Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80124
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเดชา ทำดี-
dc.contributor.advisorศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.authorสุภมาส กองติต๊ะen_US
dc.date.accessioned2024-10-22T01:06:34Z-
dc.date.available2024-10-22T01:06:34Z-
dc.date.issued2014-08-26-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80124-
dc.description.abstractThe use of tele-nursing to promote self-regulation in working-age individuals with uncontrolled diabetes mellitus may lead to improved health behaviors. This quasi-experimental study with a pre-test and post-test design involving two groups aimed to compare health behavior scores between those who received a self-regulation promotion program through tele-nursing and those who received standard nursing care. It also aimed to compare health behavior scores, before and after the intervention, of community-dwelling persons with uncontrolled diabetes mellitus. The sample consisted of 54 working-age individuals, both male and female, aged 35-59 years, diagnosed with type 2 diabetes and unable to control blood sugar levels. They were divided into an experimental group (27 participants) and a control group (27 participants). The research instruments comprised two parts: 1) experimental instruments, including the self-regulation promotion program through tele-nursing developed by the researcher based on Bandura’s self-regulation theory (Bandura, 1986), and 2) data collection instruments, including a general information questionnaire and a health behavior questionnaire. All instruments were content-validated by six experts, and the health behavior questionnaire had a content validity index (CVI) of 0.96. The reliability was confirmed using Cronbach’s alpha coefficient, yielding a reliability score of 0.83. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square, paired t-tests, and independent t-tests. The research findings indicated that health behavior scores after participating in the program were significantly higher than before the program (p < .001). Moreover, the health behavior scores of the group with uncontrolled diabetes mellitus who participated in the self-regulation promotion program were significantly higher than those of the group receiving standard nursing care (p < .001). These results suggest that the self-regulation promotion program effectively helps individuals with diabetes to improve their health behavior control.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเอง การพยาบาลทางไกล ผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ชุมชนen_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the self-regulation enhancing program via tele-nursing on health behaviors among persons with uncontrolled diabetes mellitus in communitiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน-
thailis.controlvocab.thashการแพทย์ทางไกล-
thailis.controlvocab.thashเทเลแมติกส์ทางการแพทย์-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashการส่งเสริมสุขภาพ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการนำการพยาบาลทางไกลมาใช้ในการส่งเสริมการกำกับตนเองของผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในวัยทำงาน อาจส่งเสริมให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวัยทำงานทั้งเพศชายและเพศหญิงช่วงอายุ 35-59 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ทั้งหมด 54 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 27 ราย และกลุ่มควบคุม 27 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลที่ผู้วิจัยพัฒนามาจาก แนวคิดการกำกับตนเองตามแนวคิดของแบนดูรา (Bandura, 1986) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือทั้งหมดได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน ก่อนนำมาปรับตามข้อเสนอแนะ ส่วนแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพนำมาคำนวณหาดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity index: CVI) เท่ากับ 0.96 และการหาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ สถิติทีแบบจับคู่ และค่าทีอิสระ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ที่ได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.001) และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.001) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองฯ ทำให้ผู้ที่มีภาวะเบาหวานสามารถควบคุมพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้เหมาะสมขึ้นได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231134-สุภมาส กองติต๊ะ.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.