Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79737
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.advisorธารณ์ ทองงอก-
dc.contributor.authorธีรพงศ์ ทาปัญโญen_US
dc.date.accessioned2024-07-14T03:35:51Z-
dc.date.available2024-07-14T03:35:51Z-
dc.date.issued2024-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79737-
dc.description.abstractThis independent research aims to: 1) study factors influencing learning management to recover the learning loss of students at Banmairattanakosin School, Lampang Province; 2) examine the learning management approaches to recovery implemented by schools with successful practices; and 3) develop and verify guidelines for learning management to recover the learning loss of students at Banmairattanakosin School, Lampang Province. The study is divided into three stages. It involved 30 participants, including school administrators, academic management teachers, school committee members, student representatives, parents, local government representatives, and educational supervisors. Data were collected through group discussions, interviews, and practical workshops, utilizing tools such as group discussion points, discussion record forms, interview forms, workshop agendas, and suitability and feasibility checklists. Data analysis employed deductive summarization, frequency, mean, and standard deviation. The findings revealed: 1. Factors influencing learning management for the recovery of students' learning loss include the use of communication technology in learning activities, with a secondary emphasis on essential school curriculum content. Challenges encompass insufficient media devices and information technology for both teachers and students, limited internet coverage, and a curriculum misalignment with the current situation. 2. Learning management approaches for recovery in schools with good practices are systematic, ensuring teachers and students have adequate tools, media, and information technology for learning. These schools have broad internet access, and the curriculum management includes clear learning objectives. Teachers employ diverse teaching methods. 3. Guidelines for learning management to recover learning loss of students at Banmairattanakosin School, Lampang Province, comprise four components: 1) objectives, 2) principles, 3) methods, and 4) success criteria. The management methods cover six dimensions: 1) curriculum, 2) learning environment, 3) teachers and educational personnel, 4) budget, 5) media, learning resources, and communication technology, and 6) collaborative networks. The Plan-Do-Check-Act (PDCA) Quality management cycle was applied for guideline verification, indicating overall high suitability and feasibility, meeting the predefined criteria.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทาง การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeGuidelines for learning management to recovery learning loss of students at Banmairattanakosin School, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashความบกพร่องทางการเรียนรู้-
thailis.controlvocab.thashการเรียนรู้-
thailis.controlvocab.thashนักเรียน -- การศึกษา -- ลำปาง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี 3) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ จังหวัดลำปาง แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ครูฝ่ายบริหารงานวิชาการ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 9 คน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน และศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวน 1 คน ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ วาระการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียน ลำดับแรก คือ สื่อ เทคโนโลยีการสื่อสารในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา คือ การใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นเนื้อสาระที่ต้องรู้และควรรู้ ส่วนปัญหา พบว่า อุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและนักเรียนไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ทั่วถึง การใช้หลักสูตรสถานศึกษาไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ 2. แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า มีการบริหารจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีอุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพียงพอต่อในการจัดการเรียนรู้ มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วถึง การบริหารหลักสูตรสถานศึกษามีการกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้และควรเรียนรู้ ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย 3. แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ จังหวัดลำปาง มีส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) วิธีการ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยในวิธีการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟู ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ใน 6 ด้าน คือ 1) ด้านหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา 4) ด้านงบประมาณ 5) ด้านสื่อ แหล่งเรียนรู้ และเทคโนโลยีการสื่อสาร และ 6) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ ใช้วงจรการบริหารคุณภาพ (PDCA) สำหรับผลการตรวจสอบแนวทางฯ พบว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232067 ธีรพงศ์ ทาปัญโญ.pdf11.23 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.