Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80116
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภคภต เทียมทัน | - |
dc.contributor.author | อนาวิล โอภาประกาสิต | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-10-22T00:27:18Z | - |
dc.date.available | 2024-10-22T00:27:18Z | - |
dc.date.issued | 2024-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80116 | - |
dc.description.abstract | This study aims to analyze the structure of men's terms, meaning of men's terms, and paradigms about men in Khaosaw literature and collect data from ten stories of Khaosaw literature from the Pratueng Wittaya Shop edition, 1968. The study used literary language immediate constituent analysis componential analysis and paradigm. The total of men's terms were found 284 words 1,624 positions. The result of structure of men's terms that men's terms in Khaosaw literature have two main components: the main part and expanded part. The main part have important composition which is the main term that must consistently appear in the structure of men's terms, the expanded part which is the expanded term that were front modifier and hind modifier. These modifiers describe aspects such as the male character’s gender, status, rank and prestige The structure of men's terms can be classified four structures, the main part structure, the main part with main part structure, the main part with expanded part, and the expanded part with main part. The result of meaning of men's terms in Khaosaw literature: 284 words, can be classified two groups: men's terms with only one feature, feature [+man] and men's terms that appear specific meaning, namely feature [+man]. Men's terms with feature [+man] and indicating with some qualification. This can be seperated into eight groups that appear specific qualifications, namely: feature [+has merit], feature [+ has lineage of the buddha], feature [+beautiful appearance], feature [+was loved], feature [+value], feature [+youthful], feature [+authority], and feature [+ability]. In adition, the result of meaning of men's terms in Khaosaw literature can be understandable for the concepts of men's terms in Khaosaw literature. The result of paradigm of men's terms in Khaosaw literature have 3 paradigms. Paradigm of buddhism, paradigm of governance and paradigm of culture. Each paradigm make reflection belief and popularity, viewpiont of lanna people and the practice of lanna people relate to those paradigm. All paradigms can be created the whole of men's terms in Khaosaw literature: 284 words. The paradigms about men in Khaosaw literature can understand about thought, culture and tranditions in Khaosaw literature and popularity of people from the past to men character in Khaosaw literature. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | คำเรียกผู้ชาย ล้านนา ค่าวซอ มโนทัศน์เกี่ยวกับผู้ชาย วรรณกรรมล้านนา | en_US |
dc.title | คำเรียกผู้ชายล้านนา: ความหมายและกระบวนทัศน์ในวรรณกรรมค่าวซอ | en_US |
dc.title.alternative | Terms for Lanna man: Meanings and paradigms in Khaosaw literature | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ค่าวซอ | - |
thailis.controlvocab.thash | ค่าวซอ -- วรรณกรรมไทย (ภาคเหนือ) | - |
thailis.controlvocab.thash | บุรุษ -- ไทย (ภาคเหนือ) | - |
thailis.controlvocab.thash | ภาษาล้านนา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างคำเรียกผู้ชาย ความหมายของคำเรียกผู้ชาย และกระบวนทัศน์เกี่ยวกับผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอ เก็บข้อมูลจากวรรณกรรมค่าวซอฉบับตีพิมพ์และเผยแพร่โดยร้านประเทืองวิทยา ปี พ.ศ.2511 จำนวน 10 เรื่อง โดยใช้แนวคิดภาษาวรรณคดี แนวคิดการวิเคราะห์ส่วนประชิด แนวคิดการวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ ทั้งนี้ ปรากฏคำเรียกผู้ชายทั้งหมด 284 คำ 1,624 ตำแหน่ง ผลการศึกษาด้านโครงสร้างของคำเรียกผู้ชาย พบว่า คำเรียกผู้ชายมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนหลักและส่วนขยาย โดยส่วนหลักมีองค์ประกอบสำคัญ คือ คำหลักซึ่งต้องปรากฏในคำเรียกผู้ชายเสมอ และส่วนขยายประกอบด้วยคำขยายประกอบหน้าและคำขยายประกอบหลังซึ่งทำหน้าที่แสดงรายละเอียดเช่น สถานภาพ ยศ ศักดิ์ของตัวละครฝ่ายชาย โครงสร้างของคำเรียกผู้ชายสามารถจำแนกได้ 4 โครงสร้าง ได้แก่ “โครงสร้างแบบส่วนหลัก” โครงสร้างแบบส่วนหลัก ส่วนหลัก” “โครงสร้างแบบส่วนหลัก ส่วนขยาย” และ “โครงสร้างแบบส่วนขยาย ส่วนหลัก” ผลการศึกษาด้านความหมายของคำเรียกผู้ชาย พบว่า ความหมายของคำเรียกผู้ชายจำนวน 284 คำ สามารถจำแนกกลุ่มทางความหมายของคำเรียกผู้ชายได้ 2 ประเภท คือ กลุ่มความหมายคำเรียกผู้ชายที่ปรากฏอรรถลักษณ์ [+ผู้ชาย] เพียงอรรถลักษณ์เดียว และกลุ่มความหมายคำเรียกผู้ชายที่ปรากฏอรรถลักษณ์ [+ผู้ชาย] ร่วมกับอรรถลักษณ์แสดงคุณสมบัติ ซึ่งสามารถจำแนกได้ 8 กลุ่มความหมาย ได้แก่ อรรถลักษณ์ [+มีบุญ] อรรถลักษณ์ [+มีเชื้อสายพระพุทธเจ้า] อรรถลักษณ์ [+มีรูปลักษณ์งาม] อรรถลักษณ์ [+เป็นที่รัก] อรรถลักษณ์ [+มีค่า] อรรถลักษณ์ [+มีความอ่อนเยาว์] อรรถลักษณ์ [+มีอำนาจ] และอรรถลักษณ์ [+มีความสามารถ] นอกจากนี้ การศึกษาความหมายของคำเรียกผู้ชายยังช่วยให้เข้าใจถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซออีกด้วย ผลการศึกษาด้านกระบวนทัศน์เกี่ยวกับผู้ชาย พบว่า กระบวนทัศน์เกี่ยวกับผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอสามารถจำแนกได้ 3 กระบวนทัศน์ คือ กระบวนทัศน์ด้านพุทธศาสนา กระบวนทัศน์ด้านการปกครอง และกระบวนทัศน์ด้านวัฒนธรรม โดยกระบวนทัศน์แต่ละกระบวนทัศน์ทำให้ทราบถึงความเชื่อค่านิยม มุมมองของชาวล้านนาและวิธีปฏิบัติของชาวล้านนาต่อกระบวนทัศน์นั้น จนนำไปสู่การสร้างสรรค์คำเรียกผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอทั้งหมด 284 คำ นอกจากนี้ การศึกษากระบวนทัศน์เกี่ยวกับผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอยังช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม จารีตประเพณีของผู้คนในสังคมล้านนาสมัยอดีตที่มีต่อตัวละครชายในวรรณกรรมค่าวซออีกด้วย | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650131030-อนาวิล โอภาประกาสิต.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.