Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรัชญา จันพายเพ็ชร-
dc.contributor.authorจิรคุณ เลาเหมาะen_US
dc.date.accessioned2024-08-27T00:42:38Z-
dc.date.available2024-08-27T00:42:38Z-
dc.date.issued2024-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79993-
dc.description.abstractThis research objective is to study the industry's supply chain and value chain in the current situation. Analyze factors that affect competitiveness and competitive advantage. Design a new value chain and propose ways to increase the potential of the international apparel industry in the new normal era. Data collection used questionnaires and interviews with a sample of 19 people from five establishments that conduct apparel trade along the Thai-Myanmar border trade in the upper northern region directly. Data were analyzed and displayed with descriptions, pictures, and tables. Descriptive statistics are presented in the form of means, percentages, and frequencies. The researcher applied the value chain theory and Porter's diamond model and prioritized the main and negative sub-factors of the industry based on the analytical hierarchy method. The results of the research found that: 1) The industry's supply chain and value chain operate from the upstream part to the midstream to the downstream. Key stakeholders were identified and the physical circulation activities of apparel products were carefully monitored. 2) The analysis of factors affecting competitive advantage revealed that the influence factors that affect positive competitive advantage are infrastructure factors, Price and product quality size, Growth of the market and Inventory system. In addition, If consider the influence of negative sub-factors on each of the main factors that affect the competitive advantage of the industry found that The product image and acceptance factor is the most important, followed by Grouping of enterprise networks, Business strategy, Inventory system, Product features and Value changes in demand, Related industries, Human resource development, The pickiness of seasonal buyers, Business competition, Sources of capital, Costs of raw materials for production, Labor shortage, Technology and innovation and Human resources, respectively. 3) From empirical data, this study designs a new value chain. It proposes ways to enhance the industry's potential so that Thai entrepreneurs in the apparel trade value chain can adapt and respond to situations that arise appropriately according to the organization's status, both proactively and reactively. To create a competitive advantage and manage the apparel business in the new normal era with efficiency and sustainability.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าการค้าเครื่องนุ่งห่มระหว่างประเทศ กรณีศึกษา การค้าชายแดนไทย – พม่า ในเขตภาคเหนือตอนบนen_US
dc.title.alternativeAnalysing competitive advantage to enhance the value chain of international apparel trade: A Case study of Thai-Myanmar border trade in the upper northern regionen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashอุตสาหกรรมสิ่งทอ -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashอุตสาหกรรมสิ่งทอ -- พม่า-
thailis.controlvocab.thashการบริหารงานโลจิสติกส์-
thailis.controlvocab.thashไทย -- การค้ากับต่างประเทศ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันและความได้เปรียบในการแข่งขัน ออกแบบโซ่คุณค่าใหม่และเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มระหว่างประเทศในยุคปกติใหม่ การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 19 รายจากสถานประกอบการที่ดำเนินการค้าเครื่องนุ่งห่มตามแนวการค้าชายแดนไทย-พม่า ในเขตภาคเหนือตอนบนโดยตรงทั้งหมด 5 แห่ง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลด้วยการบรรยายประกอบรูปภาพและตาราง นำเสนอค่าสถิติพรรณาในรูปของค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าความถี่ ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีโซ่คุณค่าและแบบจำลองเพชรของ Porter และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยเชิงลบของอุตสาหกรรมตามวิธีการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ผลการวิจัยพบว่า 1. โซ่อุปทานและโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมมีการดำเนินงานตั้งแต่ส่วนต้นน้ำ กลางน้ำมาจนถึงปลายน้ำ ภายในแต่ละส่วนนี้ได้ทำการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและติดตามกิจกรรมการไหลเวียนทางกายภาพของสินค้าเครื่องนุ่งห่มอย่างละเอียดถี่ถ้วน 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน พบว่า อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงบวก คือปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ราคาและคุณภาพสินค้า ขนาดและการเติบโตของตลาดและระบบสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ หากพิจารณาอิทธิพลของปัจจัยย่อยเชิงลบที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรม พบว่า ปัจจัยภาพลักษณ์การยอมรับสินค้ามีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ การรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ กลยุทธ์ทางธุรกิจ ระบบสินค้าคงคลัง คุณสมบัติและมูลค่าของสินค้า การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ความพิถีพิถันของผู้ซื้อตามฤดูกาล ภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ แหล่งทุนและต้นทุนวัตถุดิบการผลิต ภาวะการขาดแคลนแรงงาน เทคโนโลยีและนวัตกรรม และทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ 3. จากข้อมูลเชิงประจักษ์ การศึกษานี้ได้ออกแบบโซ่คุณค่าใหม่และเสนอแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยในโซ่คุณค่าการค้าเครื่องนุ่งห่มนี้ สามารถปรับตัวตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมตามสถานภาพขององค์กรทั้งเชิงรุกและ เชิงรับ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องนุ่งห่มในยุคปกติใหม่อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืนen_US
thesis.concealPublish (Not conceal)en_US
Appears in Collections:MARITIME: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
642832014_จิรคุณ เลาเหมาะ.pdf13.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.