Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79537
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ สกุลพรรณ์-
dc.contributor.authorภัทราพันธุ์ ดอกจันทร์en_US
dc.date.accessioned2024-06-19T11:07:04Z-
dc.date.available2024-06-19T11:07:04Z-
dc.date.issued2024-03-13-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79537-
dc.description.abstractDrug and substance abuse among early teens is on the rise and affects the addict, their family, the economy, and society. This quasi-experimental research aimed to study the effect of an addiction prevention program on behavioral intentions not to take drugs and addictive substances among early adolescents. The sample group consisted of early adolescents, both female and male, aged 10-13 years, in educational institutions under the Primary Educational Service Area, 2 Northern Region and totaled 50 people, divided into an experimental group and a control group with 25 people per group. The research tools consisted of a questionnaire on participants’ personal information. The addiction prevention program addressed behavioral intentions not to take drugs and substances among early adolescents. Data was collected between August and September 2023. Demographic data was analyzed, using descriptive statistics. Comparison of the difference in mean scores of behavioral intentions not to take drugs and addictive substances of early adolescents before and after receiving the program was done using paired t-test statistics, with the statistical significance level set at .01, while comparison of the differences in mean scores of behavioral intention to non - drugs and substances used in early adolescents, between the experimental group and the control group was done using independent t-test statistics, with statistical significance set at .01. The results found that: 1. The mean scores of behavioral intention to non - drugs and substances used among experimental group within 1 month after receiving the program (x ̅ = 96.56, SD = 2.95) was higher than before receiving the program (x ̅ = 38.88, SD = 7.94) with statistical significance (p < .01). 2. The mean scores of behavioral intention to non - drugs and substances used among experimental group within 1 month after receiving the program (x ̅ = 96.56, SD = 2.95) was higher than that of the control group (x ̅ = 38.88, SD = 7.94) with statistical significance (p < .01). The results of this study show that the addiction prevention program can enhance behavioral intentions to non - drugs and substance used among early adolescents. Therefore, this program should be used to prevent drug and substance abuse among early adolescents in educational institutions.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมป้องกันการเสพติดต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดในวัยรุ่นตอนต้นen_US
dc.title.alternativeEffects of the addiction preventive program on behavioral Intention to non-drug and substance use among early adolescentsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเยาวชน -- การใช้ยา-
thailis.controlvocab.thashยาเสพติด-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมยาเสพติด-
thailis.controlvocab.thashการติดยาเสพติด-
thailis.controlvocab.thashวัยรุ่น-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อตัวผู้เสพ ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการเสพติดต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย วัยรุ่นตอนต้นทั้งเพศหญิงและเพศชายอายุ 10-13 ปี ในสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตภาคเหนือ 2 โรงเรียน จำนวน 50 คน แบ่ง เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง โปรแกรมป้องกันการเสพติดต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้นก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯโดยใช้สถิติ paired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม โดยใช้สถิติ Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนเฉลี่ยเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของกลุ่มทดลองในระยะ 1 เดือน หลังได้รับโปรแกรม (x ̅ = 96.56, SD = 2.95) สูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรม (x ̅ = 38.88, SD = 7.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2. คะแนนเฉลี่ยเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของกลุ่มทดลองในระยะ 1 เดือน หลังได้รับโปรแกรม (x ̅ = 96.56, SD = 2.95) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (x ̅ = 38.88, SD = 7.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมป้องกันการเสพติด สามารถเพิ่มเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้นได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการป้องกันการเสพยาและสารเสพติดในวัยรุ่นตอนต้นในสถานศึกษาต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231042-ภัทราพันธุ์ ดอกจันทร์.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.