Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79571
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเดชา ทำดี-
dc.contributor.advisorนพมาศ ศรีเพชรวรรณดี-
dc.contributor.authorพิริพัฒน์ เตชะกันทาen_US
dc.date.accessioned2024-06-23T12:33:59Z-
dc.date.available2024-06-23T12:33:59Z-
dc.date.issued2024-01-20-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79571-
dc.description.abstractInappropriate food consumption behavior is a factor related to persons with uncontrolled hypertension in communities, and this can result in complications. This quasi-experimental, two-group, pretest-posttest design aimed to investigate and compare dietary behavior scores of adults with uncontrolled hypertension in a community. The participants were adults with high blood pressure aged between 35-59 years who could not control their blood pressure. Forty participants were assigned a control group and an experimental group, with 20 people per group. The research instruments consisted of two parts: Part 1) Program to promote food literacy among adults with high blood pressure, Part 2) The tools used for data collection consisted of a demographic questionnaire, a food literacy questionnaire, and a food consumption behavior questionnaire, which were verified for content accuracy by six experts with a content validity of 1.0 and a reliabilities of 0.80 and 0.87, respectively. The data were analyzed with descriptive statistics, paired t–test, and independent t–test statistics. The results showed that, after receiving the program, the experimental group had higher food literacy scores than before participating in the program with statistical significance (p<0.001). The sample group had food consumption behavior scores. Afterwards, the program received by the experimental group was higher than the control group with statistical significance (p = .029). The results of this research can be used as a guideline for community practice for nurses and health teams to implement food literacy promotion programs to promote dietary behavior among adults with uncontrolled hypertension in other local communities.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the food literacy promoting program on eating behaviors among adult persons with uncontrolled hypertension in the communityen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความดันเลือด-
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูง-
thailis.controlvocab.thashโภชนาการ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรคเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้และส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อน-หลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 35-59 ปี ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เครื่องมือดำเนินการศึกษา คือโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนที่ 2 เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือแบบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรอบรู้ด้านอาหาร และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งแบบรวบรวมข้อมูลได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ pair t–test และ independent t–test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารกลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ด้านอาหารสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารภายหลังได้รับโปรแกรมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .029) ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพนำโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชนพื้นที่อื่น ๆ ได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231002-พิริพัฒน์ เตชะกันทา WM.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.