Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79711
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาลินี สุวรรณยศ-
dc.contributor.advisorภัทราภรณ์ ภทรสกุล-
dc.contributor.authorวรเศรษฐ์ วัชรโรจนสกุลen_US
dc.date.accessioned2024-07-12T01:03:54Z-
dc.date.available2024-07-12T01:03:54Z-
dc.date.issued2567-04-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79711-
dc.description.abstractDementia is a disease which cannot be cured, resulting in continuous dependence on family caregivers and causing them stress from providing endless care. This quasi-experimental research study aimed to evaluate the effect of the resilience-enhancing program on stress among family caregivers of persons with dementia. The sample group consists of caregivers of dementia patients receiving outpatient services at a psychiatric hospital affiliated with the Department of Mental Health in Chiang Mai province, totaling 18 people. The research instruments included: 1) a resilience inventory, 2) a personal information questionnaire, 3) a perceived stress scale, and 4) the resilience-enhancing program on stress among family caregivers of persons with dementia, developed based on Grotberg's (1995) concept of life resilience and organized in a group activity format consisting of 6 activities, each lasting 60 minutes, conducted twice a week for a total of 3 weeks. Data analysis was done using inferential statistics, independent t-test, and non-parametric statistics, with the Mann-Whitney U test for non-independent groups and independent t-test for independent groups. The study found the following results: 1. The average stress score of caregivers of individuals with dementia after receiving the life resilience promotion program for 1 month was significantly lower than before receiving the program, with statistical significance (p < .05). 2. The average stress score of caregivers of individuals with dementia in the group that received the life resilience promotion program was significantly lower than that of the group receiving regular care, with statistical significance (p < .05). These results indicate that the resilience-enhancing program could effectively reduce stress among family caregivers of persons with dementia. Therefore, it is recommended to implement this program to reduce stress in this population in the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมen_US
dc.title.alternativeEffect of the resilience enhancing program on stress among family caregivers of persons with dementiaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashภาวะสมองเสื่อม-
thailis.controlvocab.thashสมอง -- โรค-
thailis.controlvocab.thashการดูแลผู้ป่วยระยะยาว-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสมองเสื่อมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่งผลให้เกิดการพึ่งพาญาติผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความเครียดของญาติผู้ดูแลได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ให้การดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มาเข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง สังกัดกรมสุขภาพจิต จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบวัดการรับรู้ความเครียด และ 4) โปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดความแข็งแกร่งในชีวิตของกรอทเบอร์ก (Grotberg, 1995) ในรูปแบบกิจกรรมกลุ่ม ประกอบไปด้วย 6 กิจกรรม ใช้เวลาดำเนินการกิจกรรมละ 60 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 3 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติการทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน สถิติที่ไม่ใช่พารามิเตอร์ คือ แมนวิทนีย์ยู และสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิต 1 เดือน ต่ำว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตสามารถลดความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมลงได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมดังกล่าวนี้มาใช้เพื่อลดความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231020-วรเศรษฐ์ วัชรโรจนสกุล.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.