Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79648
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสายชล สัตยานุรักษ์-
dc.contributor.authorอรวรรณ จ่ากุญชรen_US
dc.date.accessioned2024-07-07T06:18:28Z-
dc.date.available2024-07-07T06:18:28Z-
dc.date.issued2024-02-24-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79648-
dc.description.abstractThe thesis uses a microhistory approach to unpack and investigate, beyond written cultures, how the emotional regime of red-shirt women in a suburban area of Udon Thani developed and changed over time, influencing their involvement in the political oppositions that took place between 2005 and 2021. Though the three women chosen for this thesis come from a variety of backgrounds, they are all under the same emotional regime, making them appropriate to serve as representatives of other members of the red shirt group. To further provide a more accurate and comprehensive understanding of the origins of their involvement in the red shirt political movement, this thesis also examines additional members of the red shirt group who share connections to the three women. The research revealed that the three ladies who transformed into red shirts formed a new emotional regime, intricately linked to a number of historical events. Half a century ago, their employment at American military bases in the 1960s and in Bangkok in the 1970s provided them with "capitalist desire." However, women experienced unequal relationships based on gender, race, and class as a result of the "development" and "Thainess" discourses, which led to emotional suffering. In the late 1990s, there were opportunities for women to work in government organizations such as “Village Health Volunteers” (VHV), “Civil Defense Volunteers” (CDV), and Village Committees (VC). This gave them a sense of pride, as their uniforms resembled those of bureaucrats. It also boosted their confidence in their own capacities, as they had greater access to power and the ability to bring about societal change. However, they continued to encounter disparities in their interactions with government officials and politicians, leading to the persistent emotional distress these inequalities caused. Simultaneously, a strong commitment to civil rights and a need for societal transformation continue to serve as the underlying emotional foundations that motivate them to stand up for social equality and political democracy, especially when women living in the suburbs of Udon Thani have been continuously informed through new social media platforms that the primary cause of inequality lies in "Prai - Amat" relationships, which obstruct the operation of political democracy. A prime example is the "Radio Udon Lovers Club," which has disseminated anti-inequality ideas in public, leading to the formation of groups that share news and support each other. This has created an environment of “emotional refuge,” empowering women to develop mental resilience and bravery, enabling them to actively engage in political activities under the banner of the "Red Shirts.". Following the suppression of the “Red Shirt protests” in 2010, the psychological distress experienced by Red Shirt women escalated due to various factors. These include the perception that they were being exploited as a political instrument by Red Shirt leaders and trusted politicians who, subsequently, demonstrated a lack of genuine commitment to democratic principles. Additionally, a negative connotation of the Red Shirts has emerged, such as "Red Shirts burn houses and cities" and the derogatory moniker "Red Buffaloes." Following this incident, these ladies underwent a shift in their viewpoint, transitioning from a concentration on individualism to a concerted effort in establishing and sustaining a network of "red shirts" in the suburban areas. Despite the government's efforts to motivate red shirt women to take on a less active role in politics through various activities after the events in 2010, the involvement of red shirt women in protests remains strong, as seen in 2017 when young individuals from other provinces and Bangkok started the protest, and red shirt women actively participated in the movement. The long-standing desire for equality and democracy is evident. Even after the election in 2023, the political positions of the red shirt women continue to be dedicated to the principles of decentralization, democracy, and the aspiration for social transformation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title‘ผู้หญิงเสื้อแดง’ ในหมู่บ้านชานเมืองจังหวัดอุดรธานี: กรณีศึกษาประวัติชีวิต ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และการเคลื่อนไหวทางการเมือง พ.ศ.2548 - 2564en_US
dc.title.alternative'Red Shirt Women' in a village of Udon Thani Suburb: a study of life histories,emotional changes, and political activism, 2005-2021en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashสตรี -- อุดรธานี-
thailis.controlvocab.thashนักปฏิบัติการเชิงรุกทางการเมืองสตรี -- อุดรธานี-
thailis.controlvocab.thashการเมือง -- อุดรธานี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของระบอบอารมณ์ความรู้สึกของผู้หญิงในพื้นที่ชานเมืองอุดรธานีซึ่งก่อตัวมาเป็นระยะเวลานานและส่งผลต่อการกลายเป็นคนเสื้อแดงที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในระหว่าง พ.ศ.2548-2564 วิธีวิทยาแบบจุลประวัติศาสตร์ถูกนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในชีวิตและอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มผู้หญิงชานเมืองอุดรธานีนี้ที่ไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมลายลักษณ์อักษร โดยเลือกศึกษาผู้หญิง 3 คนซึ่งแม้ว่าแต่ละคนจะมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสามคนมีชีวิตภายใต้ระบอบอารมณ์ความรู้สึกเดียวกัน จึงถือได้ว่าสามารถเป็นตัวแทนสะท้อนให้เห็นคนเสื้อแดงอื่น ๆได้ ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาคนเสื้อแดงอื่น ๆที่มีความสัมพันธ์กับผู้หญิงทั้งสามคนด้วย เพื่อช่วยให้เข้าใจที่มาที่ไปของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อแดงได้อย่างถูกต้องและลุ่มลึกมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การก่อตัวของระบอบอารมณ์ความรู้สึกใหม่ของผู้หญิงที่กลายมาเป็นคนเสื้อแดงทั้งสามคนมีความซับซ้อนที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลากหลาย ย้อนไป 50 ปี การทำงานในฐานทัพอเมริกันในทศวรรษ 2510 และในกรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2520 ได้ส่งผลให้เกิด “ความปรารถนาแบบทุนนิยม” แต่ภายใต้อิทธิพลของวาทกรรม “การพัฒนา” และวาทกรรม “ความเป็นไทย” ผู้หญิงในยุคนั้นต้องเผชิญกับความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมทั้งทางชนชั้น ชาติพันธุ์ และเพศสถานะ ทำให้เกิดความทุกข์ทนทางอารมณ์ ในปลายทศวรรษ 2530 ผู้หญิงทั้งสามคนได้สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ก็ยังคงตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมจากการเมืองของระบบข้าราชการ ทำให้ความทุกข์ทนทางอารมณ์ยังคงดำรงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันสำนึกในสิทธิพลเมืองและความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ยังคงเป็นรากฐานทางอารมณ์ที่ทำให้พร้อมจะเคลื่อนไหวเพื่อความเสมอภาคทางสังคมและความเป็นประชาธิปไตยทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้หญิงในพื้นที่ชานเมืองอุดรธานีกลุ่มนี้ได้รับการอธิบายผ่านการสื่อทางสังคมใหม่ ๆ ว่าความไม่เท่าเทียมต่าง ๆ มีต้นเหตุมาจากความสัมพันธ์แบบ “ไพร่-อำมาตย์” ซึ่งขัดขวางประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น “วิทยุชมรมคนรักอุดร” ที่ได้แพร่กระจายความรู้สึกต่อต้านความไม่เสมอภาคไปสู่พื้นที่สาธารณะ ก่อให้เกิดการจับกลุ่มแลกเปลี่ยนข่าวสารและปรับทุกข์ระหว่างกัน ที่กลายมาเป็น “ที่ลี้ภัยทางอารมณ์” บ่มเพาะให้ผู้หญิงมีจิตใจเข้มแข็ง กล้าหาญ พร้อมเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม “คนเสื้อแดง” หลังเหตุการณ์ปราบปราม “คนเสื้อแดง” ใน พ.ศ.2553 ความทุกข์ทนทางอารมณ์ของผู้หญิงเสื้อแดงเพิ่มสูงขึ้นด้วยสาเหตุหลายประการ ทั้งความรู้สึกว่าตนถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองจากการที่แกนนำคนเสื้อแดงและนักการเมืองที่ตนเชื่อใจกลายเป็นคนที่ไม่ได้ยึดมั่นศรัทธาในอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ยังมีการเกิดขึ้นของความหมายใหม่ที่รุนแรงของคนเสื้อแดงว่า “คนเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง” และถูกเรียกว่า “ควายแดง” ซึ่งเป็นคำแสดงความเหยียดหยาม หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้หญิงเหล่านี้จึงเปลี่ยนอุดมการณ์จากการยึดที่ตัวบุคคล มาเป็นการพยายามรักษาเครือข่ายของ “คนเสื้อแดง” ในเขตชานเมืองเอาไว้ แม้ว่าหลังเหตุการณ์ใน พ.ศ.2553 รัฐจะพยายามจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพยายามสร้างผู้หญิงเสื้อแดงที่มีบทบาททางการเมืองน้อยลง แต่หลายเหตุการณ์ในช่วงพ.ศ.2560 เป็นต้นมา เช่น เมื่อเยาวชนในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง จะเห็นได้ว่าจิตใจที่ต้องการความเสมอภาคและประชาธิปไตยยังคงดำรงอยู่ ส่งผลให้ผู้หญิงเสื้อแดงเข้าร่วมเคลื่อนไหวอย่างกระตือรือร้น และเมื่อมีการเลือกตั้งใน พ.ศ.2566 การตัดสินใจทางการเมืองของผู้หญิงเสื้อแดงก็ยังคงยึดมั่นอยู่กับประชาธิปไตย การกระจายอำนาจ และความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อรวรรณ จ่ากุญชร 630131012.pdf15.99 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.