Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79810
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพงศ์ ตระการศิรินนท์-
dc.contributor.authorวิศรุต โนราชen_US
dc.date.accessioned2024-07-19T00:58:41Z-
dc.date.available2024-07-19T00:58:41Z-
dc.date.issued2567-05-29-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79810-
dc.description.abstractThe purpose of this study is to investigate the causes of waste management problems in the Soppong Sub-district Administrative Organization and propose sustainable solid waste management strategies to the Soppong Sub-district Administration, Pangmapha District, Mae Hong Son Province. The researcher conducted a study by examining documents, observing, and using semi-structured interviews with key informants. Data was also collected through questionnaires from a sample population of 309 households. The statistical methods used included percentages, averages, and content analysis. The research findings indicate that solid waste management of organic waste by the Soppong Sub-district Administrative Organization continues to face challenges due to the increasing amount of organic waste generated each year. As a result, the organization must bear the burden of higher disposal costs. The primary reasons for this situation include the predominantly forested terrain and topography within the organization’s jurisdiction, which pose obstacles to establishing waste disposal facilities or landfills in villages. Additionally, there is a shortage of personnel with specialized knowledge and skills in waste management, particularly in positions related to public health and environmental matters. Furthermore, budget constraints persist, especially regarding revenue from waste collection, which has not been fully regulated in the area. Moreover, the waste management services provided by the Soppong Sub-district Administrative Organization do not cover all areas and residents, and there is insufficient emphasis on addressing organic waste issues. In terms of community preferences, the sample group expressed the highest demand for waste disposal facilities in designated waste pits. They also indicated a preference for the organization to handle waste collection. To establish sustainable organic waste management practices, the organization should promote waste separation, including recycling, organic waste composting, hazardous waste disposal, and general waste management. The organization should procure bags with the official logo only and encourage waste exchange programs with free bags. Additionally, appropriate fee structures should be implemented, with higher fees for larger waste quantities. Furthermore, the organization should establish core policies for area development and encourage model villages with the potential to lead waste management practices and extend these models to other communities within the region. Continuous evaluation and monitoring are essential for successful implementation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeGuidelines for sustainable waste management of Soppong sub-district administrative organization, Pangmapha district, Mae Hong Son province.en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการกำจัดขยะ -- ปางมะผ้า (แม่ฮ่องสอน)-
thailis.controlvocab.thashขยะ -- การจัดการ-
thailis.controlvocab.thashองค์การบริหารส่วนตำบล -- ปางมะผ้า (แม่ฮ่องสอน)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาของการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง และเสนอแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์และการใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 309 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลสบป่องยังคงประสบปัญหาปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ส่งผลให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสบป่องต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีสาเหตุหลักมาจาก สภาพพื้นที่และภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตของหน่วยงานป่าไม้อันเป็นอุปสรรค ในการสร้างสถานที่กำจัดขยะหรือบ่อขยะในหมู่บ้าน รวมถึงการขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณในการบริหารจัดการขยะโดยเป็นการขาดแคลนข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง โดยเฉพาะตำแหน่งของงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และขาดแคลนงบประมาณโดยเฉพาะด้านรายได้จากการจัดเก็บขยะที่ยังไม่มีการประกาศใช้ข้อบัญญัติการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในพื้นที่ นอกจากนี้ การให้บริการในการจัดการมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลสบป่องที่ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และประชาชนในพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาขยะมูลฝอย โดยมีพฤติกรรมของการทิ้งขยะไม่ถูกที่ ในส่วนของความต้องการของประชาชนในพื้นที่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการทิ้งขยะทิ้งในบ่อขยะที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดไว้ให้มากที่สุด และมีความต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บขยะ สำหรับแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลสบป่องกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเห็นว่า การจัดการขยะมูลฝอยควรเป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน โดยมีการส่งเสริมการคัดแยกขยะ ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะทั่วไป มีการซื้อจากองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีถุงตราองค์การบริหารส่วนตำบลเท่านั้น มีการนำขยะแลกกับถุงขยะฟรี และมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เหมาะสม หากมีปริมาณขยะมากก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมสูงขึ้น นอกจากนี้ ต้องมีการกำหนดให้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนาพื้นที่ และส่งเสริมให้มีหมู่บ้านที่มีศักยภาพเป็นหมู่บ้านนำร่องหรือหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะเพื่อเป็นต้นแบบของการเรียนรู้และขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นในพื้นที่ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางที่เหมาะสมตั้งแต่การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางให้ทดลองปฏิบัติ และมีการประเมินผลและติดตามอย่างต่อเนื่องen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651932033 วิศรุต โนราช.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.