Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79806
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลงกรณ์ คูตระกูล-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ ไชยจินดาen_US
dc.date.accessioned2024-07-19T00:32:50Z-
dc.date.available2024-07-19T00:32:50Z-
dc.date.issued2024-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79806-
dc.description.abstractThe objectives of this independent study are to 1) assess the level of happiness at work among staffs at Doi Suthep - Pui National Park. 2) identify factors influencing happiness at work among these staffs and 3) examine the relationships between these factors and overall happiness at work. It is a quantitative methods research endeavor involving a sample of 144 participants from staffs at Doi Suthep - Pui National Park. The participants were selected through purposive sampling based on Krejcie and Morgan's formula. Data was gathered through questionnaires and analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation as well as inferential statistics including Linear Regression Analysis. The findings indicate that most respondents are male, aged between 40-49 years old with undergraduate degrees, and single. They were typically employed on contract terms and had a tenure of 11-20 years in the organization. Results indicated a high overall level of work happiness among staff members, with the aspect of attitude towards the nature of work scoring the highest average, followed by attitude towards the working environment. Conversely, attitudes towards workplace relationships and compensation and welfare scored the lowest. Moreover, hypothesis testing showed that officials working in Doi Suthep - Pui National Park exhibited a high level of work happiness, contrary to the initial assumptions. Statistically significant factors influencing work happiness included attitudes towards work characteristics, workplace relationships, and the working environment. However, there was no discernible relationship between attitudes towards compensation and benefits and work happiness among staffs. The predictive accuracy for work happiness among operational staff in Doi Suthep - Pui National Park, Chiang Mai Province, was estimated at 56.2%, suggesting a need for organizations to prioritize improving the work environment to foster a happier and congenial atmosphere.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeHappiness at work of Doi Suthep - Pui National Park staff, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashความพอใจในการทำงาน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิตการทำงาน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย -- พนักงาน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นวิธีการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 144 คน ดำเนินการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากสูตรของเครจซี่และมอร์แกน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40-49 ปี มีสถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีสภาพการจ้างงานเป็นพนักงานจ้างเหมา ระยะเวลาที่ทำงานในองค์กร 11-20 ปี ถึงปัจจุบัน 1) ความสุขในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านทัศนคติต่อลักษณะงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ถัดมาคือ ด้านทัศนคติต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านทัศนคติต่อสัมพันธภาพในที่ทำงาน และด้านทัศนคติต่อค่าตอบแทนและสวัสดิการน้อยที่สุด ตามลำดับ และ 2) ผลจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีระดับความสุขในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยทัศนคติต่อลักษณะงาน ปัจจัยทัศนคติต่อสัมพันธภาพในที่ทำงาน ปัจจัยทัศนคติต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่วนปัจจัยทัศนคติต่อค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ และ ความเป็นไปได้ของการพยากรณ์ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ มีความแม่นยำในการพยากรณ์ร้อยละ 56.2 เสนอแนะว่า องค์กรควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสุขและความเป็นกันเองen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651932020 ณัฐวุฒิ ไชยจินดา.pdf24.02 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.