Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79521
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราวรรณ ดีเหลือ-
dc.contributor.advisorนันทพร แสนศิริพันธ์-
dc.contributor.authorวรรณนิสา ศรีทองen_US
dc.date.accessioned2024-06-18T15:19:36Z-
dc.date.available2024-06-18T15:19:36Z-
dc.date.issued2567-02-28-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79521-
dc.description.abstractPoor sleep quality affects women with gestational diabetes mellitus (GDM) physically and mentally, as well as affecting their fetus. This descriptive correlational study aimed to investigate sleep quality and its related factors among pregnant women with GDM, focusing on blood sugar levels, stress, and social support. The participants consisted of 128 pregnant women with GDM who visited prenatal care at Taksin Hospital, Klang Hospital, and Charoen Krung Hospital between September and December 2023. Data collection instruments included the Personal Data Record Form and Questionnaire, the Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) by Sitasuwan et al. (2014), the Thai version of the Perceived Stress Scale (PSS) by Wongpakaran and Wongpakaran (2010), and the Social Support for Pregnant Women at Risk Questionnaire by Phanee Chunpradap (1995). Data were analyzed by employing descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, point-biserial correlation coefficient, and biserial correlation coefficient. The results revealed that: 1. The participants had a mean global PSQI score of 6.13 (S.D. = 2.39), indicating poor sleep quality. 2. Most of the participants had poor sleep quality (55.47%), while 44.53% of the participants had good sleep quality. 3. Stress had a statistically significant positive correlation with poor sleep quality (r = .265, p < .05). Additionally, social support had a statistically significant negative correlation with poor sleep quality (rb = - .176, p < .05). 4. There was no significant correlation between blood sugar level and sleep quality. The findings of this study suggest that nurse-midwives should assess sleep quality, stress level, and social support among women with GDM. Moreover, strategies for stress reduction and social support enhancement should be developed to improve good sleep quality in women with GDM.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคุณภาพการนอนหลับen_US
dc.subjectสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์en_US
dc.title.alternativeFactors related to sleep quality among women with gestational diabetes mellitusen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการนอนหลับ-
thailis.controlvocab.thashการตั้งครรภ์-
thailis.controlvocab.thashเบาหวานขณะตั้งครรภ์-
thailis.controlvocab.thashภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีในขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และทารก การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด ความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 128 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์ก ฉบับภาษาไทยโดย ตุลยา สีตสุวรรณ และคณะ (Sitasuwan et al., 2014) แบบวัดความรู้สึกเครียด ฉบับภาษาไทยโดย ณหทัย วงศ์ปการันย์ และทินกร วงศ์ปการันย์ (Wongpakaran & Wongpakaran, 2010) และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ของ พรรณี ฉุ้นประดับ (2538) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพการนอนหลับเท่ากับ 6.13 (S.D. = 2.39) จัดอยู่ในกลุ่มคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 55.47 และมีคุณภาพการนอนหลับดี ร้อยละ 44.53 3. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .265, p < .05) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rb= - .176, p < .05) 4. ระดับน้ำตาลในเลือด ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการประเมินคุณภาพการนอนหลับ ความเครียด และการสนับสนุนทางสังคมในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งควรมีการพัฒนาแนวทางในการช่วยลดความเครียด และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีคุณภาพการนอนหลับที่ดีมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231144-วรรณนิสา ศรีทอง.pdf641231144-วรรณนิสา ศรีทอง4.1 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.