Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79798
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรพจน์ เสรีรัฐ | - |
dc.contributor.author | ธัญคุณัชญ์ เชื้อสมเกียรติ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-18T01:29:36Z | - |
dc.date.available | 2024-07-18T01:29:36Z | - |
dc.date.issued | 2567-05-29 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79798 | - |
dc.description.abstract | The objective of this study is to focus on the estimation of accidental risk for 29 routes and 25 intersections on the Suan Sak campus of Chiang Mai University. The reference traffic data was received from the Smart Campus Management Center Chiang Mai University. The risk assessment will indicate the areas of highly accidental risk in order to correctly improve those surrounding areas according to safety improvement activities that are stated in the economic evaluation. Start by using traffic data from the study area to analyze the risk of accidents using the Accident Rate Method and the Accident Severity Method in Microsoft Excel and Google Earth to find the distances. Then, sorting out the values by range value method and interval between levels method. The result found that there are routes and intersections that are highly risky (level 5). To indicate the accidental risk accurately, multiply the levels from the same position between both risk analysis methods to find the Hazard Assessment Matrix, which can connect the distinctive points of two risk analysis methods. The result found that routes and intersections that are highly dangerous, including routes 1(25), 5(15), and 29(15), and intersections A(15), T(15), V(25), W(15), and X(20), will be used to generate an accidental risk map. The economic evaluation shows that most of the routes and intersections that have a moderate Hazard Assessment level and above need to improve by using safety improvement activities. For instance, route 18 has a sum of safety improvement activities of 379,115.43 Baht/km/year, which is divided by the cost of safety improvement activities of 61,620 Baht. The benefit-cost ratio will be 6.15, which indicates the worthiness of improving. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การประเมินความเสี่ยงของอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่ฝั่งสวนสักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Traffic accident risk assessment in Suan Suk Area of Chiang Mai University | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | อุบัติเหตุ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- การประเมิน | - |
thailis.controlvocab.thash | จราจร -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ความเสี่ยง -- การประเมิน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่การประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของ 29 เส้นทางและ 25 ทางแยกภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ฝั่งสวนสัก) โดยได้รับข้อมูลการจราจรจากศูนย์บริหารการจัดการเมืองอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งการประเมินความเสี่ยงจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงบริเวณที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูง เพื่อให้สามารถดำเนินการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบริเวณนั้นตามกิจกรรมปรับปรุงความปลอดภัยที่ได้ระบุไว้ในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อย่างถูกต้อง เริ่มจากการนำข้อมูลจราจรของพื้นที่ศึกษามาทำการคำนวณวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุด้วยวิธีอัตราการเกิดอุบัติเหตุและวิธีดัชนีความรุนแรงผ่านโปรแกรม Microsoft Excel และใช้โปรแกรม Google Earth ในการหาระยะทาง จากนั้นทำการจัดระดับของข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าพิสัยและช่วงระหว่างระดับพบว่ามีเส้นทางและทางแยกที่มีระดับความเสี่ยงสูงมาก (ระดับที่ 5) จากนั้นเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการบ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของข้อมูลที่มากขึ้น ผู้วิจัยได้นำค่าระดับชั้นที่ได้จากทั้ง 2 วิธีของเส้นทางและทางแยกเดียวกันมาคูณกัน เพื่อหาค่าสภาพอันตรายแบบเมตริกซ์ที่สามารถเชื่อมจุดเด่นของการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้ง 2 วิธี พบว่ามีเส้นทางและทางแยกที่มีสภาพอันตรายอยู่ในเกณฑ์สูงมากประกอบด้วยเส้นทางที่ 1(25), 5(15), 29(15) และทางแยก A(15), T(15), V(25), W(15), X(20) โดยมีการนำข้อมูลสภาพอันตรายมาจัดทำเป็นแผนที่ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุในลำดับถัดไป ผลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าเส้นทางและทางแยกส่วนใหญ่ที่มีค่าสภาพอันตรายตั้งแต่ปานกลางไปถึงสูงมากมีความคุ้มค่าที่จะปรับปรุงตามกิจกรรมปรับปรุงความปลอดภัยที่ได้ระบุไว้ ยกตัวอย่างเช่น เส้นทางที่ 18 มีค่าผลประโยชน์รวมจากการปรับปรุงความปลอดภัยอยู่ที่ 379,115.43 บาท/กม./ปี ซึ่งเมื่อนำมาหารกับต้นทุนการดำเนินการกิจกรรมปรับปรุงความปลอดภัยที่มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 61,620 บาท จะได้ค่าผลตอบแทนต่อต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (B/C Ratio) เท่ากับ 6.15 ซึ่งแสดงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อปรับปรุงความปลอดภัย | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630632056-ธัญคุณัชญ์ เชื้อสมเกียรติ.pdf | 17.35 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.