Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80056
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรัทยา ชินกรรม | - |
dc.contributor.advisor | กัญญ์สุดา นิ่มอนุสสรณ์กุล | - |
dc.contributor.author | กฤษดาภรณ์ พรมมิตร | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-09-23T09:55:06Z | - |
dc.date.available | 2024-09-23T09:55:06Z | - |
dc.date.issued | 2024-08-18 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80056 | - |
dc.description.abstract | This study investigates the debt capacity of early-career individuals and the factors influencing their debt accumulation in Mueang District, Chiang Mai Province. The sample comprises 426 respondents from four main occupational groups: government officials or state enterprise employees, business owners or self-employed individuals, private company employees, and farmers. The study is structured into three parts: Part 1 examines general information about the debtors, Part 2 focuses on the employment characteristics and income of the debtors, and Part 3 identifies factors influencing the debt capacity of early-career individuals using the Tobit model The results indicate that the general characteristics and family status of the respondents impact their debt capacity differently across occupational groups. The sample includes 245 men and 181 women, with the majority aged between 26-29 years. Most are married or cohabiting without registration, live in their own homes or condos, save less than 5,000 baht per month on average, and do not have the responsibility of supporting a family. When categorizing debt capacity by occupation, distinct patterns emerge. Government and state enterprise employees have a monthly income range of 15,001–25,000 baht. Despite their stable income, they often fall short of their monthly expenses due to high living costs and existing debt repayments. Their debts are mainly in credit card/cash card debts, averaging 33,242.86 baht, with a debt-to-income ratio of 31-40%. In contrast, business owners or self-employed individuals typically have an income exceeding 40,001 baht monthly, reflecting a generally stable financial status. Their debts are primarily sourced from commercial banks for car/motorcycle loans, averaging 149,428.60 baht, with a 21-30% debt-to-income ratio. Private company employees earn between 10,001 and 15,000 baht per month. Most in this group earn more than their monthly expenses and have credit card/cash card debts averaging 36,151.55 baht, with a 21-30% debt-to-income ratio. Farmers, earning between 10,001 and 15,000 baht per month, typically earn less than their monthly expenses. Only 45.71% have formal debts, mainly sourced from leasing companies and state banks, with car/motorcycle loans averaging 102,666.70 baht. The study identifies key factors influencing the debt capacity of early-career individuals, including stable occupations, income levels exceeding expenses, financial management or planning, and spending behavior. However, a significant drawback for this group is their low level of savings. Policy recommendations include promoting financial management education and training, developing appropriate credit policies, and encouraging savings among early-career individuals to enhance their debt capacity. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ของคนวัยเริ่มต้นทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting debt creation of early workers in Muang district Chiang Mai province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | หนี้ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | พนักงาน -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการก่อหนี้ของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 426 คน จาก 4 กลุ่มอาชีพหลัก ได้แก่ ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ, เจ้าของกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว, พนักงานบริษัทเอกชน และเกษตรกร ซึ่งแบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ลักษณะข้อมูลทั่วไปของผู้ก่อหนี้ และ ส่วนที่ 2 ข้อมูลลักษณะการทำงานและรายได้ของผู้ก่อหนี้ ในการวิเคราะห์เราจะใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistic) เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป สำหรับส่วนที่ 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการก่อหนี้ของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน เราจะใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการ แบบจำลองโทบิท (Tobit model) เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการก่อหนี้ฯ ผลการศึกษา พบว่าลักษณะทั่วไปและสถานภาพครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามส่งผลต่อความสามารถในการก่อหนี้แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอาชีพ โดย เป็น ชาย 245 คน และหญิง 181 คน ส่วนใหญ่อายุ 26-29 ปี มีสถานภาพสมรสหรืออยู่ร่วมกันแต่ไม่ได้จดทะเบียน อาศัยในบ้านหรือคอนโดของตนเอง มีการออมเฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน และส่วนใหญ่ไม่มีภาระดูแลครอบครัวหรือไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อจำแนกความสามารถการก่อหนี้ ตาม กลุ่มอาชีพ พบว่า อาชีพรับราชการ/พนักงานของรัฐ พบว่า กลุ่มนี้มีรายได้อยู่ระหว่าง 15,001 – 25,000 บาทต่อเดือน และส่วนใหญ่พบว่าเงินที่ได้รับต่อเดือนน้อยกว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือน การก่อหนี้เกิดจากประเภทหนี้พจำพวกบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด มีจำนวนหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 33,242.86 บาท และมีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ 31-40% แม้ว่าจะมีรายได้ที่มั่นคง แต่รายได้อาจยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีภาระค่าครองชีพสูงและภาระการชำระหนี้สินเดิม ขณะที่อาชีพธุรกิจส่วนตัวหรือเจ้าของกิจการ พบว่า กลุ่มนี้มีรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป สถานะทางการเงินของผู้ก่อหนี้ในกลุ่มอาชีพนี้ส่วนใหญ่ ค่อนข้างมั่นคง โดย แหล่งเงินกู้ที่ผู้ก่อหนี้เลือกใช้บริการสูงสุดคือธนาคารพาณิชย์ต่างๆ และส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้ประเภทสินเชื่อรถยนต์/รถมอเตอร์ไซค์ มีจำนวนหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 149,428.60 บาท และสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ 21-30% ส่วนอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน พบว่า กลุ่มนี้มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001 – 15,000 บาทต่อเดือน ผู้ก่อหนี้ในกลุ่มอาชีพนี้ส่วนใหญ่พบว่า เงินที่ได้รับต่อเดือนมากกว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือน มีการก่อหนี้จากบริษัทบัตรเครดิต ประเภทบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด มีจำนวนหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 36,151.55 บาท และ มีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ 21-30% ส่วน กลุ่มอาชีพภาคการเกษตร พบว่า กลุ่มนี้มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 – 15,000 บาท ผู้ก่อหนี้ในกลุ่มอาชีพนี้ส่วนใหญ่พบว่า เงินที่ได้รับต่อเดือนน้อยกว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือน โดยมีการก่อหนี้ในระบบเพียงร้อยละ 45.71 แหล่งเงินกู้ที่ผู้ก่อหนี้เลือกใช้บริการสูงสุดคือธุรกิจลิสซิ่ง และ ธนาคารของรัฐ และส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้ประเภทสินเชื่อรถยนต์/รถมอเตอร์ไซค์ มีจำนวนหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 102,666.70 บาท สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้ของคนวัยเริ่มต้นทำงานฯ พบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผล ได้แก่ กลุ่มอาชีพ ที่มั่นคง ระดับรายได้ที่มีสัดส่วนสูงกว่ารายจ่าย การบริหารจัดการเงินหรือการวางแผนทางการเงิน และพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ส่งผลต่อความสามารถการก่อหนี้ แต่จุดบกพร่องของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน คือระดับการออม ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือการส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมด้านการบริหารการเงิน พัฒนานโยบายการให้สินเชื่อที่เหมาะสม และสนับสนุนการออมเงินแก่วัยเริ่มต้นทำงาน จะสามารถเพิ่มความสามารถก่อหนี้ให้สูงได้ | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641632010_กฤษดาภรณ์ พรมมิตร.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.