Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79504
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จุฑามาส คุ้มชัย | - |
dc.contributor.advisor | ต่อนภา ผุสดี | - |
dc.contributor.author | รัฐพร คำฝั้น | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-06-17T16:44:58Z | - |
dc.date.available | 2024-06-17T16:44:58Z | - |
dc.date.issued | 2566-12-27 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79504 | - |
dc.description.abstract | Ornamental pumpkins have historically been used in some ceremonial practices according to the particular religious faith. Presently, ethnic Chinese and Chinese descendants still incorporate these pumpkins as an offering to worship deities in their Chinese New Year and Ghost Festival ceremonies. Symbolically, the white ornamental pumpkin represents "silver", while the orange variant corresponds to "gold". Mature pumpkins exhibit robust rinds and peduncles. Enhancing crop productivity and improving the frequency of white and orange skin fruits in ornamental pumpkin populations are fundamental strategies to both increase outputs per unit area and achieve high-quality yields. The experiment comprised two sub-experiments. The first involved variety selection through modified mass selection and inbred line selection of ornamental pumpkins. The objective was to assess the selected populations or varieties. The evaluation was conducted on the responses to three cycles of modified mass selection for prolificacy and the frequency of white and orange fruits in ornamental pumpkin populations. These populations were assessed using a randomized complete block design (RCBD) with four replications at Agricultural Innovation, Demonstration, and Training Center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, from November 2020 to January 2021. The results revealed an increase in the number of fruits per plant in the three selected cycles (M3) for both colors’ populations compared to the original population (M0). The white population showed an increase of 1.7 fruits per plant per cycle, with a percentage increase of 88.6%, while the orange population demonstrated a similar increase of 1.7 fruits per plant per cycle, with a percentage increase of 97.9%. Regarding fruit color skin traits, the white fruit skin frequency of M3 white populations increased by 33.3% from the original population, whereas the orange fruit skin frequency of M3 orange populations increased by 27.0% from the original population. These findings suggest that modified mass selection can effectively enhance the number of fruits per plant and fruit skin frequency in ornamental pumpkin populations. This improved population serves as a valuable genetic resource for the development of inbred lines. The assessment was made on the growth characteristics, fruit yield, and quality of white and orange inbred pumpkin varieties selected through five cycles of inbreeding, alongside parent and commercial varieties. These evaluations were conducted across two seasons: winter (December 2020 to February 2021) and rainy (June and August 2021), utilizing a randomized complete block design (RCBD) with three replications at Agricultural Innovation, Demonstration, and Training Center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. In the white group, significant differences were observed among varieties for all studied characteristics. While variations were noted among environments and variety-environment interactions regarding the number of fruits per plant, no distinctions were found in fruit size. Notably, selected varieties exhibited a higher fruit count compared to commercial ones, albeit with smaller fruit sizes. Across both winter and rainy seasons, the number of fruits per plant remained consistent (2.8 and 2.5 fruits, respectively); yet winter fruits were heavier and larger in diameter compared to rainy season fruits (241.3 grams and 8.6 centimeters versus 205.5 grams and 7.9 centimeters). Thus, white ornamental pumpkin production across the two seasons did not affect fruit count but did influence fruit size, with winter fruits being larger and displaying a white skin color for selected varieties. In the orange group, significant differences were observed among varieties for both the number of fruits per plant and fruit size. Similarly, variations were found among environments for the number of fruits per plant, and variety-environment interactions were noted for fruit diameter and length. Selected varieties exhibited a higher fruit count per plant compared to commercial varieties, albeit with smaller fruit sizes. During the rainy season, the number of fruits per plant surpassed that of the winter season (3.6 versus 2.6 fruits, respectively), with no discernible impact on fruit size. Consequently, orange ornamental pumpkin production during rainy seasons resulted in a higher fruit count per plant compared to winter production. The fruit skin color of selected varieties remained consistently orange across both seasons. Experiment 2 aimed to study the expression characteristics of genes controlling white and orange fruit skin colors through reciprocal crosses between white and orange ornamental pumpkin varieties selected from 6th generation breeding lines. These crosses were evaluated for fruit skin color segregation during the rainy season (June to August 2021), employing a randomized complete block design (RCBD) with three replications at Agricultural Innovation, Demonstration, and Training Center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. The results showed that the L*, chroma, and hue angle of the first crossing (W26-3-1-8-5-10-1 x O18-6-3-5-2-8-1) and the second crossing (O18-6-3-5-2-8-1 x W26-3-1-8-5-10-1) were not significantly different from the parent variety W26-3-1-8-5-10-1, which has white fruit skin color. Specifically, the first crossing, second crossing, and parent variety W26-3-1-8-5-10-1 had L* values of 89.3, 88.9, and 90.1, respectively; chroma values of 14.3, 15.5, and 14.6, respectively, and hue angles of 91.2º, 91.2º, and 90.4º, respectively. Furthermore, the L*, chroma, and hue angle of the first and second crossings, as well as the parent variety W26-3-1-8-5-10-1, were significantly different from the parent variety O18-6-3-5-2-8-1, which has orange fruit skin color. This indicates that the white fruit color trait is controlled by a dominant gene, while the orange color trait is controlled by a recessive gene. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การคัดเลือกแบบหมู่ประยุกต์และการสกัดสายพันธุ์ฟักทองประดับ | en_US |
dc.title.alternative | Modified mass selection and inbred line selection of Ornamental Pumpkin (Cucurbita pepo) | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ฟักทองประดับ | - |
thailis.controlvocab.thash | ฟักทอง -- พันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ฟักทอง -- การทดสอบพันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ฟักทอง -- การปรับปรุงพันธุ์ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ฟักทองประดับ ใช้ประโยชน์ในด้านพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนา โดยคนจีนและคนเชื้อสายจีน นิยมนำมาบูชาเทพเจ้าเพื่อความเป็นสิริมงคล ในเทศกาลตรุษจีน และสารทจีน บูชาโดยใช้ผลสีขาว ซึ่งมีความหมายถึง “เงิน” คู่กับผลสีส้ม ซึ่งมีความหมายถึง “ทอง” นอกจากนี้ผลฟักทองประดับที่แก่จัดจะมีเปลือกและขั้วแข็ง ในการปรับปรุงประชากรและคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนผลต่อต้น และเพิ่มความถี่ของประชากรฟักทองประดับผลสีขาวและสีส้ม เป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการผลิต ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ในการศึกษานี้แบ่งเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 เป็นการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์ (modified mass selection) และการคัดเลือกสายพันธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประชากรหรือสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือก ดังนี้ 1. ประเมินการตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์ ในการเพิ่มจำนวนผลต่อต้นและความถี่สีผล ในประชากรฟักทองประดับกลุ่มผลสีขาวและสีส้มที่ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีหมู่ประยุกต์ จำนวน 3 รอบ ทำการปลูกทดสอบ ณ ศูนย์วิจัย บูรณาการ สาธิตและฝึกอบรมนวัตกรรมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 - มกราคม 2564 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อค จำนวน 4 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่าการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์มีความก้าวหน้าในการคัดเลือกในลักษณะจำนวนผลต่อต้นทั้งในประชากรกลุ่มผลสีขาวและสีส้ม โดยจำนวนผลต่อต้นมีอัตราการเพิ่มขึ้น 1.7 และ 1.7 ผลต่อต้นต่อรอบการคัดเลือก ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 88.6 และ 73.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ความถี่ผลสีขาวในประชากรที่ผ่านการคัดเลือก 3 รอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 และในประชากรกลุ่มผลสีส้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการคัดเลือกแบบหมู่ประยุกต์สามารถเพิ่มจำนวนผลต่อต้นและความถี่ของผลสีขาวและส้มในประชากรฟักทองประดับได้ ซึ่งประชากรที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์นี้ สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมสำหรับสกัดสายพันธุ์แท้ต่อไปได้ 2. ประเมินศักยภาพการเจริญเติบโต ปริมาณ และคุณภาพผลผลิต ของประชากรฟักทองประดับสายพันธุ์กลุ่มผลสีขาวและสีส้มที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ จำนวน 5 รุ่น ร่วมกับสายพันธุ์แม่และพ่อ และพันธุ์การค้า ใน 2 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูหนาว (ธันวาคม 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564) และฤดูฝน (มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2564) ทำการปลูกทดสอบ ณ ศูนย์วิจัย บูรณาการ สาธิตและฝึกอบรมนวัตกรรมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อค จำนวน 3 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่าสายพันธุ์มีอิทธิพลต่อทุกลักษณะที่ทำการศึกษาในฟักทองประดับกลุ่มผลสีขาว ในขณะที่สภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์กับสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลต่อลักษณะขนาดผล แต่ไม่มีผลต่อจำนวนผลต่อต้น โดยพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อต้นสูงกว่าพันธุ์การค้า แต่ผลมีขนาดผลเล็กกว่าพันธุ์การค้า ทั้งนี้ในฤดูหนาวและฤดูฝนมีจำนวนผลต่อต้นที่ไม่แตกต่างกัน เฉลี่ย 2.8 และ 2.5 ผล ตามลำดับ แต่ในฤดูหนาวส่งผลให้น้ำหนักผล และเส้นผ่านศูนย์กลางผล สูงกว่าในฤดูฝน (น้ำหนักผล เฉลี่ย 241.3 และ 205.5 กรัม ตามลำดับ เส้นผ่านศูนย์กลางผล เฉลี่ย 8.6 และ 7.9 เซนติเมตร ตามลำดับ) ดังนั้นการผลิตฟักทองประดับกลุ่มผลสีขาวทั้ง 2 ฤดูกาล ไม่ส่งผลต่อจำนวนผลต่อต้น แต่ในฤดูหนาวจะส่งผลให้ผลมีขนาดใหญ่กว่าการผลิตในฤดูฝน อีกทั้งในฤดูหนาวยังพบว่า สีผลของฟักทองประดับที่ผ่านการคัดเลือก มีลักษณะเป็นสีขาวทั้งหมด ส่วนในฟักทองประดับกลุ่มผลสีส้ม พบว่า สายพันธุ์มีอิทธิพลต่อลักษณะจำนวนผลต่อต้น และขนาดผล ในขณะที่สภาพแวดล้อมมีผลต่อลักษณะจำนวนผลต่อต้น ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์กับสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อเส้นผ่านศูนย์กลางผล และความยาวผล โดยพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อต้นสูงกว่าพันธุ์การค้า แต่มีขนาดผลเล็กกว่าพันธุ์การค้า และในฤดูฝนมีจำนวนผลต่อต้นสูงกว่าในฤดูหนาว เฉลี่ย 3.6 และ 2.6 ผล ตามลำดับ แต่ในสภาพทั้ง 2 ฤดูกาล ไม่ส่งผลต่อขนาดผล ดังนั้นการผลิตฟักทองประดับกลุ่มผลสีส้มในฤดูฝนส่งผลให้จำนวนผลต่อต้นมากกว่าการผลิตในฤดูหนาว อีกทั้งในสภาพทั้ง 2 ฤดูกาล ยังพบว่าสีผลของฟักทองประดับที่ผ่านการคัดเลือก มีลักษณะเป็นสีส้มทั้งหมด การทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการแสดงออกของยีนควบคุมผลสีขาว และสีส้ม โดยทำการผสมแบบสลับพ่อแม่ ระหว่างฟักทองประดับสายพันธุ์ที่ให้ผลสีขาวและสีส้ม ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ จำนวน 6 ชั่ว จากนั้นปลูกทดสอบการกระจายตัวของสีผลในฤดูฝน (มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2564) ดำเนินการปลูกทดสอบ ณ ศูนย์วิจัย บูรณาการ สาธิตและฝึกอบรมนวัตกรรมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก จำนวน 3 ซ้ำ ผลการศึกษา พบว่า คู่ผสม W26-3-1-8-5-10-1 x O18-6-3-5-2-8-1 (คู่ผสมที่ 1) และ O18-6-3-5-2-8-1 x W26-3-1-8-5-10-1 (คู่ผสมที่ 2) มีค่า L*, chroma และ hue angle สูง ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์ W26-3-1-8-5-10-1 (พ่อแม่) ที่มีลักษณะเป็นฟักทองประดับผลสีขาว โดยลูกผสมคู่ที่ 1, 2 และ พันธุ์ W26-3-1-8-5-10-1 (พ่อแม่) มีค่า L* เฉลี่ย 89.3, 88.9 และ 90.1 ตามลำดับ ค่า chroma เฉลี่ย 14.3, 15.5 และ 14.6 ตามลำดับ และ ค่า hue angle เฉลี่ย 91.2º, 91.2º และ 90.4º ซึ่งทั้ง 3 ค่านี้มีความแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์ O18-6-3-5-2-8-1 (พ่อแม่) ที่มีลักษณะผลสีส้ม แสดงว่าลักษณะผลสีขาวควบคุมด้วยยีนเด่น ในขณะที่ผลสีส้มควบคุมด้วยยีนด้อย | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620831009-รัฐพร คำฝั้น.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.