Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80138
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงลักษณ์ เขียนงาม | - |
dc.contributor.advisor | สมบัติ ท้ายเรือคํา | - |
dc.contributor.author | เจตนิพัทธ์ จิตติหิรัณย์กุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-05T02:13:35Z | - |
dc.date.available | 2024-11-05T02:13:35Z | - |
dc.date.issued | 2024-10-14 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80138 | - |
dc.description.abstract | This research aims to: 1) develop a psychological training program, and 2) study the effects of the psychological training. It is an experimental research study with a sample of 18 parents of students, divided into an experimental group of 9 and a control group of 9. The study measured game addiction immunity before and after using the psychological training program. The research tools were divided into two parts: 1. The experimental tool, which is the psychological training program, had a consistency index ranging from .89 to 1.00; and 2. The data collection tools, which included: 2.1) the Game Addiction Protection Scale (GAME-P) for parents, based on the measure by Prof. Dr. Chanvit Pornnopadol, 2.2) the questionnaire assessing knowledge about preventing game addiction for parents, with a consistency index from .60 to 1.00, 2.3) a feedback questionnaire for the experimental group regarding their participation in psychological training, and 2.4) a questionnaire for the control group regarding the psychological training manual. The statistical methods used for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. The research results showed that: 1) the psychological training program consisted of 6 activities, with each activity having a consistency index ranging from .89 to 1.00; 2) the effectiveness index (E.I) of the training program was .6575, and the efficiency (E1/E2) was 79.81/81.48; 3) the effect of the psychological training showed that the experimental group parents had an average immunity score at a high level, and their average knowledge about preventing game addiction was at a high level as well; and 4) the experimental group parents expressed very high satisfaction with participating in the psychological training, while the control group parents had a moderate opinion regarding the training manual. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาสำหรับผู้ปกครองเพื่อป้องกันการติดเกมของนักเรียนระดับประถมศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | Psychological training for parents to prevent gaming addiction among elementary school students | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การติดเกมวิดีโอ | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ปกครองกับเด็ก | - |
thailis.controlvocab.thash | การดูแลเด็ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา และ 2) เพื่อศึกษาผลของการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยมีตัวอย่างเป็นผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 18 คน ซึ่งแบ่งกลุ่มทดลอง จำนวน 9 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 9 คน และมีการวัดภูมิคุ้มกันการติดเกมก่อนและหลังใช้ชุดการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. เครื่องมือในการทดลอง คือ ชุดการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา หาคุณภาพโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .89 ถึง 1.00 และ 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 2.1) แบบวัดภูมิคุ้มกันการติดเกม Game Addiction Protection Scale (GAME-P) ฉบับผู้ปกครอง โดยใช้แบบวัดของ ศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล 2.2) แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการติดเกมของนักเรียนสำหรับผู้ปกครอง มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ถึง 1.00 2.3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา สำหรับกลุ่มทดลอง และ 2.4) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อคู่มือการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา สำหรับกลุ่มควบคุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา มีทั้งหมด 6 กิจกรรม แต่ละกิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแต่ละกิจกรรมตั้งแต่ .89 ถึง 1.00 2) ชุดการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.6575 และประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 79.81 / 81.48 3) ผลของการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา พบว่า ผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีคะแนนภูมิคุ้มกันรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง และมีคะแนนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการติดเกมของผู้ปกครองเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครองกลุ่มควบคุมมีความคิดเห็นต่อคู่มือการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาอยู่ในระดับปานกลาง | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640232010 เจตนิพัทธ์ ปลาเงิน.pdf | 9.98 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.