า แป้งสาลี (EPI=0.84) ลูกเดือย (EPI=0.85) ใบยาสูบเบอร์เลย์ แยกก้านและอบ (EPI=0.85) สามารถนำไปทำเหยื่อล่อ มอดยาสูบได้ ในการทดลองที่ 3 เหยื่อล่อ 3 ชนิดที่ให้ค่า EPI สูงสุด ทั้ง 3 ชนิด ไปใช้ร่วมกับฟีโรโมนเพศเมีย ซึ่งดึงดูดมอดยาสูบเพศผู้พบว่า การใช้ ฟีโรโมนเพศเมียร่วมกับ เหยื่อล่อ 3 ชนิด เปรียบเทียบกับการใช้ฟีโรโมนเพศเมียเพียงอย่างเดียว ให้ผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อใช้ฟีโรโมนที่มีการดึงดูดมอดยาสูบทั้งเพศผู้และเพศเมีย ร่วมกับเหยื่อล่อ 3 ชนิด ดังกล่าว เปรียบเทียบกับการใช้ ฟีโรโมนดึงดูด 2 เพศ ตามลำพัง พบว่า ค่า EPI ไม่แตกต่างทางสถิติ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า มอดยาสูบ มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในยาสูบเวอร์ยิเนียและยาสูบเตอร์กิชในฤดูร้อน ใกล้เคียงกับฤดูฝน แตกต่างจากการเจริญเติบโตในฤดูหนาว ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการอยู่รอดของแมลงเป็นไปได้ทั้ง ฤดูกาล และชนิดของอาหารเหยื่อล่อที่เป็นใบยาสูบเบอร์เลย์แยกก้านและอบแล้ว ลูกเดือยและแป้งสาลี มีผลเสริมการดึงดูดมอดยาสูบเมื่อใช้ร่วมกับ ฟีโรโมน มอดยาสูบเพศเมีย แต่ไม่มีความแตกต่าง เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับฟีโรโมนที่ดึงดูด 2 เพศen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831024-วันระวี แสงอาคม.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.