Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79664
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุบัน พรเวียง-
dc.contributor.advisorมนต์นภัส มโนการณ์-
dc.contributor.authorเฉลิมพล พาตาen_US
dc.date.accessioned2024-07-08T10:21:11Z-
dc.date.available2024-07-08T10:21:11Z-
dc.date.issued2024-05-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79664-
dc.description.abstractThis independent research is objective. 1) Study the state of school administration according to the philosophy of sufficiency economy of Doi Tao Wittayakom School, 2) Study the upgrade of school administration according to the philosophy of sustainable sufficiency economy, 3) Check the guidelines for upgrading the management of sufficiency schools according to the philosophy of sustainable sufficiency economy of Doi Tao Wittayakom School. There are 3 independent research steps: Step 1: Study the state of school management according to the philosophy of sufficiency economy. The study population is school administrators. Teachers and Educational Personnel The basic education committee consisted of 73 members. Step 2: Study on the upgrading of school administration The informant group is the school director. Study of communication and folk sages. A total of 9 teachers were responsible for the project. Step 3: Examination of guidelines for upgrading the management of sufficiency educational institutions The informant group selects a specific one. Superintendent of Education Area and Deputy Superintendent of Education and Supervision Area A total of 9 students were examined using the focus group discussion method. Data were analyzed using mean standard deviation. The results of the study showed that the state of school administration follows the philosophy of sufficiency economy of Doi Tao Wittayakom School. Overall, it was found to be at a high level, including sustainability, participation, and self-reliance. The results of the study on how to enhance the management of sufficiency educational institutions according to the philosophy of sustainable sufficiency economy consist of 3 aspects: sustainability; Raise awareness and understanding of vision, principles. Objectives and goals of the operation to be a learning center based on the philosophy of Sufficiency Economy (SRO) Follow-up supervision There is a joint assessment and there is a school curriculum. Teachers design teaching and learning activities to be inclusive of the philosophy of sufficiency economy by integrating with local wisdom and professions to create a love for their own homeland. Social Sustainability The management attaches importance to the activities of the Center. Build faith in teachers and students Act as a role model for teachers and students in both work and life. Economic Sustainability Executive The teachers create a school curriculum that incorporates the philosophy of sufficiency economy and career promotion with clear goals. In terms of participation, it was found that school administrators, teachers, and communities have created a network of cooperation in a dependency manner School personnel have been developed to promote network schools to be self-sufficient educational institutions in all schools and local knowledge. The community has local speakers and local sages who have expertise to educate students about the traditions, lifestyles, and traditional professions of the community. Build pride, lead to social sustainability Economic, cultural, in all dimensions Results of the examination of guidelines for upgrading the management of sufficiency schools according to the philosophy of sustainable sufficiency economy of Doi Tao Wittayakom School Found appropriate. The overall feasibility and usefulness are at the highest level in all 3 aspects, which can be used as a guideline to enhance the management of sufficiency schools according to the philosophy of sustainable sufficiency economy of Doi Tao Wittayakom School.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมen_US
dc.title.alternativeGuidelines for upgrading the management of sufficiency schools according to the sustainable sufficiency economy philosophy of Doi Tao Wittayakhom Schoolen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการปฏิรูปการศึกษา -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเศรษฐกิจพอเพียง -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม 2) ศึกษาการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน 3) ตรวจสอบแนวทางการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม โดยมีการค้นคว้าอิสระ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้นจำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และปราชญ์ชาวบ้าน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบแนวทางการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเจาะจง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 คน โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ด้านสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านความยั่งยืน ด้านการมีส่วน และ ด้านการพึ่งพาตนเอง ผลการศึกษาแนวทางการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านความยั่งยืน พบว่า ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องประชุมร่วมกันในการดำเนินงาน สร้างความตระหนักความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การกำกับติดตาม มีการประเมินผลร่วมกัน และมีหลักสูตรของโรงเรียน ครูออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนให้มีความครอบคลุมในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการบูรณาการกับภูมิปัญญาและอาชีพในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความรักในถิ่นฐานของตนเอง ความยั่งยืนด้านสังคม ผู้บริหารให้ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ สร้างศรัทธาให้กับคณะครูและนักเรียน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้กับคณะครูและศิษย์ทั้งในเรื่องงานและการใช้ชีวิต ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ ผู้บริหาร คณะครูจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาที่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการส่งเสริมอาชีพที่มีเป้าหมายอย่างชัดเจน ในส่วนของ ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และชุมชนมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะภาวะพึ่งพาอาศัยกัน ด้านความรับผิดชอบ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างความตระหนักให้กับครู และนักเรียนเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาฐานการเรียนรู้ให้คงสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ สำหรับ ด้านการพึ่งพาตนเอง พบว่า ด้านการผลิตเพื่อยังชีพและอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติ โรงเรียนที่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อน (ศรร.) ต้องเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนเครือข่ายในการส่งเสริมให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงให้ได้ โดยให้ครูแกนนำไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ บุคลากรของโรงเรียนได้รับการพัฒนาความรู้ เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนเครือข่ายเป็นสถานศึกษาพอเพียงทุกโรงเรียน และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนมีวิทยากรในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต อาชีพดั้งเดิมของชุมชนกับนักเรียน เป็นการอนุรักษ์ สร้างความภาคภูมิใจนำสู่ความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ในทุกมิติ ผลการตรวจสอบแนวทางการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม พบว่าความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน สามารถนำไปเป็นแนวทางการยกระดับการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมได้en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232099 เฉลิมพล พาตา.pdf14.7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.