Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79543
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนากานต์ พรมอุทัย-
dc.contributor.authorสิทธิกร บดีรัฐen_US
dc.date.accessioned2024-06-19T12:31:36Z-
dc.date.available2024-06-19T12:31:36Z-
dc.date.issued2024-04-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79543-
dc.description.abstractRice production is not only dependent on the potential of rice variety, but environmental and management factors during cultivation also play a key role in enhancing yield and grain quality. Applying fertilizer is one of the promising strategies to encourage plant growth, development, and consequently productivity in rice crop cultivation, especially among macronutrient applications. However, micro-nutrients should also be given attention, though a very small portion is required, as they are necessary for plant growth and development, and it can cause yield declining under deficient and/or toxic conditions such as boron (B) due to boron deficiency affects to flower development in rice that can reduce yield production. Maintaining both quality and quantity of Thai rice is necessary to be investigated, especially for micronutrient management. However, the information of boron fertilizer applications on boron uptake efficiency that may affects to the productivity of Thai rice are rarely investigated compared with the other crops. This study was carried out in two mains experiments as in the following details. The experiment one was to evaluate the responses of boron uptake and productivity on soil boron fertilizer applications in Khao Dawk Mali 105 (KDML105) rice variety grown under different water managements. The experiment was arranged in 2×4 factorial in CRD with four independent replications. This experiment was conducted in the wet season in 2022 comprising of four boron fertilizer applications as 1) the control with no boron, 2) boron fertilizer application at tillering stage, 3) boron fertilizer application at flowering stage, and 4) boron fertilizer application two times at tillering and flowering stages cultivated under two different water management; 1) non-flooded and 2) flooded conditions. The results showed that grain yield was not responded to boron application in all treatments, but plants grown under flooded condition had 15% higher grain yield than non-flooded condition. The number of spikelets per panicle was increased by soil boron fertilizer application at flowering, and two times at tillering and flowering stages in flooded and non-flooded conditions resulted from increasing boron concentration in different plant parts and total boron uptake, even though it was not affected on grain yield. This study indicates that applying B fertilizer at flowering and two times at tillering and flowering stages improved number of spikelets per panicle and boron use efficiency of KDML105 rice variety in both water conditions, especially in the flooded condition, promotes soil boron availability and the total plant uptake. The appropriate management of boron fertilizer trends to be one of the ways to increase rice production if the unfilled fertilized grains can be completely filled. The second experiment was to evaluate the effects of boron fertilizer applications and rice variety on boron uptake and yield production. This study evaluated the appropriate growth stage for B fertilizer applications to improve production in rice. Two premium Thai rice varieties (Khao Dawk Mali 105; KDML105, and Pathum Thani 1; PTT1) were grown in the field experiment. Soil boron fertilizer was applied as (i) no boron application (control); (ii) boron application at tillering stage; (iii) boron application at flowering stage; and (iv) boron application two times at tillering and flowering stages with four independent replications. The results showed that grain yield was increased 25.0% when boron was applied at flowering stage and 53.6% when applied boron two times at tillering and flowering stages in KDML105 compared with grain yield at 2.8 t ha-1 in no boron application, but grain yield was not responded to boron application in PTT1. The increased grain yield in KDML105 was from the attribution of number of panicles per plant, number of tillers with no panicle emergences, and the percentage of filled grain resulted by higher boron concentration all plant parts and the total boron uptake when boron was applied particularly at flowering stage and two time at tillering and flowering stages as it was indicated by the sharp relationship between grain yield and boron concentration in all plant parts of KDML105. Interestingly, applying boron was found to increase the percentage of grain setting which was in correlation with the boron concentration in all plant parts. In addition, it also enhances the boron use efficiency in two rice varieties. It is interesting to investigate the mechanisms involving the function of boron in molecular level during fertilization, grain filling until maturity by splitting boron application at this period. The information would be very useful to improve grain productivity in rice cultivation, especially in the area where boron is in deficient condition.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการใส่ปุ๋ยโบรอนที่ระยะการเจริญเติบโตแตกต่างกันต่อการดูดใช้โบรอนและการสร้างผลผลิตในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1en_US
dc.title.alternativeEffect of Boron fertilizer application at different growth stages on Boron uptake and yield production in KDML105 and PTT1 rce varietiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashข้าว -- ปุ๋ย-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- ผลกระทบจากโบรอน-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- ปทุมธานี 1-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- การเจริญเติบโต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการผลิตข้าว นอกจากศักยภาพของพันธุ์ข้าวแล้วพบว่าสภาพแวดล้อมและการจัดการในการปลูกยังมีบทบาทและความสำคัญมากที่ส่งผลต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าว เช่น การจัดการธาตุอาหารให้มีปริมาณพอเพียงในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของข้าว โดยพบว่านอกจากการขาดธาตุอาหารหลักที่สามารถส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตข้าวแล้ว ยังพบว่าจุลธาตุบางชนิดยังมีความสำคัญในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของข้าวเช่นกัน เช่น โบรอน เนื่องจากการขาดโบรอนในข้าวมีผลต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต การรักษาเสถียรภาพทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพผลผลิตของข้าวที่ผลิตในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการศึกษาอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม งานทดลองเกี่ยวกับการจัดการปุ๋ยโบรอนต่อประสิทธิภาพในการดูดใช้โบรอนที่อาจส่งผลต่อกลไกในการสร้างผลผลิตข้าวในประเทศไทยมีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่น ๆ การศึกษาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 การประเมินการตอบสนองของการดูดใช้โบรอนในการสร้างผลผลิตต่อการจัดการน้ำและการใส่ปุ๋ยโบรอนในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยจัดชุดการทดลองแบบ 2×4 factorial ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) จัดการปุ๋ยโบรอนทางดิน 4 แบบ คือ 1) ไม่ใส่โบรอน (กรรมวิธีควบคุม) 2) ใส่โบรอนที่ระยะแตกกอ 3) ใส่โบรอนที่ระยะออกดอก และ 4) ใส่โบรอน 2 ครั้งที่ระยะแตกกอและออกดอก ร่วมกับการปลูกข้าวภายใต้การปลูกแบบไม่น้ำขังและขังน้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยโบรอนทุกกรรมวิธีไม่มีผลต่อผลผลิต แต่พบว่าการปลูกแบบขังน้ำทำให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกแบบไม่ขังน้ำ 15% ในขณะที่การใส่ปุ๋ยโบรอนในระยะออกดอกและการใส่ปุ๋ย 2 ครั้งที่ระยะแตกกอและระยะออกดอกภายใต้การปลูกแบบไม่ขังน้ำ และการใส่ปุ๋ยโบรอนที่ระยะออกดอกในการปลูกแบบขังน้ำ ทำให้จำนวนดอกย่อยต่อรวงเพิ่มขึ้นจากการไม่ใส่ปุ๋ยโบรอน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนดอกย่อยต่อรวงเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นโบรอนในส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวและการดูดใช้โบรอนทั้งหมดจากการใส่ปุ๋ยโบรอน ดังนั้น การทดลองนี้บ่งชี้ว่า การใส่ปุ๋ยโบรอนที่ระยะออกดอก และการใส่ปุ๋ยโบรอน 2 ครั้งที่ระยะแตกกอร่วมกับออกดอกในการปลูกแบบไม่ขังน้ำและขังน้ำ ทำให้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีจำนวนดอกย่อยต่อรวง รวมไปถึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้โบรอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปลูกแบบขังน้ำที่สามารถส่งเสริมความเป็นประโยชน์ของโบรอนในดินและการดูดใช้ในพืช เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวแบบไม่ขังน้ำ ซึ่งมีแนวโน้มในการเพิ่มผลผลิตข้าวได้หากสามารถจัดการปุ๋ยโบรอนได้อย่างเหมาะสมจนสามารถเติมเมล็ดสมบูรณ์ได้ การทดลองที่ 2 การประเมินอิทธิพลของการใส่ปุ๋ยโบรอนในระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันต่อการดูดใช้โบรอนและการสร้างผลผลิตในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ทดลองที่แปลงทดลองศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ 2×4 factorial ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 พันธุ์ข้าว 2 พันธุ์ คือ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (KDML105) เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ปทุมธานี 1 (PTT1) เป็นข้าวพันธุ์ปรับปรุงสมัยใหม่ ปัจจัยที่ 2 กรรมวิธีการใส่ปุ๋ยโบรอนทางดิน แบ่งเป็น 4 กรรมวิธี คือ ไม่ใส่ปุ๋ยโบรอน (กรรมวิธีควบคุม) ใส่โบรอนที่ระยะแตกกอ ใส่โบรอนที่ระยะออกดอก และใส่โบรอน 2 ครั้งที่ระยะแตกกอและออกดอก ทดลองซ้ำกรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยโบรอนที่ระยะออกดอก และการใส่ปุ๋ยโบรอน 2 ครั้งที่ระยะแตกกอและระยะออกดอกส่งผลให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น 25% และ 53.6% ตามลำดับ ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยโบรอนที่มีผลผลิตเมล็ด 2.8 ตันต่อเฮกตาร์ แต่ไม่พบการตอบสนองของการใส่ปุ๋ยโบรอนในข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 โดยการใส่ปุ๋ยโบรอนส่งผลต่อจำนวนรวงต่อต้น จำนวนหน่อที่ไม่มีการสร้างรวง และเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีอย่างมีนัยสำคัญต่อการสร้างผลผลิตในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองในครั้งนี้พบว่า การใส่ปุ๋ยโบรอนช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ด ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวเป็นข้อมูลที่สำคัญในการปรับปรุงผลผลิตข้าวด้วยการจัดการปุ๋ยโบรอน นอกจากนี้ยังพบว่า การใส่ปุ๋ยโบรอนเพิ่มการสะสมโบรอนในส่วนต่าง ๆ ของพืชให้สูงขึ้นดังความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลผลิต เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี และเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ด รวมไปถึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้โบรอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใส่ปุ๋ยโบรอน 2 ครั้งที่ระยะแตกกอและระยะออกดอก ดังนั้น ควรมีการศึกษาต่อการแสดงออกของยีนของข้าวแต่ละพันธุ์ในระดับโมเลกุลต่อการใส่ปุ๋ยโบรอนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงผลผลิตข้าวจากการจัดการปุ๋ยโบรอนในพื้นที่ที่มีการขาดโบรอนต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650831010-สิทธิกร บดีรัฐ.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.