Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79918
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยงยุทธ ยะบุญธง | - |
dc.contributor.advisor | ธารณ์ ทองงอก | - |
dc.contributor.author | ปรียาดา ทะพิงค์แก | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-28T15:23:55Z | - |
dc.date.available | 2024-07-28T15:23:55Z | - |
dc.date.issued | 2567-05-25 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79918 | - |
dc.description.abstract | This article aims to: 1) study the current conditions, problems, and suggestions for the management of coding learning centers; 2) examine best practices in the management of coding learning centers; and 3) draft and validate administrative guidelines for coding learning centers based on the quality cycle of schools in Thailand. The research employed a mixed-methods approach, with a conceptual framework based on quality cycle management across six areas: management, academic administration, personnel administration, budget administration, resource management, and network cooperation management. The study was divided into three phases 1) Studying the current conditions, problems, and suggestions for the management of coding learning centers. The target group consisted of 132 schools with coding learning centers nationwide, totaling 396 individuals. Data were collected using questionnaires and analyzed using mean, standard deviation, and inductive analysis. 2) Examining best practices in coding learning center management. The target group consisted of five model schools from four regions across the country, involving 15 participants (school administrators, coordinators, and teachers) selected based on specific criteria. Data were collected using structured interviews and analyzed inductively, with results descriptively presented. 3) Drafting and validating administrative guidelines for coding learning centers based on the quality cycle of schools in Thailand. The target group included nine individuals (school administrators, coordinators, and Digital Economy Promotion Agency executives) selected based on specific criteria. Data were collected using checklists and analyzed using mean, standard deviation, and content analysis. The research findings are as follows: The overall management of coding learning centers was rated at a high level, with resource management, general management, budget administration, academic administration, personnel administration, and network cooperation management ranked in descending order. However, issues such as policy gaps, coordination problems, outdated curricula, insufficiently trained personnel, inadequate budgets, equipment shortages, and limited network cooperation were identified. Recommendations include setting clear policies, updating curricula, planning succession and training, continuous budget allocation, providing adequate equipment, and developing cooperation networks through public relations and additional partnerships. Coding learning centers with best practices operated according to the school's specific objectives, such as improving educational quality, promoting 21st-century skills, and expanding cooperation networks. Operations were divided into four stages: planning (clear policies and vision, community and school board cooperation, annual operational plans, and efficient budget and resource allocation), implementation (goal communication, management support, teacher training, technology installation, and special learning activities), evaluation (outcome assessment, feedback from learners and teachers, learning outcomes evaluation, and technology use efficiency assessment), and improvement (updating plans and operations, seeking external funding, and continuous skill development for personnel). Success factors included clear goals, updated curricula, appropriate budget allocation, personnel skill development, efficient resource use, and cooperation network building with schools and universities, as well as support from private and external organizations. The administrative guidelines for coding learning centers based on the quality cycle of schools in Thailand comprised four main components: 1) objectives, 2) principles, 3) operational methods, and 4) success conditions. The objective is to provide practical guidelines for efficient center management. The principles include quality cycle management: planning (policy and vision setting, working group establishment, and annual operational planning), implementation (project execution, teacher training, and supplementary activities), evaluation (outcome assessment and feedback collection), and improvement (updating plans based on new circumstances). Success conditions include personnel management, budget allocation, efficient resource use, and systematic management. The validation results indicated that the guidelines for managing coding learning centers in all aspects were rated at the highest level and met the set criteria. The knowledge gained from this research highlights the importance of clear policy setting, modern curriculum development, appropriate resource management, and cooperation network building for effective management and maximized coding skills development for students. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Administrative guidelines for Coding Learning Center based on the quality cycle of schools in Thailand | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การบริหารการศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | การศึกษา -- การควบคุมคุณภาพ | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงเรียน -- การควบคุมคุณภาพ | - |
thailis.controlvocab.thash | การบริหารโรงเรียน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะของการบริหาร ศูนย์ การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดี และ 3) เพื่อร่างและตรวจสอบแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผู้วิจัยกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยตามแนวคิดการบริหารแบบวงจรคุณภาพ ตามขอบข่ายการบริหารงานศูนย์การเรียนรู้ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคลากร ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารทรัพยากร ด้านการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ เป็นกรอบการวิจัย แบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง โดยกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนที่มีศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง จำนวน 132 โรงเรียนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 396 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและข้อเสนอแนะด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย 2) การศึกษาแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดี โดยกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนที่เป็นต้นแบบจำนวน 5 โรงเรียน จาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ จากผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ประสานงาน และผู้สอน รวม 15 คน จากการเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ใช้เครื่องมือสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา 3) การร่างและตรวจสอบแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ประสานงาน และผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งสิ้น 9 คน จากการเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ใช้เครื่องมือแบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการบริหารทรัพยากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคลากร และด้านการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม บางโรงเรียนยังมีปัญหาด้านนโยบาย การประสานงาน หลักสูตรที่ไม่ทันสมัย บุคลากรที่ขาดการอบรม งบประมาณที่ไม่เพียงพอ อุปกรณ์ที่ขาดแคลน และเครือข่ายความร่วมมือที่จำกัด นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะดังนี้การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย วางแผนสืบทอดงานและจัดการฝึกอบรม จัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง จัดหาอุปกรณ์ที่เพียงพอ และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือโดยการประชาสัมพันธ์และหาภาคีเครือข่ายเพิ่มเติม ศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดีดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามนโยบายของโรงเรียน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 และขยายเครือข่ายความร่วมมือ การดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ในขั้นการวางแผน มีการกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ร่วมมือกับชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี และจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ในขั้นการดำเนินงาน มีการจัดประชุมเพื่อสื่อสารเป้าหมายและบทบาทให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหารสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้ศูนย์การเรียนรู้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ สนับสนุนการอบรมผู้สอน ติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีในห้องเรียน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้พิเศษ อีกทั้งขั้นการตรวจสอบ มีการตรวจสอบผลลัพธ์ รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เรียนและผู้สอน ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน และตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีในห้องเรียน และในขั้นการปรับปรุง มีการปรับปรุงแผนและวิธีการดำเนินการตามสถานการณ์ใหม่ๆ หาแหล่งทุนสนับสนุนจากภายนอก และจัดอบรมพัฒนาทักษะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี การจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม การพัฒนาทักษะของบุคลากร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย รวมถึงการสนับสนุนจากภาคเอกชนและองค์กรต่างๆ แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) วิธีการดำเนินงาน และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ วัตถุประสงค์คือการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการบริหารศูนย์เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการดำเนินงานด้วยวงจรคุณภาพ ขั้นการวางแผนกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ขั้นการดำเนินงานดำเนินโครงการตามแผน อบรมพัฒนาผู้สอน และจัดกิจกรรมเสริม ขั้นการตรวจสอบผลลัพธ์ รับฟังข้อเสนอแนะ และประเมินผลการดำเนินงาน และขั้นการปรับปรุงแผนตามสถานการณ์ใหม่ เงื่อนไขความสำเร็จรวมถึงการจัดการบุคลากร การสนับสนุนจากผู้บริหาร การจัดสรรงบประมาณ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ผลการตรวจสอบพบว่าแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้าน โค้ดดิ้งในทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ (2) หลักการ (3) วิธีการดำเนินงาน และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร การพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย การบริหารทรัพยากร อย่างเหมาะสม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ จะส่งผลให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งให้กับนักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650232072 ปรียาดา ทะพิงค์แก.pdf | 21.12 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.