Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79724
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.advisorAssociate Professor Wilawan Tuanrat-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. นพมาศ ศรีเพชรวรรณดี-
dc.contributor.advisorAssociate Professor Dr. Noppamas Sripetchwandee-
dc.contributor.authorนายอดิศักดิ์ อิ่นคำen_US
dc.contributor.authorMister Adisak Inkhamen_US
dc.date.accessioned2024-07-12T09:50:48Z-
dc.date.available2024-07-12T09:50:48Z-
dc.date.issued2567-03-21-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79724-
dc.description.abstractEnhancing parental participation in the management of sugar-sweetened beverages for school-age children with overweight will aid in preventing excessive consumption. This quasi-experimental, two-group, pretest-posttest design aimed to investigate the effect of a family participation promotion program on families’ practices in managing their overweight school-age children’s consumption of sugar-sweetened beverages. The participants were 38 parents of overweight school-age children in secondary school selected by purposive sampling who were assigned by random sampling to two groups of 19 parents each. One group received the program, and one did not. The instruments utilized included a family participation enhancement program, devised by the researcher based on Community Participation (Cohen and Uphoff, 1986) for a duration of 8 weeks; the family participation promotional manual; PowerPoint slides; a video instructor; the LINE application; and family participation kits (measuring cup, teaspoon, Brix refractometer). The data collecting instrument was the family practice questionnaire on sugar-sweetened beverage management for school-age children with overweight, with a Cronbach’s alpha coefficient of 0.942. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square test, Fisher’s exact test, and independent t-test. The results indicated that the group receiving the program had a higher average score for family practice in sugar-sweetened beverage management for their children after receiving the program than before with a statistically significant difference (p < .001). After the study, the group receiving the program had a higher average score for family practice in sugar sweetened beverages management of their children than the group not receiving the program with a statistically significant difference (p < .001). The results from this study can be used as a model to promote sugar-sweetened beverage management for school-age children with overweight.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวen_US
dc.subjectการปฏิบัติของครอบครัวen_US
dc.subjectการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานen_US
dc.subjectเด็กวัยเรียนen_US
dc.subjectภาวะโภชนาการเกินen_US
dc.subjectFamily Participation Enhancing Programen_US
dc.subjectFamily Practicesen_US
dc.subjectSugar-Sweetened Beverages Managementen_US
dc.subjectSchool Age Childrenen_US
dc.subjectOverweighten_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินen_US
dc.title.alternativeEffect of the family participation enhancing program on family practices in sugar-sweetened beverages management among school age children with overweighten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเด็ก -- โภชนาการ-
thailis.controlvocab.thashน้ำตาล -- ผลกระทบทางสรีรวิทยา-
thailis.controlvocab.thashเด็กน้ำหนักเกิน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน จะช่วยป้องกันปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานที่ไม่เหมาะสมของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินได้ การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง (two groups pretest-posttest design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงเรียน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 38 ราย ทำการสุ่มอย่างง่าย จำนวนกลุ่มละ 19 ราย เป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชนของโคเฮน และอัพฮอฟ (Cohen and Uphoff, 1986) ระยะเวลา 8 สัปดาห์ คู่มือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว, สื่อ Power Point สื่อวิดีทัศน์ แอพพลิเคชั่นไลน์ และชุดอุปกรณ์ ได้แก่ ถ้วยตวง ช้อนชา เครื่องวัดความหวาน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แอลฟ่าครอนบาค ได้เท่ากับ .942 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคว์สแควร์ สถิติทดสอบฟิชเชอร์เอ็กแซค และสถิติทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัว ในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินภายหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบการส่งเสริมการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231007-อดิศักดิ์ อิ่นคำ-watermark(1).pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.