Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80158
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณฐิตากานต์ พยัคฆา | - |
dc.contributor.advisor | ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล | - |
dc.contributor.advisor | แสงทิวา สุริยงค์ | - |
dc.contributor.author | เจตนิพัทธ์ ถาวร | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-15T09:48:42Z | - |
dc.date.available | 2024-11-15T09:48:42Z | - |
dc.date.issued | 2024-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80158 | - |
dc.description.abstract | This study aimed to 1) to study the personal, economic, social, and some mango production conditions of mango farmers in Bang Khla district, Chachoengsao province 2) to analyzed the factors affecting farmers’ adoption of good agricultural practices for mango in Bang Khla district, Chachoengsao province and 3) to study the problems, needs, and suggestions of farmers about affecting farmers’ adoption of good agricultural practices for mango in Bang Khla district, Chachoengsao province. The target population for the study was the 1,472 farmers who received training on GAP in Bang Khla district, Chachoengsao province in 2022. The sample size was determined using Taro Yamane's formula with acceptable sampling error to 7 percent (93% confidence level) resulting in a sample size of 180 farmers. Simple random sampling was used to select the sample, with lottery numbers drawn from a list of farmers' names. The data was collected through semi-structured interview that had 0.72 of knowledge point coefficient (KR – 20) and 0.71 of practical point coefficient (KR – 20). Data were collected from December 2023 to February 2024. The data were analyzed using the statistical package program about social science research. Descriptive statistics namely percentage, frequency, mean, maximum, minimum, and standard deviation. Multiple regression analysis by using the Enter method to identify the relationship between independent variables and dependent variables was used for inferential statistics. The results showed that most of the farmers were male with an average age of 56.11 years in the 6th grade of education, had an average of 21.54 years of experience in mango production, mostly their own land and self – financing. In 2022, Most farmers had receiving information about GAP, with an average of 3.70 contact with agricultural extension officer of Bang Khla district agricultural office and most had received training in mango production. an average of 3.42 number of household members producing mangoes, an average of 23.17 rai of area for mango production. In 2022, farmers had an average income from mango sales of 199,458.30 baht, an average costs of mango production of 120,482.77 baht and most farmers had a definite market availability for mango produce. Overall, farmers had a high level of knowledge and practice of GAP. The hypothesis test that found that education level, receiving information about GAP, and contact with agricultural officer significantly farmers’ adoption of GAP in Bang Khla district, Chachoengsao province at the 0.05 level. Problems of farmers about adoption of good agricultural practices for mango: the most is low prices, followed by pests, diseases, lack of water sources, and soil conditions for planting, respectively. Needs of farmers about adoption of good agricultural practices for mango: the most is price guarantees, followed by promotion of mango processing, contribution about fertilizer, contribution about soil, contribution about marketing, and adequate irrigation systems management, respectively. Suggestions from farmers about adoption good agricultural practices for mango: the most is government training about pesticides, followed by harvesting and post – harvest practices, and record keeping and traceability, respectively. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงของเกษตรกร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting farmers’ adoption of good agricultural practices for mango in Bang Khla District, Chachoengsao Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- บางคล้า (ฉะเชิงเทรา) | - |
thailis.controlvocab.thash | การส่งเสริมการเกษตร -- บางคล้า (ฉะเชิงเทรา) | - |
thailis.controlvocab.thash | มะม่วง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และสภาพการผลิตมะม่วงบางประการของผู้ปลูกมะม่วง 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงของเกษตรกร และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงของเกษตรกร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วง จำนวน 1,472 คน ในพื้นที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ซึ่งได้กำหนดความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 7 (ระดับความเชื่อมั่นที่ 93%) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ 180 คน และผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับสลากหมายเลขตามบัญชีรายชื่อเกษตรกรให้ครบตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่นำสลากหมายเลขรายชื่อที่จับแล้วใส่กลับคืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi – structure interview) ที่มีค่าความเชื่อมั่นในประเด็นความรู้ (KR – 20) เท่ากับ 0.72 และประเด็นการปฏิบัติ (KR – 20) เท่ากับ 0.71 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) ได้แก่ การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Enter เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Independent Variables) กับตัวแปรตาม (Dependent Variables) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.11 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เกษตรกรมีประสบการณ์ผลิตมะม่วงเฉลี่ย 21.54 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ มีพื้นที่และแหล่งเงินทุนของตนเอง ในปี พ.ศ. 2565 พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วง เกษตรกรมีการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า จำนวนเฉลี่ย 3.70 ครั้ง และเกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตมะม่วง เกษตรกรมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนในการผลิตมะม่วง เฉลี่ย 3.42 คน เกษตรกรมีพื้นที่การผลิตมะม่วง เฉลี่ย 23.17 ไร่ ในปี พ.ศ. 2565 เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายมะม่วง เฉลี่ย 199,458.30 บาท ในขณะที่เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตมะม่วง เฉลี่ย 120,482.77 บาท และเกษตรกรส่วนใหญ่มีตลาดจำหน่ายของผลผลิตมะม่วงที่แน่นอน ทั้งนี้ ภาพรวมเกษตรกรมีความรู้และการปฏิบัติในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงของเกษตรกร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความสัมพันธ์เชิงบวกจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่สำหรับมะม่วงจากสื่อต่าง ๆ และการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ ปัญหาของเกษตรกรต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วง พบว่า เกษตรกรมีปัญหาราคาของผลผลิตมะม่วงต่ำ มากที่สุด รองลงมา คือ เกษตรกรมีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช เกษตรกรมีปัญหาเรื่องโรคพืช เกษตรกรมีปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำ และเกษตรกรมีปัญหาสภาพที่ใช้ในการปลูกมีลักษณะเป็นดิน ตามลำดับ ความต้องการของเกษตรกรต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วง พบว่า เกษตรกรมีความต้องการการประกันราคามะม่วง มากที่สุด รองลงมา คือ เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการแปรรูปของผลผลิตมะม่วง เกษตรกรมีความต้องการการสนับสนุนเรื่องปุ๋ย เกษตรกรมีความต้องการการสนับสนุนเรื่องดิน เกษตรกรมีความต้องการการรองรับทางด้านการตลาด และเกษตรกรมีความต้องการการดูแลเรื่องของระบบชลประทาน ตามลำดับ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วง พบว่า เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควรเพิ่มการอบรมเกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร มากที่สุด รองลงมา คือ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควรเพิ่มการอบรมเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควรเพิ่มการอบรมเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ ตามลำดับ | en_US |
Appears in Collections: | AGRO: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650831031 เจตนิพัทธ์ ถาวร.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.